ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็สามารถผ่อนจ่ายได้เหมือนกัน โดยแบ่งจ่ายได้ 3 งวด แบบไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพียงแค่ต้องมียอดชำระภาษี 3,000 บาทขึ้นไป
เรื่องภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สร้างความปวดหัวให้กับคนไม่ชอบตัวเลขอยู่มากเลยทีเดียว
เพราะคนส่วนใหญ่มักคิดว่าภาษีเป็นเรื่องเข้าใจยาก
จึงไม่ค่อยอยากศึกษาข้อมูลมากนัก จึงทำให้อาจจะพลาดโอกาสดี ๆ
ในการจัดการกับค่าภาษีที่ต้องชำระไปแล้วหลายครั้งโดยไม่รู้ตัว วันนี้เราจึงขอนำอีกหนึ่งข้อมูลควรรู้สำหรับคนที่ต้องชำระภาษีมาฝากกันสักหน่อย
อ่านเพิ่มเติม : ลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง รู้ไว้ก่อนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยหากถึงกำหนดชำระภาษีแล้วคุณเกิดติดขัดเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ รู้ไหมคะว่าคุณเองก็สามารถผ่อนภาษีได้เหมือนกัน โดยแบ่งจ่ายได้ 3 งวด แบบไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ไม่เสียดอกเบี้ย เพียงแค่ต้องมียอดชำระภาษี 3,000 บาทขึ้นไป ซึ่งจะยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่นแบบกระดาษก็ได้ ส่วนรายละเอียดในการผ่อนภาษีจะมีอะไรบ้าง เราลองไปดูกันค่ะ
วิธีการผ่อนภาษี
1. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ซึ่งต้องมียอดภาษีที่จะชำระเกิน 3,000 บาทขึ้นไป โดยสามารถขอผ่อนชำระได้ 3 งวด งวดละเท่า ๆ กัน และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
2. กรณียื่นแบบกระดาษให้ชำระภาษีงวดที่ 1 พร้อมการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ส่วนงวดที่ 2 ให้ชำระภายในวันที่ 30 เมษายน และชำระงวดที่ 3 ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม
3. กรณียื่นภาษีทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th จะสามารถชำระงวดแรกได้ภายในวันสุดท้ายที่กรมสรรพากรกำหนดให้ยื่นแบบภาษีผ่านทางออนไลน์ได้ ส่วนการชำระภาษีงวดที่ 2 ต้องชำระภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ชำระงวดแรก และชำระภาษีงวดที่ 3 ภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่ชำระงวดที่ 2
เช่น ในปีภาษี 2566 กรมสรรพากรขยายเวลายื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตไปถึงวันที่ 9 เมษายน 2567 จึงต้องชำระงวดแรกภายในวันที่ 9 เมษายน 2567 งวดที่ 2 ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 และงวดที่ 3 ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2567
หมายเหตุ หลายคนนั้นไม่รู้ว่าก่อนยื่นภาษีนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง เตรียมตัวอย่างไร เข้ามาอ่านบทความนี้ก่อนเพื่อเตรียมตัวก่อนยื่นภาษี 6 วิธี คืนภาษี 2566
4. กรณีผู้มีเงินได้มีคู่สมรส หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีภาษีต้องชําระ 3,000 บาทขึ้นไป แต่ละฝ่ายมีสิทธิ์เลือกที่จะผ่อนชําระภาษีได้
5. ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งไม่ได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะหมดสิทธิ์ชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ
4. กรณีผู้มีเงินได้มีคู่สมรส หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีภาษีต้องชําระ 3,000 บาทขึ้นไป แต่ละฝ่ายมีสิทธิ์เลือกที่จะผ่อนชําระภาษีได้
5. ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งไม่ได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะหมดสิทธิ์ชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ
ช่องทางการผ่อนชำระภาษี
การผ่อนชำระภาษีนั้น สามารถเลือกชำระได้ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยช่องทางต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- Internet Banking / Mobile Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- เครื่องรับฝากเงินสดของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- Tele Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- Phone Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- E-Payment
- Tax Smart Card
- Counter Service ของธนาคารและจุดชำระเงินต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ไปรษณีย์, 7-Eleven, Lotus เป็นต้น
รายชื่อธนาคาร และจุดชำระเงินที่เข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกผ่อนชำระภาษีได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ซึ่งหากเลือกชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแล้ว งวดต่อไปก็ต้องชำระที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเท่านั้น ไม่สามารถกลับมาเลือกชำระผ่านช่องทางอื่นได้
สำหรับคนที่ยังไม่ได้ยื่นภาษี สามารถลองคำนวณภาษีที่ตัวเองต้องจ่าย พร้อมทั้งวิธียื่นภาษีออนไลน์ได้ที่นี่เลย
บทความที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ยื่นภาษีผิดทำไงดี ไม่ต้องตกใจไป แค่ยื่นใหม่ก็จบแล้ว !
- 6 วิธีขอคืนภาษีแบบได้รับเงินเร็วทันใจ ไม่ต้องรอนาน