รู้จักกองทุน Thai ESG
กองทุน Thai ESG คืออะไร
กองทุน Thai ESG หรือ Thailand ESG Fund คือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารหนี้ที่เป็น ESG
โดยคำว่า ESG ย่อมาจาก Environment (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) ปัจจุบันเป็นเทรนด์ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจสีเขียวที่คำนึงถึงการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยตระหนักรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น
กองทุน Thai ESG ลงทุนในสินทรัพย์แบบไหนบ้าง ?
Thai ESG ลงทุนในทรัพย์สินที่ผู้ออกเป็นภาครัฐไทยหรือกิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังนี้
1. หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) ที่ได้รับการคัดเลือกจาก SET ว่ามีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (environment) หรือด้านความยั่งยืน (ESG) และ/หรือ
2. หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน SET และ mai ที่มีการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แผนการจัดการ และการตั้งเป้าหมายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ที่ผ่านการทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยผู้ทวนสอบ และ/หรือ
3. ตราสารหนี้ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเสนอขายตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องด้านความยั่งยืน ประกอบด้วย Green bond Sustainability bond และ Sustainability-linked bond และโทเคนดิจิทัลเพื่อการระดมทุนที่เกี่ยวข้องด้านความยั่งยืนที่มีมาตรฐานในทำนองเดียวกันกับตราสารหนี้ดังกล่าว
กองทุน Thai ESG ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ?
- โดยปกติสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 30% ของรายได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- แต่สำหรับผู้ที่ลงทุนในปี 2567-2569 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 30% ของรายได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
กองทุน Thai ESG ซื้อแล้วต้องถือไว้นานแค่ไหน ?
- เงื่อนไขปกติคือ ต้องเป็นการลงทุนระยะยาวไม่น้อยกว่า 8 ปี (นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน)
- สำหรับผู้ที่ลงทุนในปี 2567-2569 ต้องเป็นการลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน)
โดยระหว่างนี้ไม่สามารถขายกองทุนออกมาก่อนกำหนดได้ ถ้าขายก่อนกำหนดจะถือว่าทำผิดเงื่อนไขลดหย่อนภาษี จะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด และต้องจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐย้อนหลังด้วย (ยกเว้นกรณีผู้ซื้อกองทุนทุพพลภาพหรือเสียชีวิต)
กองทุน Thai ESG เริ่มลงทุนได้เมื่อไหร่ ?
ซื้อกองทุน Thai ESG หลายกองทุนได้หรือไม่ ?
กำไรที่ได้รับจากการขายกองทุน Thai ESG ต้องเสียภาษีหรือไม่ ?
เปรียบเทียบกองทุน Thai ESG SSF และ RMF
จำนวนเงินที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
- กองทุนรวม SSF : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนรวม RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
- กองทุนรวม RMF : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
- กองทุนรวม Thai ESG : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และไม่นับวงเงินรวมกับกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีตัวอื่น ๆ (ยกเว้นกรณีลงทุนในปี 2567-2569 สามารถลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท)
ระยะเวลาลงทุน
- กองทุนรวม SSF : 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ (วันชนวัน)
- กองทุนรวม RMF : ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปี นับจากวันที่ลงทุนวันแรก และต้องลงทุนต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- กองทุนรวม Thai ESG : 8 ปี นับจากวันที่ซื้อ (วันชนวัน)
- ยกเว้นกรณีลงทุนในปี 2567-2569 จะมีระยะเวลาถือครองเพียง 5 ปี (วันชนวัน)
นโยบายการลงทุน
- กองทุนรวม SSF : ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท
- กองทุนรวม RMF : ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท
- กองทุนรวม Thai ESG : ลงทุนในหุ้นกลุ่ม ESG และตราสารหนี้ ESG Bond
เงื่อนไขการลงทุน
- กองทุนรวม SSF : ไม่กำหนดจำนวนเงินซื้อขั้นต่ำ และไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี
- กองทุนรวม RMF : ไม่กำหนดจำนวนเงินซื้อขั้นต่ำ แต่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีหรืออย่างน้อยปีเว้นปี (นับเฉพาะปีที่มีรายได้) และต้องลงทุนต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- กองทุนรวม Thai ESG : ไม่กำหนดจำนวนเงินซื้อขั้นต่ำ และไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี
บทความที่เกี่ยวข้องกับลดหย่อนภาษี
- ประกันออมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี 2566 ที่ไหนดี ได้ทั้งประกันชีวิตและออมเงินไปในตัว
- ลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง ช้อปดีมีคืน ประกัน เงินบริจาคหักได้เท่าไร คำนวณดูก่อนยื่นภาษี
- เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี เช็กเลย...ถ้ามีรายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีกี่บาท
- วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนยื่นภาษี
- 10 ขั้นตอนง่าย ๆ ยื่นภาษีออนไลน์ มือใหม่ทำตามได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย, กรุงเทพธุรกิจ, ThaiPBS, กรมสรรพากร (1), (2), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์