รู้จักกับความหมายของการพิทักษ์ทรัพย์ ในคดีล้มละลาย หากมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ต้องทำอย่างไร มีผลอะไรบ้าง ใครยังสงสัยอยู่ มาหาคำตอบกัน

พิทักษ์ทรัพย์ คืออะไร
โดยการพิทักษ์ทรัพย์เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการล้มละลาย แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ถูกตัดสินพิทักษ์ทรัพย์จะล้มละลายทันทีนะ เพราะยังสามารถไกล่เกลี่ย และจัดการเรื่องคดีความกับเจ้าหนี้ให้จบลงด้วยดีได้ ซึ่งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว
2. คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
อย่างไรก็ดี หากมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จะไม่สามารถถอนฟ้องคดีได้ และเจ้าหนี้ทั้งหลายต้องมายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายใน 2 เดือน นับจากวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เพื่อที่ลูกหนี้จะได้ทราบว่าตนเองมีหนี้สินเท่าไร จะต้องจัดการกับหนี้สินดังกล่าวอย่างไร เช่น อาจจะยื่นคำขอประนอมหนี้ตามจำนวนที่คิดว่าจะสามารถชำระแก่เจ้าหนี้ได้ หรือหากไม่สามารถจะประนอมหนี้ได้ ก็ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายโดยคำพิพากษาของศาล
ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จะเป็นอย่างไร

1. ทรัพย์สินต่าง ๆ ของลูกหนี้ จะตกอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว
2. ห้ามลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้รับคำสั่งจากศาล
3. ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ต้องไปสาบานตัวต่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ และยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน
4. จะต้องประชุมเจรจากับเจ้าหนี้ทุกครั้งที่มีนัดหมาย
อย่างไรก็ตาม หากท้ายที่สุดแล้วผลการตัดสินคดี หรือไกล่เกลี่ยจบสิ้น และพบว่ามีทรัพย์สินเหลือที่ลูกหนี้ต้องได้รับคืน เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ก็จะทำหน้าที่จัดการคืนทรัพย์สินเหล่านั้นให้กับลูกหนี้
ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ต้องออกจากราชการไหม
ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง

ทางออกที่ดีที่สุดเมื่อถูกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว นั่นก็คือการเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอประนอมหนี้ ภายในกำหนด 7 วัน และอย่าเมินเฉยต่อการนัดประนีประนอม โดยเฉพาะการไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย เพราะจะนำไปสู่การโดนยึดทรัพย์ขายทอดตลาด และถูกพิพากษาให้กลายเป็นบุคคลล้มละลายในที่สุด
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเบื้องต้นของการพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าใครไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ก่อนจะก่อหนี้ ก็คิดให้ดี ๆ ด้วยว่าเรามีความสามารถหาเงินมาคืนได้ไหม จะได้ไม่เป็นต้นเหตุจนกลายเป็นคดีฟ้องร้องแบบที่มีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ
บทความที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการเงิน
- หนี้บัตรเครดิต ถ้าโดนฟ้อง ไม่ไปศาลได้ไหม จะมีปัญหาอะไรหรือเปล่า ?
- เบี้ยวหนี้ "ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย" แบบนี้จะเจออะไรบ้าง ?
- หนี้บัตรเครดิต...เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ โดนฟ้องต้องทำยังไง ?
- เบี้ยวหนี้ "ไม่มี-ไม่หนี-ไม่จ่าย" แบบนี้จะเจออะไรบ้าง ?
- หนี้บัตรเครดิต...เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ โดนฟ้องต้องทำยังไง ?