ช้อปดีมีคืน 2566 เริ่มวันไหน
ใช้ลดหย่อนภาษีปีไหน ?
สิ่งแรกที่ต้องย้ำก็คือ มาตรการช้อปดีมีคืน 2566 เป็นการใช้จ่ายในช่วงวันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2566 ดังนั้นจะใช้ได้กับการลดหย่อนภาษี 2566 คือ ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงต้นปี 2567 เท่านั้น ไม่ใช่ว่าซื้อของปุ๊บแล้วจะใช้ยื่นภาษีในช่วงต้นปี 2566 ได้ทันที
แต่หากใครเคยใช้สิทธิช้อปดีมีคืน 2565 คือซื้อสินค้าในช่วงต้นปี 2565 แล้วยังเก็บใบเสร็จเอาไว้อยู่ สามารถนำมายื่นภาษี 2565 ในช่วงต้นปี 2566 เพื่อหักลดหย่อนภาษีได้เลย
ช้อปดีมีคืน 2566 ใครได้สิทธิบ้าง ?
- ผู้ที่ใช้สิทธิได้คือ บุคคลธรรมดาที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566 และต้องการนำค่าใช้จ่ายจากโครงการนี้ไปใช้ลดหย่อนภาษี 2566 ที่จะยื่นแบบในต้นปี 2567
- ส่วนคนที่ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี หรือมีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี แต่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี จะไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ เนื่องจากไม่ได้เข้าข่ายที่ต้องจ่ายภาษีอยู่แล้วนั่นเอง จึงไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายจากช้อปดีมีคืนไปหักภาษีได้
ช้อปดีมีคืน สมัครยังไง ต้องลงทะเบียนไหม
ช้อปดีมีคืน 2566 เงื่อนไขมีอะไรบ้าง
- ต้องซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้ได้เท่านั้น ยกเว้นการซื้อสินค้าโอทอป (OTOP) และหนังสือหรือ E-book ที่ใช้ใบเสร็จรับเงินได้ โดยระบุชื่อ-นามสกุลให้ชัดเจน
- สินค้าและบริการที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษี VAT หากเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษี VAT จะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
- ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการ และจ่ายค่าสินค้าหรือค่าบริการนั้น ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2566
- หากจ่ายค่าสินค้าในปี 2565 แต่ไปใช้บริการในวันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2566 จะไม่สามารถใช้สิทธิช้อปดีมีคืนได้ เพราะถือว่าไม่ได้ใช้จ่ายในช่วงเวลาที่กำหนด
ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร
- ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยแบ่งเป็น
- ค่าซื้อสินค้า-บริการ จำนวน 30,000 บาทแรก โดยออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร
- ค่าซื้อสินค้า-บริการ อีกจำนวน 10,000 บาท เฉพาะใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร
- หากใช้จ่ายเกินจะนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามวงเงินสูงสุดเท่านั้น เช่น ซื้อสินค้ารวม 35,000 บาท แล้วได้รับใบกำกับภาษีแบบกระดาษทั้งหมด จะสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เพียง 30,000 บาท เท่านั้น
- กรณีซื้อสินค้าที่ได้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 40,000 บาท จะสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 40,000 บาท
- การซื้อสินค้า 40,000 บาท ไม่ได้หมายความว่าจะหักภาษีได้ 40,000 บาทเลย แต่จะลดหย่อนได้เท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของตัวเอง ซึ่งต้องคำนวณจากเงินได้สุทธิที่เหลืออยู่ โดยในแต่ละขั้นจะสามารถลดหย่อนได้สูงสุดตามตารางต่อไปนี้
เช่น ถ้ามีเงินได้สุทธิ 600,000 บาท เท่ากับอยู่ที่ฐานภาษี 15% ถ้าใช้จ่ายในโครงการช้อปดีมีคืนแบบเต็มแม็กซ์ 40,000 บาท ก็จะหักลดหย่อนภาษีได้ 6,000 บาท เปรียบเหมือนกับการซื้อสินค้าชิ้นนั้นโดยได้ส่วนลด 15%
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีฐานภาษีไม่สูง เช่น 5% ก็ต้องพิจารณาก่อนใช้จ่ายว่าคุ้มค่าหรือไม่ที่จะจ่ายเงิน 40,000 บาท เพื่อแลกกับการคืนภาษี 2,000 บาท แต่ถ้าตั้งใจจะซื้อสินค้าในช่วงนั้นอยู่พอดีก็อาจจะถือว่าได้ส่วนลดเพิ่ม 5%
ส่วนใครที่ยังไม่แน่ใจว่าเงินได้สุทธิของตัวเองคือเท่าไหร่ สามารถอ่านได้ที่นี่ >> วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ช้อปดีมีคืน ใช้หลักฐานอะไรยื่นลดหย่อนภาษี ?
