สมัครใจลาออก หรืออยู่ต่อดีกว่ากัน ในภาวะที่บริษัทไม่มีความมั่นคง ถ้าไม่รู้จะเลือกทางไหน ลองคิดและถามตัวเองให้ดีก่อนตัดสินใจ
โควิด 19 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยช่วงนี้ย่ำแย่ จนธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะโรงงาน ห้างร้าน บริษัทน้อยใหญ่ต่างปิดตัว หรือไม่ก็มีการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีขนาดเล็กลง จนมีพนักงานตกงานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม จากจำนวนคนตกงานทั้งหมดในตอนนี้ บางส่วนก็ไม่ได้โดนไล่ออก หากแต่เลือกที่จะสมัครใจลาออกเอง เพราะได้รับเงินชดเชยและค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ลดความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับความเป็นธรรม
* ก่อนตัดสินใจ ควรพิจารณาอะไรบ้าง
1. ธุรกิจนั้น หรือบริษัทยังมีอนาคตหรือไม่
ต้องมองออกว่า ธุรกิจหรือบริษัทที่ทำงานอยู่ จะผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นนี้และเติบโตขึ้นในอนาคตได้หรือไม่ โดยพิจารณาว่าสถานะทางการเงินเป็นอย่างไร มีผลประกอบการที่ดีหรือไม่ นอกจากนี้ อยู่ในกลุ่มธุรกิจไหน ตอบโจทย์การดำเนินชีวิตของคนในอนาคตหรือเปล่า ซึ่งหากเกี่ยวเนื่องกับเทรนด์เศรษฐกิจโลก เช่น กลุ่มของเทคโนโลยี ธุรกิจเพื่อสุขภาพ ความสะดวกสบายของคนเมือง ฯลฯ ก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่หากธุรกิจนั้น ความต้องการก็ลดลง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เท่าทันโลก เช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือธุรกิจค้าปลีกที่ไม่มีการสร้างช่องทางผ่านโลกออนไลน์ ฯลฯ ก็ยากที่จะอยู่รอดได้ จึงต้องดูให้ดีว่า บริษัทที่ทำงานอยู่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ และมีอนาคตพอที่จะฝากความมั่นคงไว้ด้วยรึเปล่า
2. มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานไหม
การก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ย่อมหมายถึงรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น และความสำคัญของเราที่มีต่อองค์กร หากพิจารณาแล้วว่า ตลอดการทำงานที่นี่ เราเคยได้รับโอกาสให้ทำงานใหม่ ๆ หรือได้รับผิดชอบในส่วนงานที่มีความสำคัญมากขึ้นเสมอ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรามีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แต่ถ้ารู้สึกว่าทำงานมาหลายปี เงินเดือนก็ไม่ขึ้น ซ้ำยังรู้สึกว่า ตำแหน่งของตัวเอง ใคร ๆ ก็สามารถทำแทนได้ ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีเช่นนี้ มีความเสี่ยงที่จะถูกบอกเลิกจ้างได้ทุกขณะ อาจถึงเวลาที่จะต้องขยับขยายตัวเองออกไปข้างนอกเพื่อทำอะไรใหม่ ๆ ก่อนที่พิษเศรษฐกิจอาจเข้ามาเล่นงานโดยไม่รู้ตัว
3. รายได้คุ้มค่ากับงานที่ทำหรือไม่
งานที่ทำอยู่ต้องตอบโจทย์เรื่องของรายได้ในการดำรงชีวิต ถึงจะเรียกได้ว่า เป็นงานที่ดี หากทำงานหนักโดยได้รับผลตอบแทนน้อย รายได้ไม่คุ้มค่า ก็ควรพิจารณาว่าสมควรที่จะทำงานนั้นต่อหรือไม่ ทั้งนี้ ถ้ารายได้ที่ได้รับในปัจจุบันไม่เป็นที่น่าพอใจ อาจลองยื่นต่อรองกับทางบริษัท เพื่อดูว่าจะได้รับการตอบรับตามคำขอหรือไม่ ก่อนตัดสินใจ
4. อายุเท่าไหร่ มีภาระทางการเงินหรือเปล่า
3. รายได้คุ้มค่ากับงานที่ทำหรือไม่
งานที่ทำอยู่ต้องตอบโจทย์เรื่องของรายได้ในการดำรงชีวิต ถึงจะเรียกได้ว่า เป็นงานที่ดี หากทำงานหนักโดยได้รับผลตอบแทนน้อย รายได้ไม่คุ้มค่า ก็ควรพิจารณาว่าสมควรที่จะทำงานนั้นต่อหรือไม่ ทั้งนี้ ถ้ารายได้ที่ได้รับในปัจจุบันไม่เป็นที่น่าพอใจ อาจลองยื่นต่อรองกับทางบริษัท เพื่อดูว่าจะได้รับการตอบรับตามคำขอหรือไม่ ก่อนตัดสินใจ
4. อายุเท่าไหร่ มีภาระทางการเงินหรือเปล่า
คนเราเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ แต่อาจจะยากหน่อยสำหรับคนวัยทำงานที่มีภาระหนี้สิน เพราะถึงแม้จะสามารถทำงานได้อีกนาน แต่ถ้าดอกเบี้ยกู้ยืมสูง ยิ่งคืนช้า ก็จะยิ่งจ่ายเงินชำระหนี้จำนวนมาก โตขึ้นมาหน่อย มีครอบครัว ถ้าต้องผ่อนรถ ผ่อนบ้าน จ่ายค่าเทอมลูก โดยที่อยู่ในสถานะตกงานและหางานใหม่ ก็อาจลำบาก ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นวัยไหน ถ้ามีภาระทางการเงิน ควรคิดให้ดีก่อนจะตัดสินใจ
5. สายงานนี้ ถ้าลาออกแล้วจะหางานใหม่ง่ายไหม
ในตอนนี้ มีสายงานมากมายเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นสายงานขายและการตลาด สายบัญชีและการเงิน สายงานไอที ฯลฯ ดังนั้น ก่อนลาออก มั่นใจหรือยังว่าตัวเองอยู่ในสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด แล้วจะหางานใหม่ได้ง่ายหรือเปล่า และถ้าไม่ใช่สายงานยอดฮิต แต่ยังไงก็จะลาออก มีวิธีการที่จะเพิ่มทักษะและความสามารถของตัวเองให้ทำงานในสายงานนั้น ๆ ได้ต่อไปหรือยัง
6. ตอนนี้มีเงินเก็บสำรองอยู่เท่าไร
เงินเก็บสำรองที่คนเราควรมีไว้อย่างน้อยคือ สามารถใช้จ่ายได้ภายใน 6 เดือน ดังนั้น ก่อนตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรถามตัวเองว่า ตอนนี้มีเงินเก็บสำรองอยู่เท่าไหร่ และคำนวณว่า มีเงินไว้ใช้จ่ายเพียงพอหรือไม่ หากต้องตกงานไปอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งจะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ฯลฯ เพราะหากลาออกโดยที่ไม่มีเงินเก็บสำรองเพียงพอ อาจทำให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากได้
7. มีโอกาสทำอาชีพอื่นได้อีกไหม
มนุษย์เงินเดือนไม่จำเป็นต้องทำงานประจำเพียงอย่างเดียว หากแต่สามารถใช้เวลาวันหยุด สานต่อธุรกิจที่บ้าน หรือสร้างธุรกิจเป็นของตนเอง จากทักษะที่มีหรือสิ่งที่เราสนใจ เพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ในเมื่อบริษัทที่ทำงานไม่มีความมั่นคง มีการลดจำนวนพนักงานอย่างต่อเนื่อง หากธุรกิจที่เราทำมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากกว่า ก็อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องพิจารณาว่า จะอยู่ต่อเพื่อทำบริษัทของคนอื่น หรือออกไปเพื่อพัฒนาธุรกิจของตัวเอง และหากบางคนได้แต่คิดไว้ ไม่ได้ลงมือทำเสียที นี่ก็อาจถึงเวลาแล้วที่จะได้เริ่มต้น
8. ถ้าสมัครใจลาออก จะได้รับเงินชดเชยเท่าไร
เมื่อได้ข้อสรุปแล้วว่า ต้องการสมัครใจลาออก ก็ใช่ว่าจะต้องรีบจรดปลายปากกาตกลงกับทางบริษัททันที เพราะสิ่งสำคัญคือต้องดูด้วยว่า ได้รับเงินชดเชยคุ้มค่าหรือไม่ โดยปกติแล้ว หากบริษัทมีโครงการสมัครใจลาออก มักจะให้เงินชดเชยจำนวนที่มากกว่าเงินชดเชยที่ได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง เช่น หากมีอายุงาน 10 ปี จะได้รับค่าชดเชย 10 เดือน และอาจได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษอีก เช่น อาจจะได้รับค่าชดเชยเพิ่มอีก 3 เดือน หรือค่าจ้างวันพักร้อน ขึ้นอยู่กับว่านายจ้างจะกำหนดมาให้หรือไม่
5. สายงานนี้ ถ้าลาออกแล้วจะหางานใหม่ง่ายไหม
ในตอนนี้ มีสายงานมากมายเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นสายงานขายและการตลาด สายบัญชีและการเงิน สายงานไอที ฯลฯ ดังนั้น ก่อนลาออก มั่นใจหรือยังว่าตัวเองอยู่ในสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด แล้วจะหางานใหม่ได้ง่ายหรือเปล่า และถ้าไม่ใช่สายงานยอดฮิต แต่ยังไงก็จะลาออก มีวิธีการที่จะเพิ่มทักษะและความสามารถของตัวเองให้ทำงานในสายงานนั้น ๆ ได้ต่อไปหรือยัง
6. ตอนนี้มีเงินเก็บสำรองอยู่เท่าไร
