สำหรับผู้ประกันตนประกันสังคม มาตรา 33 และประกันสังคม มาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบครบตามระยะเวลาที่กำหนด จะมีสิทธิได้รับเงินชราภาพประกันสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เงินบำเหน็จ กับ เงินบำนาญ โดยจะได้รับก็ต่อเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนประกันสังคม
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีข่าวดีเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ หนึ่งในนั้นคือ "ขอคืน" โดยให้ผู้ประกันตนสามารถเบิกเงินชราภาพบางส่วนออกมาก่อนอายุ 55 ปีได้ ในกรณีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์อื่นใดอันส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตน
ประเด็นนี้คงทำให้หลายคนอยากตรวจสอบยอดเงินสมทบชราภาพของตัวเองในปัจจุบันว่ามีอยู่เท่าไร งั้นลองมาเช็กกันหน่อย
วิธีที่ 1 เช็กผ่านเว็บไซต์
2. คลิก "เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน/สมัครสมาชิก" ที่มุมบนขวา
3. เข้าสู่ระบบ
- กรณีเคยสมัครสมาชิกไว้แล้ว ให้ใส่รหัสผู้ใช้งาน/รหัสผ่าน แล้วคลิกเข้าสู่ระบบ
- กรณียังไม่เคยสมัครสมาชิก ให้เลือก "สมัครสมาชิก" แล้วกรอกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อลงทะเบียนตามขั้นตอน เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาใส่รหัสผู้ใช้งาน/รหัสผ่าน แล้วคลิกเข้าสู่ระบบ
วิธีที่ 2 เช็กผ่านแอปพลิเคชัน
อีกหนึ่งช่องทางที่เราสามารถเช็กสิทธิประกันสังคมได้ก็คือ แอปพลิเคชัน SSO Connect ของสำนักงานประกันสังคม โดยดาวน์โหลดได้ที่นี่
- ดาวน์โหลด SSO Connect สำหรับผู้ใช้งานระบบ iOS
- ดาวน์โหลด SSO Connect สำหรับผู้ใช้งานระบบ Android
หลังจากดาวน์โหลดแล้ว ทำตามขั้นตอนดังนี้
1. เปิดแอปฯ SSO Connect
- กรณีเคยใช้งานแล้ว ให้ลงชื่อเข้าสู่ระบบโดยกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่าน แล้วกดเข้าสู่ระบบ (ใช้รหัสเดียวกับที่ลงทะเบียนทางเว็บไซต์)
- กรณีเพิ่งเข้าใช้งานครั้งแรกให้กด "ลงทะเบียน" แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวตามขั้นตอน เมื่อลงทะเบียนเสร็จ ให้นำเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่าน มากรอกอีกครั้ง แล้วกดเข้าสู่ระบบ
2. แอปฯ จะแสดงข้อมูล "ยอดเงินสมทบชราภาพ" ให้ทราบ
ถ้าอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถกดเลือก "เงินสมทบชราภาพ" จะมีการแจกแจงว่าในแต่ละปีเราส่งเงินสมทบไปเท่าไรบ้าง
วิธีที่ 3 เช็กผ่าน LINE
1. เข้าแอปพลิเคชัน LINE กดเพิ่มเพื่อนโดยการค้นหา
2. พิมพ์ @ssothai กดค้นหา แล้วกดเพิ่มเพื่อน กดแชต
3. กด "ลงทะเบียนรับสิทธิแจ้งเตือน" ที่มุมล่างขวามือ
4. ลงทะเบียนเข้าใช้งาน โดยกรอก Username และ Password ชุดเดียวกับที่เคยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect
หากยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน ให้คลิกสมัครสมาชิกได้ที่นี่ แล้วกรอกข้อมูลให้ครบตามขั้นตอน จากนั้นจึงนำ Username และ Password มากรอกเข้าระบบอีกครั้ง
5. หลังเข้าสู่ระบบ จะปรากฏข้อมูล "เงินสมทบชราภาพ" ซึ่งให้เราตรวจสอบยอดเงินสะสมทั้งหมดได้
1. เงินบำเหน็จชราภาพ
- กรณีเราจ่ายเงินสมทบ 1-11 เดือน จะได้บำเหน็จเฉพาะส่วนที่เราเคยส่งสมทบไว้ แต่จะไม่ได้ส่วนที่นายจ้างร่วมจ่ายให้ด้วย
- กรณีเราจ่ายเงินสมทบ 12-179 เดือน จะได้บำเหน็จส่วนที่ตัวเองและนายจ้างจ่ายไว้ รวมกับกำไรที่ประกันสังคมนำเงินไปลงทุน โดยกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ได้รับเป็นปี ๆ ไป
2. เงินบำนาญชราภาพ
- ต้องจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป จะส่งติดต่อกัน 15 ปี หรือส่ง ๆ หยุด ๆ บางช่วงก็ได้ จะส่งในฐานะผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือมาตรา 39 ก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องครบ 180 เดือน
- กรณีนี้จะได้รับเงินบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ซึ่งหากเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 จะคิดที่ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท แต่หากเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 จะคิดที่ฐานเงินเดือน 4,800 บาท
- หากใครจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ก็จะได้บำนาญบวกเพิ่มขึ้นไปอีก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน หรือ 1 ปี เช่น จ่ายเงินสมทบ 30 ปี ก็จะได้รับบำนาญเป็น 20% + (1.5% x 15 ปี) เท่ากับ 42.5%
- แต่ถ้าในช่วง 60 เดือนสุดท้ายของการทำงาน ใครเป็นทั้งผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ก็ให้คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดของแต่ละมาตรา เช่น ช่วง 40 เดือนแรก เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท บวกกับช่วง 20 เดือนสุดท้าย เป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 คิดจากฐานเงินเดือน 4,800 บาท
บทความที่เกี่ยวข้องกับเงินชราภาพประกันสังคม
- ผู้ประกันตน เฮ ! ครม. ไฟเขียว เอาเงินชราภาพออกมาใช้ก่อนได้ เช็ก 3 ขอ ได้ที่นี่
- ขอคืนเงินประกันสังคม บำเหน็จ บำนาญชราภาพ ก่อนอายุ 55 ปี ได้ไหม ถ้าตกงาน หรือลาออก ?
- เงินชราภาพ บำเหน็จ-บำนาญประกันสังคม ขอคืนได้เมื่อไหร่ ใครมีสิทธิ์บ้าง ?
- เช็กสิทธิประกันสังคม ของตัวเองผ่านวิธีง่าย ๆ ที่ผู้ประกันตนควรรู้
- เช็กสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน มาตรา 33 สำหรับมนุษย์เงินเดือน
- ประกันสังคม มาตรา 39 คืออะไร ได้รับความคุ้มครองเรื่องไหนบ้าง ?