ประกันสังคม คลอดบุตร มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้างที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ วันนี้เราจะมาบอกให้เข้าใจ จะได้ไม่พลาดสิทธิประโยชน์ที่คุณแม่ควรจะได้
ว่าที่คุณแม่มือใหม่ทราบหรือไม่ว่า คุณแม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าจ้างในขณะที่ลาคลอดจากทางประกันสังคม และยังมีสิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรด้วย ลองตามมาดูสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ประกันสังคมมีให้ในกรณีคลอดบุตร เพื่อจะได้ใช้สิทธิ์ได้อย่างเต็มที่
สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร
ค่าจ้าง
เริ่มจากจำนวนวันลาคลอดกันก่อนเลย
ตามกฎหมายกำหนดสิทธิ์เกี่ยวกับการลาคลอดเอาไว้ว่า
ลูกจ้างทุกประเภทที่เป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิ์ลาคลอดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้
โดยแต่เดิม ลูกจ้างหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน แต่ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 98 วัน
โดยนับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และยังรวมถึงการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอด
ส่วนในเรื่องของค่าจ้างในขณะที่คุณแม่ใช้สิทธิ์ลาคลอดนั้น ตามกฎหมายคุณแม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินจาก 2 ช่องทางหลัก ๆ ด้วยกัน คือ
1. นายจ้าง
ในการลาคลอด 1 ครั้ง คุณแม่จะได้สิทธิ์ในการลาคลอดเป็นจำนวน 98 วัน โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้เป็นจำนวน 45 วัน (ยึดตามกฎหมายเดิมที่ให้ลาคลอดได้ 90 วัน) ส่วนจำนวนวันลาอีก 8 วันที่เพิ่มมานั้น นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลาหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ซึ่งการจ่ายเงินทางนายจ้างจะจ่ายระหว่างลาหรือหลังจากมาทำงานขึ้นอยู่กับตกลงกัน
อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด คุณแม่สามารถไปร้องเรียนได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด กระทรวงแรงงาน
2. ประกันสังคม
นอกจากนี้เงินจากนายจ้างแล้ว คุณแม่ยังมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากทางประกันสังคม โดยทางประกันสังคมจะเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเฉลี่ย 90 วัน (คิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) หรือในกรณีที่คุณแม่ได้เงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ทางสำนักงานประกันสังคมก็จะคิดเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาทเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่มีเงินเดือน 20,000 บาท ก็จะได้เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50% ของเงินเดือน แต่ต้องคิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท คือ 15,000 x 3 เดือน (90 วัน) x 0.5 เท่ากับ 22,500 บาท
แต่ในกรณีที่ 2 นี้ คุณแม่จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ และจะได้รับเงินสงเคราะห์เฉพาะการคลอดบุตรไม่เกิน 2 คนเท่านั้นนะคะ หากเป็นการคลอดบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร
* ในกรณีที่คุณแม่มาทำงานก่อนโดยไม่รอให้ครบ 90 วัน ก็ยังคงได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมเต็มจำนวน 90 วัน แถมคุณแม่ก็จะได้รับค่าจ้างตามปกติต่างหากในวันที่คุณแม่มาทำงานด้วย
กล่าวโดยสรุปคือคุณแม่ผู้ประกันตนมีสิทธิ์รับเงินค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน และสิทธิ์ลาคลอดจากประกันสังคม 90 วัน หรือถ้าคุณแม่คนไหนฟิตร่างกายกลับมาทำงานได้ไวกว่า
90 วันตามสิทธิ์การลาคลอดแล้ว
คุณแม่ยังได้เงินตามวันที่คุณแม่มาทำงานจริงด้วยนะ
ค่าคลอดบุตร
คุณแม่ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดบุตร สามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราเหมาจ่าย 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง โดยรวมทั้งค่าทำคลอด ค่ายา ค่าห้อง ค่ารถพยาบาล หรือค่าบริการอื่น ๆ (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป)
ขยายความกันสักนิดนึงสำหรับ ข้อความที่บอกว่า "5 เดือน ภายใน 15 เดือน" อธิบายอย่างง่าย ๆ ก็คือ การนับย้อนหลังกลับไป 13 เดือน (1 ปี 1 เดือน) คุณแม่ต้องมีเงินสมทบมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 เดือน (ถ้าสมทบมาน้อยกว่า 5 เดือน คุณแม่ก็หมดสิทธิ์ในการขอค่าคลอดบุตรครั้งนี้ไป)
มีข้อควรรู้เกี่ยวกับค่าคลอดบุตรอยู่เล็กน้อย คือ
1. คุณแม่สามารถใช้สิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และจำนวนบุตร เท่ากับว่ามีลูกกี่คนก็เบิกได้ทุกคน