เงินเก็บสำรองที่คนเราควรมีไว้อย่างน้อยคือ สามารถใช้จ่ายได้ภายใน 6 เดือน ดังนั้น ก่อนตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรถามตัวเองว่า ตอนนี้มีเงินเก็บสำรองอยู่เท่าไหร่ และคำนวณว่า มีเงินไว้ใช้จ่ายเพียงพอหรือไม่ หากต้องตกงานไปอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งจะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ฯลฯ เพราะหากลาออกโดยที่ไม่มีเงินเก็บสำรองเพียงพอ อาจทำให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากได้
7. มีโอกาสทำอาชีพอื่นได้อีกไหม
มนุษย์เงินเดือนไม่จำเป็นต้องทำงานประจำเพียงอย่างเดียว หากแต่สามารถใช้เวลาวันหยุด สานต่อธุรกิจที่บ้าน หรือสร้างธุรกิจเป็นของตนเอง จากทักษะที่มีหรือสิ่งที่เราสนใจ เพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ในเมื่อบริษัทที่ทำงานไม่มีความมั่นคง มีการลดจำนวนพนักงานอย่างต่อเนื่อง หากธุรกิจที่เราทำมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากกว่า ก็อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องพิจารณาว่า จะอยู่ต่อเพื่อทำบริษัทของคนอื่น หรือออกไปเพื่อพัฒนาธุรกิจของตัวเอง และหากบางคนได้แต่คิดไว้ ไม่ได้ลงมือทำเสียที นี่ก็อาจถึงเวลาแล้วที่จะได้เริ่มต้น
8. ถ้าสมัครใจลาออก จะได้รับเงินชดเชยเท่าไร
เมื่อได้ข้อสรุปแล้วว่า ต้องการสมัครใจลาออก ก็ใช่ว่าจะต้องรีบจรดปลายปากกาตกลงกับทางบริษัททันที เพราะสิ่งสำคัญคือต้องดูด้วยว่า ได้รับเงินชดเชยคุ้มค่าหรือไม่ โดยปกติแล้ว หากบริษัทมีโครงการสมัครใจลาออก มักจะให้เงินชดเชยจำนวนที่มากกว่าเงินชดเชยที่ได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง เช่น หากมีอายุงาน 10 ปี จะได้รับค่าชดเชย 10 เดือน และอาจได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษอีก เช่น อาจจะได้รับค่าชดเชยเพิ่มอีก 3 เดือน หรือค่าจ้างวันพักร้อน ขึ้นอยู่กับว่านายจ้างจะกำหนดมาให้หรือไม่
โดยนายจ้างและลูกจ้างต้องเห็นด้วยกับข้อเสนอของทั้งสองฝ่าย ถึงจะเป็นอันตกลง หากเราไม่พอใจข้อเสนอและต้องการค่าชดเชยเพิ่มขึ้น แต่นายจ้างไม่ยอม ก็ไม่ต้องสมัครเข้าโครงการก็ได้ สามารถทำงานได้ต่อไป ดังนั้น อย่าลืมว่าตัวเองมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้อง รู้จักต่อรองกับนายจ้าง เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีสุดให้กับตนเอง
* ตัดสินใจ...สมัครใจลาออก
* ตัดสินใจ...สมัครใจลาออก
ถ้าตัดสินใจที่จะสมัครใจลาออก หลังจากพิจารณาว่าได้รับเงินชดเชย หรือข้อเสนอเป็นที่น่าพอใจแล้ว เมื่อกลับบ้านมาก็ไม่ควรนิ่งเฉย ควรวางแผนชีวิตต่อว่าจะทำอะไรต่อไปทันที ซึ่งถ้าจะหางานใหม่ทำ ก็อย่ารอให้ได้เงินชดเชยจนหมดก่อนถึงค่อยหา เพราะงานสมัยนี้ไม่ใช่หากันง่าย ๆ ควรเริ่มต้นสมัครโดยทันทีและเลือกไว้หลาย ๆ ที่ หรือหากต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ เพื่อเป็นนายตัวเอง ก็ต้องศึกษาวางแผนทางธุรกิจให้ดีก่อนลงมือทำ ไม่เช่นนั้นเงินทุนที่มีอยู่อาจหมดไปโดยไร้ความหมาย และจะได้กำหนดสิ่งที่ตัวเองควรจะทำต่อไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ควรวางแผนทางการเงินให้ดี เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องลำบากในยามที่ยังหางานใหม่ไม่ได้ โดยควรประหยัดอดออม ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ส่วนหนึ่งก็ต้องเก็บไว้ในยามฉุกเฉิน โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพ เพราะหากเป็นอะไรขึ้นมาในช่วงนี้ เงินที่มีอยู่อาจเสียไปกับค่ายา ค่าหมอ ก็เป็นได้
สำหรับใครที่มีประกันสังคม มาตรา 33 อยู่แล้ว สามารถลงทะเบียนเพื่อรับเงินชดเชยกรณีว่างงานได้เลย โดยหากเป็นการสมัครใจลาออก ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ถือว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชย 45% ของค่าจ้าง ในเวลาไม่เกิน 90 วัน
หากถูกบีบบังคับให้สมัครใจลาออก หรือไม่ได้รับเงินชดเชย จะทำอย่างไร...