1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบกระดาษ
2. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
จะซื้อจากร้านค้าทั่วไป หรือร้านค้าออนไลน์ก็ได้ แต่ร้านค้านั้นจะต้องออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ที่ออกผ่านระบบของกรมสรรพากร
ตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่นี่
3. ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน)
สำหรับการซื้อหนังสือทั้งแบบเล่มและแบบอีบุ๊ก รวมทั้งสินค้า OTOP ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยต้องเป็นใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎรกร (ใช้ได้ทั้งแบบกระดาษและแบบอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งระบุชื่อและนามสกุลของผู้ซื้อสินค้า และต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
- ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
- เลขลำดับของเล่มใบรับ
- วัน เดือน ปีที่ออกใบรับ
- จำนวนเงินที่รับ
- ชนิด ชื่อ จำนวน และราคาสินค้า ในกรณีการขายสินค้าที่มีราคาตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป
ช้อปดีมีคืน 2566 ซื้ออะไรได้-ไม่ได้ ?
สินค้าที่สามารถนำมาใช้สิทธิช้อปดีมีคืนได้จะต้องซื้อจากร้านค้าที่จดทะเบียน VAT และออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้เราเก็บไว้เป็นหลักฐาน หรือเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ถ้าซื้อจากร้านค้าทั่วไปที่ไม่สามารถออกใบกำกับแบบเต็มรูปได้จะไม่สามารถนำไปยื่นภาษี 2566 เพื่อลดหย่อนภาษีตามโครงการได้
ทีนี้ ลองมาดูกันว่า สินค้าประเภทไหนที่ใช้สิทธิได้หรือไม่ได้บ้าง
ช้อปดีมีคืน ซื้อโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า กล้อง ได้ไหม ?
ช้อปดีมีคืน ซื้อทองได้ไหม ?
- ทองคำแท่ง : ไม่สามารถใช้สิทธิได้ เพราะทองคำแท่งไม่ต้องเสียภาษี VAT อยู่แล้ว
- ทองรูปพรรณ : ตัวทองคำก็ไม่เสียภาษีเช่นกัน แต่จะใช้ลดหย่อนภาษีได้เฉพาะค่ากำเหน็จเท่านั้น
ช้อปดีมีคืน ซื้อเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า นาฬิกา เครื่องประดับ ได้ไหม ?
ช้อปดีมีคืน ซื้อเครื่องสำอาง น้ำหอม ครีมบำรุงผิว ได้ไหม ?
ซื้อของใช้ในครัวเรือน เช่น สบู่ แชมพู ผ้าอ้อม ได้ไหม ?
ซื้ออาหารสด-เครื่องปรุงได้ไหม ?
- ของสดและสินค้าทางการเกษตรที่ยังไม่แปรรูป : เช่น ผักสด ผลไม้สด เนื้อหมู เนื้อไก่ สินค้าเหล่านี้ได้รับการยกเว้น VAT อยู่แล้ว จึงนำไปใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้
- นมจืด : ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ เพราะนมวัวรสจืดเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้น VAT
- นมประเภทอื่น ๆ ที่มีการแปรรูปมาแล้ว : เช่น นมที่มีการเติมสี เติมกลิ่นเป็นรสชาติต่าง ๆ อย่างนมช็อกโกแลต นมสตรอว์เบอร์รี นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง นมปราศจากแล็กโทส เป็นสินค้าที่ต้องเสีย VAT จึงนำไปลดหย่อนภาษีได้
ซื้ออาหารแมว-อาหารสุนัขได้ไหม ?
ซื้อเฟอร์นิเจอร์ได้ไหม ?
จ่ายค่าอาหาร-เครื่องดื่มได้ไหม ?
เปลี่ยนยางรถยนต์ ซ่อมรถ เช็กสภาพรถ ได้หรือเปล่า ?
ซื้อรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ได้หรือไม่ ?
เติมน้ำมันรถยนต์ เติมก๊าซ ใช้สิทธิได้ไหม ?