2. กรณีคุณพ่อและคุณแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง
ส่วนหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการเบิกค่าคลอดบุตรสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ สำนักงานประกันสังคม
แต่หากใครมีข้อสงสัยว่า การผ่าคลอดจะสามารถเบิกประกันสังคมได้หรือไม่ แล้วถ้าได้ลูกแฝดจะเบิกได้เท่าไร ลองมาหาคำตอบที่นี่ค่ะ
- ตอบทุกคำถาม ! ประกันสังคม ผ่าคลอด เบิกเงินได้เท่าไหร่ ให้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
ค่าตรวจและค่ารับฝากครรภ์
นอกจากค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายครั้งละ 15,000 บาทแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป สำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ ให้คุณแม่ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ในสถานพยาบาลตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด ได้ค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มอีก 1,500 บาท โดยจ่ายตามอายุครรภ์เป็นครั้ง ๆ มีเกณฑ์คือ
- ครั้งที่ 2 : อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ (3-5 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
- ครั้งที่ 3 : อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ (5-7 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
- ครั้งที่ 4 : อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ (7-8 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท
- ครั้งที่ 5 : อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป (8-10 เดือน) จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท
ทั้งนี้ คุณแม่สามารถนำหลักฐานเข้ารับบริการจากสถานพยาบาลในแต่ละครั้ง คือ ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จรับเงิน ไปขอรับประโยชน์ทดแทนส่วนค่าตรวจและรับฝากครรภ์เพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ โดยไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตร
เงินสงเคราะห์บุตร
- ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย คือเป็นลูกแท้ ๆ ของตัวเอง ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
- บุตรต้องมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
- หากคุณพ่อ คุณแม่ที่ใช้สิทธิ์เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตายก่อนบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ บุตรยังจะได้รับเงินส่วนนี้จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ โดยประกันสังคมจะจ่ายให้ผู้อุปการะบุตรต่อไป
ทั้งนี้ คุณแม่จะหมดสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์บุตรเมื่อ..- บุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
- บุตรเสียชีวิต
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าสงเคราะห์บุตร และหลักฐานเอกสารที่ต้องใช้สามารถดูได้ที่ สำนักงานประกันสังคม
อย่างไรก็ตาม ต้องย้ำว่า "เงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม" เป็นคนละประเภทกับ "เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด" ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งได้รับเดือนละ 600 บาท/บุตร 1 คนที่อายุไม่เกิน 6 ขวบเช่นกัน
แต่คุณแม่ที่มีประกันสังคมก็สามารถลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดได้ หากเด็กอยู่ในครอบครัวยากจน หรือเสี่ยงต่อความยากจน คือ ครัวเรือนที่สมาชิกในครอบครัว มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาท/คน/ปี โดยลงทะเบียนได้ที่...
- กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่
- เมืองพัทยา : ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตามภูมิลำเนา
- เมืองพัทยา : ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตามภูมิลำเนา
ตัวอย่างการคำนวณเงินที่จะได้รับ (ตามอัตราเงินเดือน และฐานค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม)
บทความที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคมคลอดบุตร
- ประกันสังคม มาตรา 33 กับสิทธิประโยชน์ที่มนุษย์เงินเดือน-ลูกจ้างจำเป็นต้องรู้ !
- ประกันสังคม มาตรา 39 คืออะไร สิทธิประกันสังคม มีอะไรบ้าง
- รู้ไหม ? ประกันสังคม คลอดบุตร ผู้ชายก็เบิกได้- ประกันสังคม มาตรา 39 คืออะไร สิทธิประกันสังคม มีอะไรบ้าง
- เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม เบิกยังไง จ่ายย้อนหลังได้ไหม ต่างกับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดอย่างไร
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม, ราชกิจจานุเบกษา, สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3, สำนักงานประกันสังคม