เบี้ยผู้สูงอายุ 2566-2567 ลงทะเบียนเมื่อไหร่ ใครมีสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพคนชรา พร้อมเช็กเงินเข้าวันไหน
เบี้ยผู้สูงอายุ หรือเบี้ยยังชีพคนชรา เป็นสวัสดิการของรัฐที่เปิดให้ลงทะเบียนทุกปี อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพดังกล่าวจะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนถึงปีงบประมาณที่จะมีอายุครบ 60 ปี เช่น ลงทะเบียนในปีงบประมาณ 2565 เพื่อรับเบี้ยผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2566
ประเด็นนี้ทำให้หลายคนสับสนว่า ผู้สูงอายุที่บ้านจะมีสิทธิ์รับเบี้ยคนชราหรือไม่ แล้วต้องไปลงทะเบียนเมื่อไหร่ ที่ไหน เราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปี 2566-2567 มาบอกให้เคลียร์กันอีกครั้ง

เบี้ยผู้สูงอายุ 2566 ลงทะเบียนเมื่อไหร่
สำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566) เปิดลงทะเบียนไปแล้วในเดือนตุลาคม 2564 - กันยายน 2565 ปัจจุบันปิดรับลงทะเบียนแล้ว
ดังนั้นหากใครเกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2506 แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียน ก็จะต้องลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์เบี้ยผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2567 แทน
เบี้ยผู้สูงอายุ ปี 2566 เข้าวันไหน
-
เดือนตุลาคม 2565 : วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2565
-
เดือนพฤศจิกายน 2565 : วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565
-
เดือนธันวาคม 2565 : วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565
-
เดือนมกราคม 2566 : วันอังคารที่ 10 มกราคม 2566
-
เดือนกุมภาพันธ์ 2566 : วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566
-
เดือนมีนาคม 2566 : วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566
-
เดือนเมษายน 2566 : วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2565
-
เดือนพฤษภาคม 2566 : วันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2566
-
เดือนมิถุนายน 2566 : วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน 2566
-
เดือนกรกฎาคม 2566 : วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566
-
เดือนสิงหาคม 2566 : วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566
-
เดือนกันยายน 2566 : วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566
-
เดือนตุลาคม 2566 : วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566
-
เดือนพฤศจิกายน 2566 : วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566
-
เดือนธันวาคม 2566 : วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566

เบี้ยผู้สูงอายุ 2567 ลงทะเบียนเมื่อไหร่
เปิดลงทะเบียน 2 ช่วง คือ
-
ช่วงที่ 1 เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2565
-
ช่วงที่ 2 เดือนมกราคม-กันยายน 2566
เบี้ยผู้สูงอายุ 2567 เงื่อนไขเป็นอย่างไร ใครลงทะเบียนได้บ้าง
ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2567 จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ คือ
1. มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 คือ ต้องเกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2507 (สำหรับผู้ที่ทราบแค่ปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น ๆ)
2. ผู้สูงอายุต้องไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน หรือถ้าเคยลงทะเบียนมาก่อน แต่ย้ายภูมิลำเนามาใหม่ จะต้องมาลงทะเบียนใหม่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามทะเบียนบ้านใหม่ เช่น เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพที่จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2563 แต่ปีนี้เพิ่งย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จะต้องไปลงทะเบียนใหม่ที่สำนักงานเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
3. มีสัญชาติไทย
4. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตามทะเบียนบ้าน
5. ต้องไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์เป็นรายเดือนจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท. ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ
เบี้ยผู้สูงอายุ 2567 ลงทะเบียนที่ไหน
ลงทะเบียนได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามภูมิลำเนาของตัวเอง คือ
-
กรุงเทพฯ : สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน-เวลาราชการ
- ต่างจังหวัด : สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน-เวลาราชการ
ลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ 2567 ใช้เอกสารอะไรบ้าง
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร
กรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นมายื่นคำขอรับเงินแทนได้ โดยต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
1. หนังสือมอบอำนาจ (แบบฟอร์มมอบอำนาจขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละพื้นที่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ฉบับ
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ฉบับ
ทั้งนี้ สำเนาทุกฉบับต้องลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง หากผู้สูงอายุไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายมือแทน
ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ 2567 ได้เมื่อไหร่
เมื่อลงทะเบียนแล้วสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์ของ อบต. หรือเทศบาลที่ได้ไปลงทะเบียน หรือพื้นที่ที่ อบต. หรือเทศบาลกำหนดไว้
ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้สูงอายุที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทั้งหมดได้ในวันที่ 29 กันยายน 2566
เบี้ยผู้สูงอายุ 2567 ได้เท่าไหร่
เงินผู้สูงอายุที่จะจ่ายให้ทุกเดือนตลอดชีวิตจะขึ้นอยู่กับอายุของผู้สูงอายุ ดังนี้
-
อายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท/เดือน
-
อายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท/เดือน
-
อายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท/เดือน
-
อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน
ลงทะเบียนเบี้ยผู้สูงอายุ 2567 แล้วจะได้รับเงินเมื่อไหร่
ส่วนจะได้รับเงินในเดือนไหนนั้นขึ้นอยู่กับวันเกิดของผู้ลงทะเบียน โดยจะจ่ายให้ในเดือนถัดจากวันเกิด 1 เดือน เช่น
-
เกิดวันที่ 2-31 ตุลาคม 2506 จะได้รับเงินครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2566
-
เกิดวันที่ 2-31 ธันวาคม 2506 จะได้รับเงินครั้งแรกในเดือนมกราคม 2567
-
เกิดวันที่ 2-31 มีนาคม 2507 จะได้รับเงินครั้งแรกในเดือนเมษายน 2567
-
เกิดวันที่ 2-30 มิถุนายน 2507 จะได้รับเงินครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2567
* ยกเว้นคนเกิดวันที่ 1 จะได้รับเงินในเดือนเกิดนั้นเลย เช่น
-
เกิดวันที่ 1 พฤศจิกายน 2506 จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2566
-
เกิดวันที่ 1 เมษายน 2507 จะได้รับเงินตั้งแต่เดือนเมษายน 2567
-
เกิดวันที่ 1 กันยายน 2507 จะได้รับเงินตั้งแต่เดือนกันยายน 2567
อายุเกิน 60 ปี แต่เพิ่งมาลงทะเบียนครั้งแรก จะได้รับเงินเมื่อไหร่

