1. สามีหรือภรรยา ที่จดทะเบียนสมรส
-
หากจดทะเบียนสมรสกัน จะต้องให้คู่สมรสเซ็นชื่อในใบลงทะเบียนบัตรคนจนด้วย
-
หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะไม่นับเป็นสมาชิกในครอบครัว จึงไม่ต้องให้สามีหรือภรรยาเซ็นชื่อในใบสมัครบัตรคนจน
2. บุตรชอบด้วยกฎหมายที่อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2565) นับเฉพาะคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และไม่รวมบุตรบุญธรรม
คำว่า “บุตรชอบด้วยกฎหมาย” หมายถึง
-
กรณีพ่อ-แม่จดทะเบียนสมรสกัน : ลูกจะนับเป็นสมาชิกในครอบครัวของทั้งพ่อและแม่ หากพ่อและแม่ต้องการลงทะเบียนบัตรคนจนทั้งคู่ ลูกจะต้องเซ็นชื่อในใบสมัครของทั้งพ่อและแม่
-
กรณีพ่อ-แม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และไม่มีชื่อพ่อในใบแจ้งเกิดของลูก : จะนับว่าลูกเป็นสมาชิกในครอบครัวของแม่เท่านั้น ลูกต้องเซ็นชื่อในใบสมัครของแม่ แต่ไม่ต้องเซ็นชื่อในใบสมัครของพ่อ
- กรณีพ่อ-แม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และมีชื่อพ่อในใบแจ้งเกิดของลูก : หากพ่อและแม่ต้องการลงทะเบียนบัตรคนจนทั้งคู่ ลูกจะต้องเซ็นชื่อในใบสมัครของทั้งพ่อและแม่
ต้องทำอย่างไร
กรณีสามี ภรรยา หรือบุตร ไม่สามารถเดินทางไปจุดรับลงทะเบียนบัตรคนจนพร้อมเราได้ สามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้
-
ให้คู่สมรสและบุตรลงชื่อในแบบฟอร์มลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนที่ 8
- กรณีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุเกินกว่า 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ให้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง
- กรณีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกิน 10 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ให้ผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ลงลายมือชื่อแทนบุตร
2. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส และ/หรือบุตร พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง (หากบุตรไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
3. จากนั้นให้เรานำเอกสารทั้งหมดมายื่นให้เจ้าหน้าที่หน่วยรับลงทะเบียน เพื่อตรวจสอบและกรอกข้อมูล
บทความที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ลงทะเบียนรอบใหม่ต้องกรอกข้อมูลอะไรบ้าง เช็กแบบฟอร์มกันเลย
- ลงทะเบียนบัตรคนจน 2565 แทนคนอื่นได้ไหม ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 คิดรายได้เฉลี่ยครอบครัวอย่างไร เช็กเงื่อนไขแบบไหนลงทะเบียนได้
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 เปิดลงทะเบียนรอบใหม่แล้ว เช็กทุกขั้นตอน ครบจบที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงการคลัง, บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th (1), (2)