สำหรับช้อปดีมีคืนครั้งนี้สามารถใช้สิทธิเติมน้ำมันและก๊าซได้ โดยสถานีบริการน้ำมันนั้นจะต้องสามารถออกใบกำกับภาษีได้
ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ของตัวเอง สามารถใช้รถยนต์ใครก็ได้ เพราะในใบกำกับภาษีจะระบุแค่ชื่อผู้เติมน้ำมัน ที่อยู่ และเลขบัตรประชาชน แต่ไม่ต้องระบุเลขทะเบียนรถยนต์ ดังนั้นใครเป็นผู้จ่ายเงินค่าน้ำมันก็สามารถแจ้งชื่อเพื่อขอออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้เลย
จ่ายเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ใช้สิทธิได้ไหม ?
ซื้อประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ใช้ลดหย่อนภาษีตามมาตรการช้อปดีมีคืนได้ไหม ?
ทั้งประกันสุขภาพ ประกันชีวิต จะไม่สามารถใช้ช้อปดีมีคืนได้ แต่เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในหมวดประกันได้ ดังนี้
- ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพบิดา-มารดา ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
ทำฟัน ทำศัลยกรรม จ่ายค่ารักษาพยาบาลได้หรือเปล่า ?
ตัดแว่น ลดหย่อนภาษีได้ไหม ?
ใช้บริการนวดหน้า นวดตัว สปา ได้ไหม ?
ซื้อยา-อาหารเสริมได้ไหม ?
ซื้อบัตร-คูปองเพื่อแลกรับบริการต่าง ๆ ได้ไหม ?
ซื้อบัตรของขวัญ (Gift Voucher) ได้ไหม ?
จ่ายค่าบริการรายปีได้หรือไม่ ?
ตรงนี้กรมสรรพากรระบุไว้แล้วว่า ค่าบริการระยะยาวที่เริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้
ตัวอย่างเช่น สมัครสมาชิกรายปีในช่วงวันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2566 แต่มีระยะเวลาการใช้บริการยาวไป 1 ปี คือถึงปี 2567 แบบนี้จะใช้สิทธิไม่ได้ เพราะถือว่ามีระยะเวลาการใช้งานเกินวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
จ่ายค่าที่พักในโรงแรมหรือทัวร์นำเที่ยวได้ไหม ?
กินอาหารในโรงแรม ใช้ช้อปดีมีคืนได้หรือไม่ ?
ซื้อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ได้ไหม ?
ช้อปดีมีคืน จ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ได้ไหม ?
ค่าน้ำ-ค่าไฟ ใช้ช้อปดีมีคืนได้ไหม ?
ซื้อของออนไลน์ได้ไหม ?
ช้อปดีมีคืน ใช้บัตรเครดิตรูด หรือผ่อนจ่าย ได้ไหม ?
ใบกำกับภาษีเขียนชื่อ-ที่อยู่ผิด ใช้เป็นหลักฐานได้ไหม ?
ต้องใช้ที่อยู่ไหน ในการออกใบกำกับภาษี ?
สรุป ! สินค้าที่ใช้สิทธิช้อปดีมีคืน 2566 ได้
1. สินค้าและบริการในประเทศที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
2. หนังสือ
3. สินค้าโอทอป (OTOP)
สรุป ! สินค้าที่ใช้สิทธิช้อปดีมีคืน 2566 ไม่ได้
สินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษี 2566 ได้แก่
- สุรา เบียร์ และไวน์
- บุหรี่ ยาสูบ
- รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- หนังสือพิมพ์และนิตยสาร และค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- บริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เพราะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในหมวดประกันได้
- ค่าบริการระยะยาวที่เริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
- สินค้าหรือบริการที่ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% อยู่แล้ว เช่น ผัก-ผลไม้สดที่ยังไม่ได้แปรรูป เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา นมจืด ทองคำแท่ง ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม
บทความที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนยื่นมีวิธีคำนวณอย่างไร มาดูกันเลย
- ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ ง่าย ๆ มือใหม่ก็ทำได้
- ลดหย่อนภาษี 2565 มีอะไรบ้าง คำนวณให้ดี ก่อนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี 2565 แบบออมทรัพย์ 10 ปี ตัวไหนดี ให้ผลตอบแทนสูง
- ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป คืออะไร ต้องระบุข้อมูลอะไรไว้บ้าง
- เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี เช็กเลย...ถ้ามีรายได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีกี่บาท
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 12 มกราคม 2566
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง : Fiscal Policy Office, รัฐบาลไทย, กรมสรรพากร