โอนเงินผิดบัญชี ทำยังไงดี ดึงคืนได้ไหม ธนาคารช่วยเหลืออะไรได้บ้าง แล้วถ้าคนอื่นโอนผิดมาให้เรา จำเป็นต้องคืนหรือเปล่า มาหาคำตอบกัน
เชื่อว่าไม่มีใครไม่เคยทำธุรกรรมโอนเงิน
ยิ่งเดี๋ยวนี้มีทั้งอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง
แอปพลิเคชันของธนาคารที่อำนวยความสะดวกให้เรากดโอนเงินผ่านสมาร์ตโฟนได้ง่าย
ๆ โดยไม่ต้องไปเข้าธนาคาร
หลายคนก็เลยโอนเงินซื้อของกันเพลินจนขาดความรอบคอบ
จำเลขที่บัญชีสลับกันบ้าง ใส่จำนวนเงินผิดบ้าง
กดโอนไปเรียบร้อยถึงได้มารู้ตัวว่าพลาดซะแล้ว
แล้วถ้าเกิดปัญหาความผิดพลาดจากการโอนเงินไปแล้ว ทั้งกรณีที่เราโอนเงินผิดไปให้คนอื่น หรือเป็นคนอื่นที่โอนเงินผิดบัญชีมาให้เรา หากเจอเหตุการณ์แบบนี้จะทำยังไงดี มีวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นบ้างไหม มาดูกัน
กรณีที่เราโอนเงินผิดบัญชีไปให้คนอื่น
สิ่งที่ควรรีบทำหลังจากรู้ตัวก็คือ หากรู้จักผู้รับโอนให้ติดต่อเจรจาขอเงินคืนได้เลย แต่ถ้าไม่สามารถติดต่อได้ หรือถูกปฏิเสธการคืนเงิน ให้ปฏิบัติดังนี้
แล้วถ้าเกิดปัญหาความผิดพลาดจากการโอนเงินไปแล้ว ทั้งกรณีที่เราโอนเงินผิดไปให้คนอื่น หรือเป็นคนอื่นที่โอนเงินผิดบัญชีมาให้เรา หากเจอเหตุการณ์แบบนี้จะทำยังไงดี มีวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นบ้างไหม มาดูกัน
กรณีที่เราโอนเงินผิดบัญชีไปให้คนอื่น
สิ่งที่ควรรีบทำหลังจากรู้ตัวก็คือ หากรู้จักผู้รับโอนให้ติดต่อเจรจาขอเงินคืนได้เลย แต่ถ้าไม่สามารถติดต่อได้ หรือถูกปฏิเสธการคืนเงิน ให้ปฏิบัติดังนี้
1. รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ได้แก่
- สลิปการโอนเงิน ภาพหน้าจอการโอนเงินจาก Internet banking / Mobile Banking หรือ ข้อความแจ้งผลการโอนเงิน
- ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีธนาคาร
- เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือเบอร์มือถือที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ของผู้โอน ผู้ที่ต้องการโอนให้ และผู้รับโอนผิด (ถ้ามี)
2. รีบติดต่อธนาคารต้นทาง เพื่อแจ้งปัญหาและสอบถามวิธีขอคืนเงิน
- ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีธนาคาร
- เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือเบอร์มือถือที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ของผู้โอน ผู้ที่ต้องการโอนให้ และผู้รับโอนผิด (ถ้ามี)
2. รีบติดต่อธนาคารต้นทาง เพื่อแจ้งปัญหาและสอบถามวิธีขอคืนเงิน
โดยธนาคารแต่ละแห่งจะมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันไป และอาจขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม เช่น เขียนใบคำร้องขอตรวจสอบการโอนเงินผิดบัญชี, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/หนังสือเดินทาง รวมทั้งอาจให้เรานำหลักฐานการโอนเงินต่าง ๆ ไปแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจไว้ แล้วนำหลักฐานการแจ้งความมายื่นที่ธนาคาร