กรณีที่เราถูกบีบบังคับให้สมัครใจลาออก โดยที่ไม่ได้ยินยอมตามกฎหมาย การลาออกนั้นถือเป็นโมฆียะ และให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ได้กำหนด โดยพิจารณาตามอายุงาน หากทำงานมาเป็นระยะเวลานานก็จะได้รับเงินชดเชยจำนวนมากกว่า ดังนี้
นอกจากนี้ ควรวางแผนทางการเงินให้ดี เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องลำบากในยามที่ยังหางานใหม่ไม่ได้ โดยควรประหยัดอดออม ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ส่วนหนึ่งก็ต้องเก็บไว้ในยามฉุกเฉิน โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพ เพราะหากเป็นอะไรขึ้นมาในช่วงนี้ เงินที่มีอยู่อาจเสียไปกับค่ายา ค่าหมอ ก็เป็นได้
สำหรับใครที่มีประกันสังคม มาตรา 33 อยู่แล้ว สามารถลงทะเบียนเพื่อรับเงินชดเชยกรณีว่างงานได้เลย โดยหากเป็นการสมัครใจลาออก ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ถือว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชย 45% ของค่าจ้าง ในเวลาไม่เกิน 90 วัน
หากถูกบีบบังคับให้สมัครใจลาออก หรือไม่ได้รับเงินชดเชย จะทำอย่างไร...
กรณีที่เราถูกบีบบังคับให้สมัครใจลาออก โดยที่ไม่ได้ยินยอมตามกฎหมาย การลาออกนั้นถือเป็นโมฆียะ และให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ได้กำหนด โดยพิจารณาตามอายุงาน หากทำงานมาเป็นระยะเวลานานก็จะได้รับเงินชดเชยจำนวนมากกว่า ดังนี้
กรณีไม่ได้รับเงินชดเชย ซึ่งปกติแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างภายในวันสุดท้ายที่ทำงาน แต่หากถึงตอนนั้นแล้วยังไม่ได้เงินชดเชยดังกล่าว เราสามารถยื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในแต่ละจังหวัด ส่วนกรุงเทพฯ ยื่นได้ที่กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากถือว่าเป็นการเข้าข่ายการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
* ตัดสินใจ...อยู่ต่อ
* ตัดสินใจ...อยู่ต่อ
สำหรับใครที่ตัดสินใจอยู่ต่อ ก็ต้องเตรียมพร้อมตัวเองเอาไว้เสมอ เพื่อรับความเสี่ยงจากการตกงานได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บออมเงินสำรองให้เพียงพอ การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อหาหนทางในการประกอบอาชีพได้หลากหลายขึ้น การหารายได้เสริม เพื่อให้ตนเองมีรายได้หลายช่องทาง ตลอดจนมองหางานใหม่ และเริ่มส่งใบสมัครงานที่สนใจอยู่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำ เพราะถ้าเกิดตกงานขึ้นมาก็จะมีลู่ทางในการเริ่มต้นทำงานใหม่ได้ทันที ไม่ต้องรอจนเสียโอกาส และแข่งขันกับคนอื่น ๆ ที่กำลังหางานใหม่ทำด้วยเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าใครจะสมัครใจลาออก หรืออยู่ต่อ ล้วนแต่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก่อนตัดสินใจจึงควรพิจารณาว่า เรามีความพร้อมรับความเสี่ยงกับผลกระทบที่ตามมามากแค่ไหน เพื่อให้สามารถเลือกหนทางที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง และหากผิดพลาด ก็จะได้ไม่ต้องมาเศร้าเสียใจในภายหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก
ราชกิจจานุเบกษา
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3
ไม่ว่าใครจะสมัครใจลาออก หรืออยู่ต่อ ล้วนแต่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก่อนตัดสินใจจึงควรพิจารณาว่า เรามีความพร้อมรับความเสี่ยงกับผลกระทบที่ตามมามากแค่ไหน เพื่อให้สามารถเลือกหนทางที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง และหากผิดพลาด ก็จะได้ไม่ต้องมาเศร้าเสียใจในภายหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก
ราชกิจจานุเบกษา
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3