กลโกงยอดฮิตที่คนร้ายใช้หลอกให้โอนเงิน
คนร้ายที่เป็นมิจฉาชีพมักจะใช้กลลวงสารพัดรูปแบบ เพื่อหลอกหลวงให้เหยื่อโอนเงิน ซึ่งถ้าหากเจอสถานการณ์ดังต่อไปนี้หรือใกล้เคียง ให้ตั้งข้อสงสัยและระวังไว้ก่อนว่าอาจจะถูกหลอกได้
-
อ้างว่าตัวเองเป็นตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร หรือเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วบอกว่าเราทำผิดกฎหมาย ขอให้โอนเงินมาให้ตรวจสอบบัญชี
-
หลอกว่าจะโอนเงินหรือส่งของให้ แต่ต้องโอนเงินค่าดำเนินการให้ก่อน
-
หลอกขายของ เมื่อรับโอนเงินมาแล้วกลับไม่ส่งของให้ หรือส่งของไม่ตรงตามที่สั่ง
-
หลอกว่าจะให้กู้เงิน แต่ต้องโอนค่าดำเนินการต่าง ๆ ให้ก่อน
-
หลอกขายสินค้าพรีออร์เดอร์ โดยที่เหยื่อไม่ได้รับสินค้าหลังโอนเงินให้แล้ว
-
หลอกว่าจะรับเข้าทำงานบริษัทต่างชาติ แล้วให้โอนค่าใบอนุญาตทำงานในต่างประเทศ
-
ชวนให้โอนเงินเพื่อลงทุนต่าง ๆ โดยที่ธุรกิจหรือการลงทุนนั้น ๆ ไม่มีอยู่จริง และมักจะบอกให้เติมเงินเพิ่มอีกเรื่อย ๆ ถึงถอนเงินได้
-
หลอกให้ทำภารกิจต่าง ๆ เช่น กดลิงก์ ดูคลิป ปั่นยอดวิวต่าง ๆ โดยต้องโอนเงินค่าดำเนินการมาก่อนถึงสามารถถอนเงินที่ทำภารกิจออกไปได้
-
แอบอ้างว่าเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักกำลังเดือดร้อน เพื่อขอกู้ยืมเงิน
รายชื่อห้ามโอนเงิน มีอะไรบ้าง
เช็กรายชื่อมิจฉาชีพหลอกโอนเงินได้ที่ไหน
ก่อนจะโอนเงินให้คนแปลกหน้าหรือบุคคลที่ไม่รู้จัก ควรเช็กชื่อและหมายเลขบัญชีให้ดีก่อนว่าเป็นของมิจฉาชีพหรือไม่ โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อบางส่วนได้ที่เว็บไซต์ดังต่อไปนี้
ถูกหลอกให้โอนเงินเป็นคดีอะไร
โดนหลอกให้โอนเงินแจ้งความได้ไหม
อายุความเท่าไร
ถูกหลอกโอนเงินต้องทำยังไง
หากถูกมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินแล้ว เมื่อรู้ตัวให้ตั้งสติ แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้
1. รวบรวมหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคดี
2. ติดต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อระงับการโอนและการถอนเงิน โดยตามกฎหมายใหม่ ผู้เสียหายสามารถขอให้ธนาคารอายัดบัญชีปลายทางได้ทันทีเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 7 วัน (เช็กเบอร์คอลเซ็นเตอร์ของธนาคารได้ที่ >> รวมเบอร์คอลเซ็นเตอร์-สายด่วนธนาคาร แจ้งเหตุมิจฉาชีพดูดเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง)
3. หลังจากติดต่อธนาคารแล้วให้รีบแจ้งความดำเนินคดีกับสถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตรวจสอบร่วมกับธนาคารต่อไป
วิธีแจ้งความเมื่อโดนหลอกให้โอนเงิน
1. แจ้งความที่เกิดเหตุโอนเงิน
2. แจ้งความออนไลน์
เข้าไปแจ้งความได้ที่ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ thaipoliceonline.com โดยให้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคดี เช่น ชื่อ นามแฝง เลขบัตรประชาชน อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัญชีธนาคารที่ใช้ในการทำธุรกรรม และช่องทางติดต่ออื่น ๆ อย่างเช่น LINE, Facebook, Instagram, Twitter ฯลฯ รวมทั้งหลักฐานการโอนเงิน และรูปแบบคำโฆษณาของมิจฉาชีพ
โดยหลังจากเจ้าหน้าที่รับแจ้งความออนไลน์แล้วจะส่งเรื่องไปยังสถานีตำรวจที่ผู้แจ้งความสะดวกในการเดินทางไปแจ้งความ จากนั้นจะเริ่มสืบสวน โดยพนักงานสอบสวนจะโทร. นัดหมายเพื่อสอบปากคำ และดำเนินการต่าง ๆ ตามขั้นตอนกฎหมายต่อไปแจ้งความโดนหลอกโอนเงิน
ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
เอกสารที่ต้องเตรียมในการแจ้งความ ได้แก่
-
บัตรประชาชนของผู้เสียหาย
-
หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน สำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย
-
หลักฐานในการติดต่อ เช่น แคปหน้าจอข้อความ แชตที่พูดคุยกัน
-
หน้าประกาศหรือข้อความโฆษณาของมิจฉาชีพที่ทำให้หลงเชื่อ
-
ข้อมูลมิจฉาชีพ เช่น ชื่อ-สกุล, หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้, หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ, ที่อยู่ เป็นต้น
-
หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี
โดนหลอกโอนเงินจะได้เงินคืนไหม
บทความที่เกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพและการโอนเงิน
- โอนเงินผิดบัญชี ทำไงดี แบบนี้ขอคืนได้ไหม ?
- สลิปโอนเงินปลอม มีวิธีเช็กอย่างไร รู้ให้ชัวร์ว่าโอนมาจริงหรือมั่ว ?
- ซื้อของออนไลน์แล้วโดนโกง ทำอย่างไรถึงจะได้เงินคืน ?
- ซื้อของออนไลน์ แต่ได้สินค้าไม่ตรงปก ทำยังไงถึงจะได้เปลี่ยนของ-คืนเงิน ?
- รวมเบอร์คอลเซ็นเตอร์-สายด่วนธนาคาร แจ้งเหตุมิจฉาชีพดูดเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- แอปฯ ดูดเงิน มีอะไรบ้าง แฝงอยู่ในมือถือหรือยัง พร้อมวิธีป้องกันให้รอดจากการเป็นเหยื่อ
- มีคนโอนเงินผิดมา ทำยังไงดี โอนคืนเลยได้ไหม ?