เบี้ยผู้สูงอายุ หรือเบี้ยยังชีพคนชรา เป็นสวัสดิการของรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีการปรับเกณฑ์ในเรื่องคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอรับเบี้ยผู้สูงอายุ ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยในเงื่อนไขการลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ ปี 2567-2568 เราจึงรวบรวมข้อมูลมาบอกให้ทราบกัน
นอกจากนี้สำหรับคนที่เคยลงทะเบียนไว้แล้วก็คงอยากทราบว่า เบี้ยผู้สูงอายุ 2567 จะมีเงินเข้าบัญชีวันไหน ก็สามารถเช็กปฏิทินได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลย
เบี้ยผู้สูงอายุ 2567
เบี้ยผู้สูงอายุ 2567 ลงทะเบียนเมื่อไหร่
สำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2567 (เดือนตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) เปิดลงทะเบียนไปแล้วในเดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 ปัจจุบันปิดรับลงทะเบียนแล้ว
ดังนั้น หากใครเกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2507 แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียน ก็จะต้องลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์เบี้ยผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2568 แทน
เบี้ยผู้สูงอายุ ปี 2567 เงินเข้าวันไหน
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะเข้าบัญชีทุกวันที่ 10 ของเดือน ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ จะจ่ายในวันทำการก่อนวันหยุด ดังนั้น ในปี 2567 ผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพตามวันต่อไปนี้
-
เดือนมกราคม : วันพุธที่ 10 มกราคม 2567
-
เดือนกุมภาพันธ์ : วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
-
เดือนมีนาคม : วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567
-
เดือนเมษายน : วันพุธที่ 10 เมษายน 2567
-
เดือนพฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567
-
เดือนมิถุนายน : วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
-
เดือนกรกฎาคม : วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
-
เดือนสิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
-
เดือนกันยายน : วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
-
เดือนตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
-
เดือนพฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567
-
เดือนธันวาคม : วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567
เบี้ยผู้สูงอายุ 2568
เบี้ยผู้สูงอายุ 2568 ลงทะเบียนเมื่อไหร่
-
ลงทะเบียนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2566 และเดือนมกราคม-กันยายน 2567
-
จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 เป็นต้นไป (ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง)
-
ลงทะเบียนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2566 และเดือนมกราคม-กันยายน 2567
-
จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุในเดือนถัดไปจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เช่น เกิดเดือนมกราคม 2568 ก็จะได้รับเบี้ยยังชีพในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 เป็นเดือนแรก
เบี้ยผู้สูงอายุ 2568 คุณสมบัติแบบไหนถึงลงทะเบียนได้
ผู้ที่สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2567 จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ คือ
1. มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คือ ต้องเกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2508 (สำหรับผู้ที่ทราบแค่ปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ)
2. มีสัญชาติไทย
3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตามทะเบียนบ้าน
4. ไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน ยกเว้นกรณีเพิ่งย้ายภูมิลำเนามาใหม่ สามารถมาลงทะเบียนใหม่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามทะเบียนบ้านใหม่ได้ เช่น เคยลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ปีนี้ย้ายทะเบียนมาอยู่จังหวัดชลบุรี ก็ให้มาลงทะเบียนใหม่ที่จังหวัดชลบุรี
5. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท. อาทิ เงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ (ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์)
ลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุได้ไหม หากมีรายได้สูง
จากกรณีที่ราชกิจจานุเบกษาประกาศหลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์รับเบี้ยผู้สูงอายุ โดยระบุว่า จะต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด ซึ่งกฎใหม่นี้มีผลตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป ทำให้หลายคนกังวลว่าจะไม่สามารถลงทะเบียนผู้สูงอายุรอบใหม่ได้ หรือผู้ที่เคยได้รับเบี้ยมาทุกปีจะถูกตัดสิทธิ์นั้น
ประเด็นนี้ยังต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดการมีรายได้ไม่เพียงพอ ดังนั้น ผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดเดิมยังสามารถรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้
เบี้ยผู้สูงอายุ 2568 ลงทะเบียนที่ไหน
ลงทะเบียนได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามภูมิลำเนาของตัวเอง คือ
-
กรุงเทพฯ : สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน-เวลาราชการ
- ต่างจังหวัด : สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน-เวลาราชการ
ลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ 2568 ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เป็นปัจจุบัน
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ พร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร
หากผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นมายื่นคำขอรับเงินแทนได้ โดยต้องใช้เอกสารดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้สูงอายุ หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เป็นปัจจุบัน
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ พร้อมสำเนา ของผู้สูงอายุ สำหรับกรณีขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร
- หนังสือมอบอำนาจ (แบบฟอร์มมอบอำนาจขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละพื้นที่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
ทั้งนี้ สำเนาทุกฉบับต้องลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง หากผู้สูงอายุไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายมือแทน
เบี้ยผู้สูงอายุ 2568 ได้เท่าไหร่
จ่ายเป็นขั้นบันไดตามอายุ ดังนี้
-
ผู้สูงอายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท/เดือน
-
ผู้สูงอายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท/เดือน
-
ผู้สูงอายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท/เดือน
-
ผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน
วิธีรับเบี้ยผู้สูงอายุมีแบบไหนบ้าง
-
รับเงินสดด้วยตัวเอง
-
รับเงินสดโดยบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ์
-
โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิ์
-
โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ์
รวมคำถามเบี้ยผู้สูงอายุ
กรณีย้ายทะเบียนบ้านต้องไปลงทะเบียนใหม่หรือไม่ ?
ได้สิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่แล้วจะลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุได้ไหม ?
ผู้ที่ได้เงินบำนาญชราภาพจากประกันสังคมจะขอรับเบี้ยผู้สูงอายุได้ไหม ?
คนที่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุอยู่แล้ว แต่มีรายได้สูง จะถูกตัดสิทธิ์ตามกฎหมายใหม่หรือไม่ ?
จะได้ปรับเงินผู้สูงอายุเพิ่มในเดือนไหน ?
หากผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพเสียชีวิตต้องทำยังไง
บทความที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
- สรุปหลักเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท ฉบับเข้าใจง่าย คนเดิมได้ไหม คนใหม่ใช้เกณฑ์อะไร
- ประกาศหลักเกณฑ์ใหม่ เบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท จากนี้ไม่ได้ทุกคน เช็กคุณสมบัติคนได้รับสิทธิ์ ที่นี่
- ขอคืนเงินประกันสังคม บำเหน็จ บำนาญชราภาพ ก่อนอายุ 55 ปี ได้ไหม ถ้าตกงาน หรือลาออก ?
- เงินชราภาพ บำเหน็จ-บำนาญประกันสังคม ขอคืนได้เมื่อไหร่ ใครมีสิทธิ์บ้าง ?
- 3 วิธีเช็กเงินชราภาพประกันสังคม มาตรา 33 และ 39 รู้ไหมเรามีเงินสะสมอยู่เท่าไร ?