ใครรู้ตัวว่าส่งเงินสมทบประกันสังคมเกิน อย่าลืมดำเนินการขอคืนเงิน ต้องทำอย่างไรมาตรวจสอบเลย
ผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนประกันสังคม กับสำนักงานประกันสังคม บางคนอาจทำงานกับนายจ้างหลายคนในช่วงปีนั้น เลยจ่ายเงินสมทบเกินไปโดยไม่รู้ตัว หรือในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ที่สำนักงานประกันสังคมปรับลดอัตราส่งเงินสมทบ แต่เราจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมไปแล้ว กลายเป็นว่าได้ส่งเงินสมทบเกินจำนวนที่ต้องชำระ รู้ไหมว่าเราสามารถติดต่อขอคืนเงินสมทบส่วนเกินนั้นได้ ลองดูวิธีขอเงินสมทบคืนแล้วรีบไปดำเนินการได้ทันที
จะรู้ได้อย่างไรว่าส่งเงินสมทบเกิน ?
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากช่องทางต่าง ๆ คือ
- หนังสือแจ้งผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจะส่งมาให้ กรณีเรามีเงินสมทบเกินจำนวนที่ต้องชำระ
- สอบถามจากสำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ทั่วประเทศ
- สอบถามที่สำนักเงินสมทบ โทร. 0-2956-2264-7
วิธีขอคืนเงินสมทบจากประกันสังคม
กรณีนายจ้างส่งเงินสมทบของลูกจ้างเกินจำนวน
สำหรับผู้ประกันตนใน ประกันสังคม มาตรา 33 นายจ้างจะเป็นผู้ดำเนินการติดต่อประกันสังคมเอง และนำเงินที่ชำระเกินคืนให้ลูกจ้างต่อไป
เอกสารที่ใช้
เอกสารที่ใช้
- กรอกแบบคำขอรับเงินคืน สปส.1-23/1 (ดาวน์โหลด)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือสำเนาทะเบียนพาณิชย์
- บัญชีรายชื่อผู้ประกันตนพร้อมจำนวนเงินที่ขอคืนแต่ละคน
- ใบมอบอำนาจกระทำการแทน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- หลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี)
กรณีผู้ประกันตนทำงานกับนายจ้างหลายราย
ให้ผู้ประกันตนติดต่อสำนักงานประกันสังคมเพื่อขอรับเงินส่วนที่ชำระเกิน
เอกสารที่ใช้
เอกสารที่ใช้
- แบบคำขอรับเงินคืน สปส.1-23/2 (ดาวน์โหลด)
- หลักฐานแสดงการหักเงินสมทบของนายจ้างแต่ละราย
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- กรณีคนต่างด้าวให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม แทนบัตรประจำตัวประชาชน
- หลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี)
- แนบสำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ (ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) รับรองสำเนาถูกต้อง
กรณีเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39
ผู้ประกันตนใน ประกันสังคม มาตรา 39 ให้ผู้ประกันตนติดต่อสำนักงานประกันสังคมเพื่อขอรับเงินส่วนที่ชำระเกิน
เอกสารที่ใช้
เอกสารที่ใช้
- แบบคำขอรับเงินคืน สปส.1-23/3 (ดาวน์โหลด)
- ใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- กรณีคนต่างด้าวให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม แทนบัตรประจำตัวประชาชน
- หลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี)
- แนบสำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ (ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) รับรองสำเนาถูกต้อง
กรณีไม่มีสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารดังกล่าว สามารถเลือกรับเช็คทางไปรษณีย์หรือธนาณัติได้ โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่อนุมัติคำสั่งจ่าย
ส่งเอกสารขอคืนเงินสมทบส่วนเกินได้ที่ไหน ?
สามารถนำเอกสารส่งมาที่ช่องทางต่อไปนี้
- ไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยวงเล็บมุมซองว่า "ขอคืนเงินสมทบ"
- นำเอกสารไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ โดยวงเล็บมุมซองว่า "ขอคืนเงินสมทบ"
- โทรสาร (Fax)
- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
- แอปพลิเคชันไลน์ (LINE)
ขอคืนเงินสมทบได้ถึงเมื่อไร ?
เราจะมีเวลายื่นคำขอรับเงินสมทบส่วนเกินคืนภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่นำส่งเงินสมทบหรือวันที่ได้รับแจ้ง หากไม่ได้ยื่นคำขอรับเงินคืนจะเสียสิทธิ์ไป ไม่สามารถขอคืนได้อีก
ทั้งนี้ หากใครมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคม โทร. 0-2956-2264-7 หรือสายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง
บทความที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคม
- รู้ไหม เงินประกันสังคมที่จ่ายแต่ละเดือน ไปอยู่ไหนบ้าง ?
- เช็กสิทธิประกันสังคม มาตรา 33 สำหรับมนุษย์เงินเดือน
- ประกันสังคม มาตรา 39 คืออะไร ได้รับความคุ้มครองเรื่องไหนบ้าง ?
- ประกันสังคม มาตรา 40 จ่ายเบี้ยเท่าไร ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
- ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคมก่อนอายุ 55 ปี ได้ไหม ถ้าตกงาน หรือลาออก ?
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 22 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, ไทยพีบีเอส, เฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19, สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, ไทยพีบีเอส, เฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19, สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