เช็กสิทธิประกันสังคม ของตัวเองผ่าน 2 วิธีง่าย ๆ ที่ผู้ประกันตนควรรู้

- ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ พนักงาน มนุษย์เงินเดือน หรือลูกจ้างเอกชนที่ยังทำงานกับนายจ้างอยู่ในสถานประกอบการ ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะส่งเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท
- ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ พนักงาน-ลูกจ้างเอกชนที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่ปัจจุบันได้ลาออกจากงาน ไม่ได้ทำงานประจำแล้ว และสมัครใจเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคม ภายใน 6 เดือน หลังลาออก
- ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ทำอาชีพอิสระ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร ช่างก่อสร้าง ฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ และอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือ 39 แต่สมัครใจสมัครเป็นผู้ประกันตนประกันสังคมเพื่อรับสิทธิต่าง ๆ

1. รักษาโควิดฟรี
รู้จักสิทธิ UCEP Plus ป่วยโควิดแบบไหน รักษาฟรีได้ทุกโรงพยาบาล

ภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
2. ฉีดวัคซีนโควิด
3. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีป่วยโควิด
เมื่อผู้ประกันตน มาตรา 33 ป่วยโควิด และใช้สิทธิลาป่วยกับนายจ้างเกิน 30 วันต่อปี แต่ยังต้องหยุดพักรักษาตัวจากโรคโควิดเกินวันลาป่วยที่มีอยู่ ตรงนี้สามารถยื่นขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคมได้นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย
จะได้รับเงินเท่าไร : กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนฯ ให้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง หรือสูงสุดวันละ 250 บาท (คิดจากฐานอัตราเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท) โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนฯ ไม่เกิน 365 วัน แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้างว่าได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยครบ 30 วันทำงานใน 1 ปีปฏิทินแล้ว ส่วนที่ลาป่วยเกิน 30 วัน จึงสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนฯ จากประกันสังคมได้
ใครมีสิทธิ : ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
4. ว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย
ลูกจ้างที่ทำงานในสถานที่ที่รัฐมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตราย ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ จะสามารถยื่นขอรับเงินกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยได้ตามเงื่อนไขนี้
ใครมีสิทธิ :
- ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงานหรือถูกรัฐสั่งให้กักตัว หากส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน จะไม่สามารถรับเงินชดเชยได้
- ลูกจ้างจะต้องไม่ได้รับค่าจ้างใด ๆ จากนายจ้างตลอดระยะเวลาที่กักตัว หรือปิดกิจการชั่วคราว หากนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้บางส่วน หรือทั้งหมดตามปกติ จะไม่สามารถขอรับเงินชดเชยจากประกันสังคมได้
รับเงินชดเชยเท่าไร : ได้รับเงิน 50% ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ แล้วแต่กรณี แต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน ดังนั้น จะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 7,500 บาท (คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
ทั้งนี้ ลูกจ้างต้องกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) (ดาวน์โหลด) และให้นายจ้างเป็นผู้รวบรวมและบันทึกข้อมูลผ่านระบบ e-service ที่ www.sso.go.th
- ลูกจ้างถูกปรับลดเงินเดือน
- ลูกจ้างยินยอมลางานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without Pay)
- สถานประกอบการหยุดชั่วคราว ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงาน แต่นายจ้างยังคงจ่ายเงินให้ลูกจ้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าไรก็ตาม
- นายจ้างหยุดชั่วคราวเนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และไม่ให้ลูกจ้างทำงาน (กรณีนี้ นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้าง 75% ของค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน)
5. กรณีลาออกเอง / สิ้นสุดสัญญาจ้าง

สำหรับลูกจ้างที่ลาออกเอง หรือลาออกเพราะสิ้นสุดสัญญาจ้างจะได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงาน ดังนี้
- ลาออกวันที่ 1 มีนาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2565 (ในช่วงสถานการณ์โควิด 19) : ได้รับเงิน 45% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 90 วัน ดังนั้น จะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 6,750 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
- ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป : ได้รับเงินชดเชยในอัตราเดิม คือ 30% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 90 วัน ดังนั้น จะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 4,500 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
ใครมีสิทธิ : ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน และอายุยังไม่เกิน 55 ปี
6. กรณีถูกเลิกจ้าง
ส่วนผู้ประกันตนที่ตกงานเพราะถูกเลิกจ้างมีสิทธิรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน ดังนี้
- ถูกเลิกจ้างวันที่ 1 มีนาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2565 (ในช่วงสถานการณ์โควิด 19) : ได้รับเงิน 70% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 200 วัน เท่ากับว่าจะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 10,500 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
- ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป : ได้รับเงินชดเชยในอัตราเดิม คือ 50% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 180 วัน ดังนั้น จะได้รับเงินสูงสุดไม่เกินเดือนละ 7,500 บาท (ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท)
ใครมีสิทธิ :
- ต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
- อายุไม่เกิน 55 ปี
- ไม่กระทำผิดจนถูกให้พ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน เช่น ทุจริตต่อหน้าที่, ทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง, จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย, ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร เป็นต้น
- ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยใช้เลขบัตรประชาชนในการเข้าสู่ระบบ กรอกข้อมูลจากบัตรประชาชน พร้อมกรอกเลขหลังบัตรประชาชน (laser Code) จะได้รหัสผ่านเพื่อใช้งานระบบ
- เมื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยื่นคำขอ "รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) e-form" บนเว็บไซต์
- รายงานตัวเดือนละครั้ง ผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน
7. ลดส่งเงินสมทบประกันสังคม
1. รักษาโควิดฟรี
2. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีป่วยโควิด
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยและต้องหยุดงาน ตามคำสั่งของแพทย์ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง หรือวันละ 80 บาท (คิดจากฐานเงินเดือน 4,800 บาท) โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับไม่เกิน 365 วัน
ใครมีสิทธิ : ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
สำหรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ถูกเลิกจ้าง ลาออก ผู้ประกันตน มาตรา 39 จะไม่ได้รับส่วนนี้ด้วย เพราะมาตรา 39 ไม่ได้คุ้มครองกรณีดังกล่าว

ภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม
3. ลดส่งเงินสมทบประกันสังคม
1. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีป่วยโควิด
สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 40 หรือประกันตนเอง หากป่วยโควิดจะต้องใช้สิทธิบัตรทอง ไม่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ เพราะตามมาตรา 40 ไม่ได้ครอบคลุมเรื่องการรักษาพยาบาล แต่ยังสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามเงื่อนไขคือ
ใครมีสิทธิ : ต้องส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่เจ็บป่วย
- กรณีนอนโรงพยาบาลได้เงินชดเชยวันละ 300 บาท
- กรณีไม่นอนโรงพยาบาล แต่แพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้เงินชดเชยวันละ 200 บาท
- กรณีไม่นอนโรงพยาบาล และแพทย์ให้หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้เงินชดเชยครั้งละ 50 บาท (เฉพาะผู้ประกันตน มาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2)
2. ลดส่งเงินสมทบประกันสังคม
ในปี 2565 ผู้ประกันตน มาตรา 40 ได้ปรับลดการส่งเงินสมทบประกันสังคมเป็นเวลา 6 เดือน ต่อเนื่องจากปี 2564 เท่ากับว่า ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564-กรกฎาคม 2565 จะเหลือจ่ายเงินสมทบ ดังนี้
- ทางเลือกที่ 1 : จากเดิมจ่าย 70 บาท ลดเหลือ 42 บาทต่อเดือน
- ทางเลือกที่ 2 : จากเดิมจ่าย 100 บาท ลดเหลือ 60 บาทต่อเดือน
- ทางเลือกที่ 3 : จากเดิมจ่าย 300 บาท ลดเหลือ 180 บาทต่อเดือน

ภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม
ช่วยคนกลางคืน - นักดนตรี
สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ที่เป็นผู้ประกอบการหรือลูกจ้างที่ทำงานในสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการชั่วคราว จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท ตามเงื่อนไขดังนี้
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือคนบันเทิงกลางคืน เช่น นักแสดง ศิลปินกลางคืน ศิลปินกลางแจ้ง ลิเก หมอลำ
- ต้องให้สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย หรือกรมพัฒาธุรกิจการค้า รับรองภายในวันที่ 28 มกราคม 2565
- ต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนพร้อมชำระเงินสมทบภายในวันที่ 14 มกราคม 2565
บทความที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประกันสังคม
- เช็กสิทธิประกันสังคม ของตัวเองผ่าน 2 วิธีง่าย ๆ ที่ผู้ประกันตนควรรู้
- เช็กสิทธิประกันสังคม มาตรา 33 ที่คนทำงานต้องรู้
- ประกันสังคม มาตรา 39 คืออะไร สิทธิประกันสังคม มีอะไรบ้าง
- ประกันสังคม มาตรา 40 จ่ายเบี้ยเท่าไร ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
- เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม 2565 ง่าย ๆ 3 วิธี เช็กให้ชัวร์ ที่ไหนว่าง ที่ไหนเต็ม !
- ประกันสังคม ช่วยได้ ถึงจะว่างงาน ก็ยังได้รับเงินเดือน !
- คู่มือมนุษย์เงินเดือน ! ลาออกจากงาน...ต้องทำยังไงกับประกันสังคม
- ขอคืนเงินประกันสังคม บำเหน็จ บำนาญชราภาพ ก่อนอายุ 55 ปี ได้ไหม ถ้าตกงาน หรือลาออก ?
- ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ให้สิทธิอะไรบ้างในช่วงโควิด ปี 2564
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 23 มีนาคม 2565
ขอบคุณภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม (1), (2), (3)
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม (1), (2), (3), (4)