3. ธนาคารติดต่อผู้รับโอนผิดเพื่อให้ยินยอมคืนเงิน
3. ธนาคารติดต่อผู้รับโอนผิดเพื่อให้ยินยอมคืนเงิน
- หากโอนผิดภายในธนาคารเดียวกัน ธนาคารจะติดต่อไปยังผู้รับโอนโดยตรง เพื่อให้คืนเงินกลับมา ซึ่งธนาคารไม่สามารถดึงเงินจากบัญชีผู้รับโอนโดยพลการได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับโอนปลายทางก่อน
- หากโอนผิดต่างธนาคาร ธนาคารจะประสานงานกับธนาคารของผู้รับโอนผิด เพื่อให้ธนาคารนั้นติดต่อไปยังผู้รับโอนอีกที
4. ธนาคารแจ้งผล
4. ธนาคารแจ้งผล
- หากผู้รับโอนยินดีคืนเงิน ธนาคารก็จะดำเนินการโอนเงินจำนวนนั้นคืนให้แก่เรา
- แต่ถ้าผู้รับโอนไม่ยอมคืนเงิน หรือติดต่อไม่ได้ ผู้โอนสามารถแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน เพื่อออกคำสั่งทางกฎหมายให้ธนาคารของผู้รับโอนผิดดำเนินการอายัดบัญชี/เปิดเผยข้อมูลบัญชีของผู้รับโอนผิดให้แก่พนักงานสอบสวน เพื่อให้ผู้โอนดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศคง. 1213
อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะกดโอนเงินไปให้ใคร ควรจะตรวจสอบข้อมูลเลขบัญชี หรือรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีก่อนกดทำรายการทุกครั้ง เพราะหากเผลอโอนผิดขึ้นมา ธนาคารมีหน้าที่เพียงแค่ช่วยติดต่อประสานงานไปยังเจ้าของบัญชีอีกฝั่งเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการดึงเงินกลับคืนมาได้ รวมทั้งธนาคารไม่มีหน้าที่ต้องมาจ่ายเงินชดเชยด้วย เนื่องจากถือว่าการทำรายการเกิดขึ้นจากตัวเราเอง
กรณีมีคนอื่นโอนเงินผิดบัญชีมาให้เรา
ถ้ามีคนโทร. มาจากธนาคาร และแจ้งว่ามีการโอนเงินผิดเข้ามาในบัญชีของเรา สิ่งที่ควรทำอันดับแรกก็คือ ให้ใจเย็นแล้วพยายามสังเกตเบื้องต้นก่อนว่ามีอะไรผิดปกติหรือเปล่า เพราะอาจจะเป็นมิจฉาชีพที่ต้องการหลอกเอาเงินของเราไปก็ได้ หรือเงินจำนวนดังกล่าวอาจเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือเป็นเงินที่คนร้ายแอบใช้ข้อมูลของเราไปเบิกเงินจากธนาคารให้โอนเข้าบัญชีของเรา แต่หลอกว่าเป็นการโอนผิดบัญชี
นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังพบกลุ่มมิจฉาชีพแกล้งทำเป็นโอนเงินผิดบัญชี
แล้วโทรศัพท์เข้ามาหาเราเพื่อให้โอนเงินคืนไปยังบัญชีนั้น บัญชีนี้
หรือโอนไปจ่ายร้านค้าออนไลน์ที่สั่งสินค้าไว้แทน กรณีนี้ เราห้ามโอนเงินคืนกลับไปโดยเด็ดขาด เพราะอาจตกเป็นเหยื่อได้
ควรติดต่อไปยังธนาคารเพื่อให้ธนาคารตรวจสอบก่อน หากมีการโอนผิดจริง
ธนาคารจะเป็นผู้โอนเงินกลับไปยังบัญชีต้นทางเอง
สำหรับวิธีสังเกตเบื้องต้น ก็อย่างเช่น
- ควรจะสอบถามปลายสายให้ชัดเจนว่าโทร. มาจากธนาคารอะไร และถามชื่อ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้
- ปลายสายที่โทร. มาควรจะต้องแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการโอนเงิน พร้อมทั้งระบุวันที่ เวลาที่ทำรายการผิดมาอย่างชัดเจน มากกว่าพยายามสอบถามข้อมูลส่วนตัวของเรา
