เบี้ยผู้สูงอายุ หรือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ล่าสุดมีประกาศระเบียบกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับเงื่อนไขเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากนี้ไปผู้สูงอายุจะไม่ได้เงิน 600 บาททุกคน มีผลหลังวันที่ 11 สิงหาคม 2566 หรือ ตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป โดยคนที่จะได้รับ จะต้องเป็นคนที่มีรายได้ไม่เพียงพอด้วย
![เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยผู้สูงอายุ]()
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 13 สิงหาคม 2566 ราชกิจจานุเบกษา มีการลงประกาศระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือ เบี้ยผู้สูงอายุ 2566 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 และยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งหมด
โดยระเบียบนี้มีการปรับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่ คนที่จะได้เงิน 600 บาท จะต้องมีคุณสมบัติเรื่องการไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพเท่านั้น หากใครถูกระงับโดยบริสุทธิ์ใจ จะไม่มีการเรียกเงินคืน ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ฉบับเต็มมีดังนี้
![เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยผู้สูงอายุ]()
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
1. มีสัญชาติไทย
2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเป็นคนยืนยันสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว
4. เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด
อย่างไรก็ตาม เบี้ยผู้สูงอายุ 2566 สิ่งที่ต่างออกไปจากหลักเกณฑ์เดิมนั้น คือการที่หลักเกณฑ์เดิมระบุว่า ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงินผู้สูงอายุ จะต้องเป็นผู้ที่ไม่รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อย่างอื่นจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพของอค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548
สำหรับผู้ที่มีสิทธิรับเบี้ยผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้ยืนยันสิทธิโดยไม่ต้องลงทะเบียน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำนวยความสะดวกโดยแจ้งไปยังผู้สูงอายุที่มีสิทธิ แต่ถ้าหากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องแนบเอกสารยืนยันสิทธิไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
- แบบยืนยันสิทธิของการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับผู้ที่ต้องการรับเงินผ่านธนาคาร
อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้สูงอายุไม่สามารถแจ้งความประสงค์รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้บุคคลอื่นเป็นผู้ไปแจ้งความประสงค์แทนได้
สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อ
1. ตาย
2. ขาดคุณสมบัติตามที่นำเสนอมาแล้ว
3. แจ้งสละสิทธิการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิ
กรณีที่ระงับสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนสั่งระงับการจ่ายเงิน ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพนี้ แต่ได้รับเบี้ยยังชีพด้วยความสุจริต ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนการรายงานให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ เพื่อระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุต่อไป ยกเว้นการเรียกเงินเบี้ยผู้สูงอายุคืน
ทั้งนี้ มีบทเฉพาะกาลในข้อ 17 ที่ว่า ผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียน และรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป
เบี้ยผู้สูงอายุ มีผลนับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป นั่นคือ ถัดจากวันที่ 11 สิงหาคม 2566

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ประกาศหลักเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุ 2566
วันที่ 13 สิงหาคม 2566 ราชกิจจานุเบกษา มีการลงประกาศระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือ เบี้ยผู้สูงอายุ 2566 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 และยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งหมด
โดยระเบียบนี้มีการปรับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่ คนที่จะได้เงิน 600 บาท จะต้องมีคุณสมบัติเรื่องการไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพเท่านั้น หากใครถูกระงับโดยบริสุทธิ์ใจ จะไม่มีการเรียกเงินคืน ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ฉบับเต็มมีดังนี้

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
คุณสมบัติผู้ที่จะได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท
1. มีสัญชาติไทย
2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเป็นคนยืนยันสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว
4. เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด
อย่างไรก็ตาม เบี้ยผู้สูงอายุ 2566 สิ่งที่ต่างออกไปจากหลักเกณฑ์เดิมนั้น คือการที่หลักเกณฑ์เดิมระบุว่า ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงินผู้สูงอายุ จะต้องเป็นผู้ที่ไม่รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อย่างอื่นจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพของอค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548
ขั้นตอนการยืนยันสิทธิ รับเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท
สำหรับผู้ที่มีสิทธิรับเบี้ยผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้ยืนยันสิทธิโดยไม่ต้องลงทะเบียน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำนวยความสะดวกโดยแจ้งไปยังผู้สูงอายุที่มีสิทธิ แต่ถ้าหากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องแนบเอกสารยืนยันสิทธิไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
- แบบยืนยันสิทธิของการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับผู้ที่ต้องการรับเงินผ่านธนาคาร
อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้สูงอายุไม่สามารถแจ้งความประสงค์รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้บุคคลอื่นเป็นผู้ไปแจ้งความประสงค์แทนได้
การสิ้นสุดการได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อ
1. ตาย
2. ขาดคุณสมบัติตามที่นำเสนอมาแล้ว
3. แจ้งสละสิทธิการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิ
กรณีที่ระงับสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนสั่งระงับการจ่ายเงิน ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพนี้ แต่ได้รับเบี้ยยังชีพด้วยความสุจริต ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนการรายงานให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ เพื่อระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุต่อไป ยกเว้นการเรียกเงินเบี้ยผู้สูงอายุคืน
ทั้งนี้ มีบทเฉพาะกาลในข้อ 17 ที่ว่า ผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียน และรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป
เบี้ยผู้สูงอายุ 2566 มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่
เบี้ยผู้สูงอายุ มีผลนับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป นั่นคือ ถัดจากวันที่ 11 สิงหาคม 2566