เคยลงทะเบียนรับเบี้ยคนชราแล้ว ปีถัดไปต้องไปลงอีกไหม ?
เบี้ยผู้สูงอายุ ย้ายทะเบียนบ้านต้องทำอย่างไร ?
สำหรับคนที่เคยได้รับเบี้ยยังชีพมาแล้ว แต่ย้ายที่อยู่ จะต้องไปลงทะเบียนใหม่ในพื้นที่ใหม่ที่เราพักอาศัย ตั้งแต่วันที่ย้ายเข้า แต่ต้องไม่เกินเดือนพฤศจิกายนของปีนั้น
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งเดิมยังคงจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถึงเดือนกันยายนของปีงบประมาณที่ย้ายภูมิลำเนา และหลังจากนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่จะจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อเนื่องในเดือนตุลาคมปีงบประมาณถัดไป
เช่น ย้ายออกจากภูมิลำเนาเดิมก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2565 จะต้องมาลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ภูมิลำเนาใหม่ ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 จึงจะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
หากไปลงทะเบียนไม่ทันภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 แล้วไปลงทะเบียนหลังจากนั้น ทาง อปท. แห่งใหม่ จะจ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้ในปีงบประมาณถัดไป คือปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (เดือนตุลาคม 2567)
ถูกจำคุกจะขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้หรือไม่ ?
มีบัตรคนจนจะลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุได้ไหม ?
ได้เงินบำนาญชราภาพจากประกันสังคมแล้ว มีสิทธิ์ได้เบี้ยคนชราหรือไม่ ?
มีรายได้สูงสามารถลงทะเบียนรับเบี้ยคนชราได้ไหม ?
รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ที่ไหนบ้าง ?
ผู้สูงอายุสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินเบี้ยยังชีพผ่านทางช่องทางไหนต่อไปนี้
1. รับเงินสดด้วยตนเอง
2. ให้ผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจมารับเงินสดแทน
3. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้สูงอายุ
4. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้สูงอายุ
ถ้ามีอายุครบ 70, 80, 90 ปี ระหว่างปีงบประมาณ จะได้ปรับเงินผู้สูงอายุเพิ่มในเดือนไหน
หากผู้สูงอายุมีอายุครบ 70, 80 หรือ 90 ปี ในระหว่างปีงบประมาณ จะยังไม่ได้ปรับเบี้ยเพิ่มขึ้นทันที โดยต้องรอการปรับเบี้ยในปีงบประมาณถัดไป
เช่น ปัจจุบันมีอายุ 69 ปี รับเบี้ยยังชีพ 600 บาท/เดือน แต่จะมีอายุครบ 70 ปี ในเดือนมกราคม 2566 กรณีนี้ผู้สูงอายุจะยังได้รับเงิน 600 บาท ต่อไปจนกว่าจะถึงปีงบประมาณใหม่ เท่ากับว่าจะได้ปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพเป็น 700 บาท/เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
เบี้ยผู้สูงอายุ กรณีเสียชีวิตต้องทำยังไง
บทความที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
- เบี้ยผู้สูงอายุ 2565-2566 ลงทะเบียนอย่างไร เปิดปฏิทินโอนเงินเข้าวันไหนบ้าง
- ขอคืนเงินประกันสังคม บำเหน็จ บำนาญชราภาพ ก่อนอายุ 55 ปี ได้ไหม ถ้าตกงาน หรือลาออก ?
- เงินชราภาพ บำเหน็จ-บำนาญประกันสังคม ขอคืนได้เมื่อไหร่ ใครมีสิทธิ์บ้าง ?
- 3 วิธีเช็กเงินชราภาพประกันสังคม มาตรา 33 และ 39 รู้ไหมเรามีเงินสะสมอยู่เท่าไร ?
- วัยเกษียณทําอะไรดี รวม 20 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงาก็ได้ สร้างรายได้เสริมก็ดี !
- เกษียณสนุกในยุค Gig Economy หาอาชีพเสริมอะไรดีที่เหมาะกับเรา