- ปลายสายที่โทร. มาควรจะแจ้งให้เราตรวจสอบรายการบัญชีของตัวเราก่อน ไม่ใช่มาบอกให้เรารีบโอนเงินคืนให้เพียงอย่างเดียว
- ควรจะสอบถามปลายสายให้ชัดเจนว่าโทร. มาจากธนาคารอะไร และถามชื่อ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้
- ปลายสายที่โทร. มาควรจะต้องแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการโอนเงิน พร้อมทั้งระบุวันที่ เวลาที่ทำรายการผิดมาอย่างชัดเจน มากกว่าพยายามสอบถามข้อมูลส่วนตัวของเรา
- ปลายสายที่โทร. มาควรจะแจ้งให้เราตรวจสอบรายการบัญชีของตัวเราก่อน ไม่ใช่มาบอกให้เรารีบโอนเงินคืนให้เพียงอย่างเดียว
หลังจากนั้นเราควรที่จะต้องตรวจสอบบัญชีของเราก่อนว่าในวันและเวลาที่ปลายสายแจ้งเข้ามา มีรายการโอนเงินผิดเข้ามาจริงหรือไม่ ซึ่งเข้าไปเช็กง่าย ๆ ได้จาก Internet Banking / Mobile Banking เลยทันที หรืออาจจะเข้าไปตรวจสอบกับทางธนาคารเลยก็ได้
หากพบว่ามีการโอนเงินผิดบัญชีเข้ามาจริง ๆ ก็ควรจะติดต่อไปยังธนาคารเพื่อดำเนินการโอนเงินกลับไปให้เจ้าของบัญชี ไม่เช่นนั้นอาจโดนฟ้องดำเนินคดีเอาได้ง่าย ๆ ซึ่งความผิดจากการนำเงินผู้อื่นไปใช้ เข้าข่ายข้อหายักยอกทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ การดำเนินการทำเรื่องโอนเงินคืนของแต่ละธนาคารอาจมีความแตกต่างกัน เช่น อาจต้องเซ็นยินยอมที่สาขาของธนาคาร หรืออาจแจ้งความยินยอมผ่านทางโทรศัพท์ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของธนาคารนั้น ๆ เพราะฉะนั้นจึงควรติดต่อธนาคารต้นทาง เพื่อให้เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอน

ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศคง. 1213
ในกรณีเป็นความผิดพลาดจากระบบของธนาคาร ทางธนาคารจะสามารถดำเนินการปรับปรุงข้อมูลเองได้ และหากเกิดความเสียหายอะไร ทางธนาคารจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
แต่หากเป็นกรณีความผิดพลาดจากพนักงาน โดยการกรอกเลขบัญชีผิด หรือกรอกจำนวนเงินผิด พนักงานคนนั้นต้องเป็นผู้ดำเนินการติดต่อไปยังผู้รับโอนเอง เพื่อขอให้โอนเงินกลับมา
ทราบวิธีแก้ปัญหาไปแล้ว หากเกิดโอนเงินผิดหรือมีคนโอนเงินผิดให้เราขึ้นมา ก็ไม่ต้องตกใจ และให้มีสติ ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรทำรายการผิดตั้งแต่ต้น เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้เงินกลับคืน ยิ่งถ้าปัญหาเกิดจากตัวเราเองที่ทำรายการผิดแล้ว โอกาสยิ่งน้อยไปอีก เพราะฉะนั้น ก่อนทำรายการทุกครั้ง ควรตรวจสอบความถูกต้อง และเช็กรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแต่ต้นจะดีกว่า
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 8 พฤษภาคม 2563
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.), เฟซบุ๊ก กองปราบปราม, TNN, it24hrs.com