กองทุน Thai ESG คืออะไร
ก่อนจะไปรู้จักกองทุน Thai ESG ลองมาทำความเข้าใจคำว่า ESG กันก่อน โดย E หมายถึง Environment (สิ่งแวดล้อม), S คือ Social (สังคม) และ G คือ Governance (ธรรมาภิบาล) เป็นแนวคิดของนักลงทุนทั่วโลกที่พิจารณาธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และมีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ตรวจสอบได้ เพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน
ดังนั้น กองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund) หรือ Thai ESG จึงเป็นกองทุนรวมที่เลือกลงทุนในสินทรัพย์ในประเทศที่เข้าเงื่อนไขการเป็น ESG ไม่น้อยกว่า 80% ของทรัพย์สินสุทธิ (NAV) และให้สิทธินำไปหักลดหย่อนภาษีได้
เปิดเงื่อนไขใหม่
กองทุน Thai ESG
กองทุน Thai ESG ปี 2567-2569 ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร
กองทุน Thai ESG ต้องถือครองกี่ปี
สำหรับผู้ที่ลงทุนในปี 2567-2569 จะต้องมีระยะเวลาถือครองไม่ต่ำกว่า 5 ปี นับจากวันที่ซื้อ (จากเดิมต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 8 ปี)
ดังนั้น ถ้าเราซื้อกองทุนในปี 2567 ก็จะขายได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขในปี 2572
กองทุน Thai ESG มีนโยบายลงทุนอะไรบ้าง
ลงทุนไม่น้อยกว่า 80% ของทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ดังนี้
1. หุ้นใน SET/MAI ที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (ESG)
2. ESG Bond
3. Green Token
4. หุ้นไทยที่อยู่ในดัชนี ESG ที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากล
ขายกองทุนก่อนครบกำหนดได้ไหม
เปรียบเทียบกองทุนรวม Thai ESG
SSF และ RMF
จำนวนเงินที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
-
กองทุนรวม Thai ESG : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 300,000 บาท และไม่นับวงเงินรวมกับกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีตัวอื่น ๆ
-
กองทุนรวม SSF : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนรวม RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
- กองทุนรวม RMF : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
ระยะเวลาลงทุน
-
กองทุนรวม Thai ESG : 5 ปีเต็ม (เฉพาะการลงทุนในปี 2567-2569) แต่หากเป็นการลงทุนในปี 2566 หรือหลังจากปี 2569 จะต้องถือครองอย่างน้อย 8 ปีเต็ม
-
กองทุนรวม SSF : 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ (วันชนวัน)
- กองทุนรวม RMF : ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปี นับจากวันที่ลงทุนวันแรก และต้องลงทุนต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
นโยบายการลงทุน
-
กองทุนรวม Thai ESG : ลงทุนในหุ้นกลุ่ม ESG ตราสารหนี้ ESG Bond รวมถึง Green Token
-
กองทุนรวม SSF : ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท
-
กองทุนรวม RMF : ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท
เงื่อนไขการลงทุน
-
กองทุนรวม Thai ESG : ไม่กำหนดจำนวนเงินซื้อขั้นต่ำ และไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี
-
กองทุนรวม SSF : ไม่กำหนดจำนวนเงินซื้อขั้นต่ำ และไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี
-
กองทุนรวม RMF : ไม่กำหนดจำนวนเงินซื้อขั้นต่ำ แต่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีหรืออย่างน้อยปีเว้นปี (นับเฉพาะปีที่มีรายได้) และต้องลงทุนต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
เวลาที่ซื้อเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
-
กองทุนรวม Thai ESG : ใช้สิทธิซื้อลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ปี 2566-2575
-
กองทุนรวม SSF : ใช้สิทธิซื้อลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ปี 2563-2567 (รอประเมินผลอีกครั้งว่าจะต่ออายุหรือไม่)
-
กองทุนรวม RMF : เริ่มซื้อได้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ หากนับเฉพาะกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีทั้ง Thai ESG SSF และ RMF เท่ากับว่าจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 800,000 บาท
กองทุน Thai ESG เหมาะกับใคร
-
คนที่มีฐานภาษีสูงตั้งแต่ 15% ขึ้นไป เพราะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้ หรือไม่เกิน 300,000 บาท
-
เช่น หากมีฐานภาษี 20% และต้องถือครองกองทุน 5 ปี เท่ากับว่าได้ผลตอบแทนจากการลดหย่อนภาษีปีละ 4% ยังไม่รวมผลตอบแทนจากกำไรหรือขาดทุนที่ได้จากการลงทุน
-
แต่สำหรับคนที่มีฐานภาษีไม่สูง เช่น 5% หากลงทุนใน Thai ESG จะได้ผลตอบแทนจากการลดหย่อนภาษีเพียงปีละ 1% เท่านั้น (ยังไม่รวมกำไร-ขาดทุนจากการลงทุน) ซึ่งพอ ๆ กับเงินฝากดิจิทัลหรือเงินฝากประจำที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า จึงอาจดูไม่คุ้มค่าเท่าไร
-
-
คนที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในกลุ่มการลงทุนเพื่อการเกษียณ เช่น SSF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันบำนาญ เต็มจำนวน 500,000 บาทแล้ว และยังต้องการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม เนื่องจากกองทุนรวม Thai ESG แยกวงเงินออกจากสิทธิลดหย่อนภาษีกลุ่มเกษียณ
-
ต้องการลงทุนในช่วงระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี
-
ต้องการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน โดยสนใจลงทุนในธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม ESG
-
มีความรู้ความเข้าใจในการลงทุน สามารถยอมรับความเสี่ยงได้