โปรแกรมคำนวณภาษีออนไลน์บนเว็บไซต์
1. โปรแกรมคำนวณภาษีจาก SET
เว็บไซต์ set.or.th ตัวช่วยวางแผนภาษีจาก SET หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้เลย แค่กรอกตัวเลขไปตามขั้นตอน ระบบจะคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายและสรุปสิทธิลดหย่อนภาษีในปัจจุบันออกมาให้เสร็จสรรพ เหมาะกับคนที่ไม่ได้มีค่าลดหย่อนภาษียิบย่อยมากมาย
หลังจากคำนวณดูแล้ว ถ้าเห็นว่าปีนี้ต้องเสียภาษีเยอะ อยากจะซื้อประกัน กองทุนรวม RMF หรือกองทุนรวม SSF เพิ่มเติม แต่ไม่รู้ว่าต้องซื้อเท่าไรดี ในหน้าสุดท้ายก็มีให้ทดลองกรอกจำนวนเงินที่จะลงทุน คราวนี้ก็วางแผนประหยัดภาษีได้เลย
2. โปรแกรมคำนวณภาษีจาก Kasikorn Asset
เว็บไซต์ kasikornasset.com ของหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย มีฟีเจอร์ให้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบง่าย ๆ ทีละสเต็ป โดยเราสามารถกรอกข้อมูลเงินเดือน ค่าลดหย่อนครอบครัว เงินประกันสังคม รวมทั้งข้อมูลเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ กองทุนต่าง ๆ กองทุนรวม SSF RMF ซึ่งในเว็บจะมีระบุเงื่อนไขมาด้วยว่า รายการลดหย่อนภาษีแต่ละประเภทสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ไม่เกินจำนวนเท่าไร จะได้ไม่พลาดลงทุนเกินสิทธิ
ในหน้าสุดท้ายระบบจะคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายมาให้เห็น พร้อมแนะนำว่าเรายังสามารถลงทุน SSF หรือ RMF เพิ่มได้อีกเท่าไร เพื่อการประหยัดภาษีมากขึ้น
3. โปรแกรมคำนวณภาษีจาก KTAM
หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย หรือ เว็บไซต์ ktam.co.th มีโปรแกรมคำนวณภาษีแบบหน้าเดียวจบ สามารถกรอกรายได้แยกตามมาตราต่าง ๆ เงินได้อื่น ๆ และรายได้ค่าเช่า ซึ่งระบบจะหักค่าใช้จ่ายให้อัตโนมัติเลย
ในส่วนของค่าลดหย่อนก็แยกมาค่อนข้างละเอียด มีทั้งค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 บุตรบุญธรรม ส่วนเงินบริจาคก็ยังแบ่งออกเป็นค่าบริจาคการศึกษา ซึ่งลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า และเงินบริจาคทั่วไป หากมีข้อสงสัยตรงไหนก็สามารถกดปุ่มเครื่องหมายคำถามเพื่ออ่านเงื่อนไขของค่าลดหย่อนแต่ละประเภทได้ อีกทั้งทดลองคำนวณภาษีกรณีลงทุน SSF หรือ RMF ได้เอง จะได้ทราบว่าหากลงทุนเท่านี้จะประหยัดภาษีได้เท่าไร ถือเป็นโปรแกรมคำนวณภาษีที่ละเอียดทีเดียว ที่สำคัญคือสามารถพิมพ์เอกสารออกมาเก็บไว้ดูได้ด้วย
4. โปรแกรมคำนวณภาษีจาก UOB
โปรแกรมคำนวณภาษีออนไลน์ในแอปพลิเคชัน
1. แอปฯ RD Smart Tax
โดยแอปฯ นี้ แยกประเภทของรายได้และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ครบถ้วน พร้อมอัปเดคค่าลดหย่อนมาให้ครบ หากไม่เข้าใจตรงไหนก็สามารถกดอ่านคำอธิบายได้ทันที
เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อย แอปฯ จะสรุปให้ทราบว่าเราต้องเสียภาษีเท่าไร หรือชำระภาษีเกินไปแล้วเท่าไร โดยเราสามารถจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ เพื่อยื่นภาษีผ่านแอปฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป
2. แอปฯ iTAX
ปิดท้ายที่ iTAX อีกหนึ่งแอปฯ คำนวณภาษียอดฮิตที่ใช้ได้ฟรี มีฟีเจอร์ที่ใช้งานง่ายในทุกขั้นตอน แม้ไม่ถนัดเรื่องภาษีก็อ่านเข้าใจและคำนวณภาษีได้ด้วยตัวเอง มีหัวข้อรายได้ ค่าลดหย่อนต่าง ๆ ให้เลือกอย่างละเอียด แถมยังอัปเดตทันสถานการณ์ตามนโยบายของภาครัฐ เพราะล่าสุดมีให้กรอกข้อมูลช้อปดีมีคืน และค่าลดหย่อนจากกองทุนรวม Thai ESG แล้วด้วย
บทความที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนยื่นมีวิธีคำนวณอย่างไร มาดูกันเลย
-
เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี เช็กเลย...ถ้ามีรายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีกี่บาท
-
เงินเดือนไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี แล้วแบบนี้ยังต้องยื่นภาษีด้วยไหม ?
-
ลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง อัปเดตวิธีประหยัดภาษี สำหรับบุคคลธรรมดา
-
กองทุน Thai ESG คืออะไร เปรียบเทียบตัวช่วยลดหย่อนภาษีแบบใหม่ที่ต่างจาก SSF และ RMF