ค่าเงินบาทแข็ง คืออะไร
ค่าเงินบาทแข็ง คือ เงินบาทมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือยูโร ทำให้เราใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนหรือซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เช่น
- ถ้าปกติ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 36 บาท หมายความว่า เราต้องใช้เงิน 36 บาท ถึงแลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
- แต่หากเงินบาทแข็งค่า อัตราแลกเปลี่ยนกลายเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 34 บาท แสดงว่า เราใช้เงินเพียง 34 บาท ก็แลก 1 ดอลลาร์สหรัฐได้แล้ว
ค่าเงินบาทแข็ง สาเหตุเกิดจากอะไร
1. อัตราดอกเบี้ยในไทย
2. ปริมาณเงินจากต่างชาติเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้น
เมื่อนักลงทุนเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเติบโตดี ก็จะมีกระแสเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้น และผลักดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติจะพิจารณาจากสภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน ปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองด้วยเช่นกัน หากสถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอน หรือเกิดความขัดแย้งภายในประเทศขึ้น นักลงทุนอาจไม่สนใจลงทุนในไทย และดึงเม็ดเงินที่ลงทุนอยู่ออกไปประเทศอื่น ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนได้
3. ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยมากขึ้น
4. ส่งออกสินค้าได้มากกว่านำเข้า
5. นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มสัดส่วนเงินสำรองขั้นต่ำ หรือมาตรการอื่น ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ย่อมส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานของค่าเงินบาทได้เช่นกัน
เช่น เมื่อธนาคารกลางเห็นว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินไป จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำให้เงินที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มีจำนวนลดลง ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลงตาม จึงเปรียบเสมือนกับการลดความต้องการหรือปริมาณของเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น
6. นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
7. เงินสกุลต่างประเทศอ่อนค่าลง
8. การขายทำกำไรทองคำ
ค่าเงินแข็ง
ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร
ผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ
- สินค้านำเข้าถูกลง : เมื่อค่าเงินแข็ง สินค้านำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาถูกลง เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร สินค้าแบรนด์เนม น้ำมัน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น
- ต้นทุนภาคการผลิตบางประเภทลดลง : ภาคการผลิตที่พึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าจะสามารถซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศได้ในราคาที่ถูกลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง
- ภาระหนี้สินต่างประเทศลดลง : บริษัทหรือรัฐบาลที่มีหนี้ต่างประเทศจะใช้จำนวนเงินบาทน้อยลงในการชำระหนี้ เช่น หากกู้ยืมเงินมา 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตอนที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 36 บาท เท่ากับเราเป็นหนี้ 36 ล้านบาท แต่เมื่อเงินบาทแข็งกลายเป็น 34 บาท จำนวนหนี้ที่ต้องจ่ายจึงเหลือเพียง 34 ล้านบาท
- ตลาดหุ้นอาจปรับตัวสูงขึ้น : เมื่อค่าเงินบาทแข็ง แสดงว่ากระแสเงินจากต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือเงินลงทุนจากต่างชาติที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้นไทย เนื่องจากเห็นว่าได้ผลตอบแทนเรื่องของค่าเงินด้วย ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นได้
- อัตราเงินเฟ้อลดลง : โดยปกติเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าจากต่างประเทศลดลง ช่วยลดต้นทุนการผลิต จึงตั้งราคาขายถูกลงได้ รวมถึงสามารถนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในราคาที่ถูกลง ก็จะส่งผลให้ราคาสินค้าโดยรวมในประเทศลดลง และช่วยลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ
ผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ
- การท่องเที่ยวในประเทศอาจไม่คึกคัก : คนไทยอาจเห็นว่าค่าใช้จ่ายเมื่อเดินทางไปเที่ยวเมืองนอกถูกลง จึงเดินทางไปต่างประเทศกันมากขึ้น ในขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมองว่า ค่าใช้จ่ายที่จะเดินทางมาเที่ยวไทยกลับแพงขึ้น เลยเลือกไปประเทศอื่นหรือชะลอการเดินทางไว้ก่อน
- การส่งออกยากขึ้น : เงินบาทแข็งส่งผลให้สินค้าส่งออกของไทยจะมีราคาแพงขึ้นในตลาดโลก ทำให้การแข่งขันกับประเทศอื่นยากขึ้น และส่งผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออก
- สินค้าเกษตรกรรมอาจขายได้น้อยลง : ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ส่งออกไปยังต่างประเทศจะมีราคาสูงขึ้น อาจทำให้ต่างชาติสั่งซื้อน้อยลง ขายได้ยากขึ้น ซึ่งหากไม่สามารถระบายสินค้าได้ทันอาจเกิดภาวะสินค้าเกษตรล้นตลาด
- ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ให้ต่างชาติอาจลดลง : แม้อสังหาริมทรัพย์ในไทยอย่างคอนโดมิเนียม บ้าน บ้านพักตากอากาศ จะเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวหรือนักลงทุนต่างชาติ แต่เมื่อค่าเงินบาทแข็ง ราคาที่ต้องจ่ายก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย อาจส่งผลให้ลูกค้าต่างชาติชะลอการซื้อ
ค่าเงินบาทแข็ง ส่งผลดีอย่างไร
ใครได้ประโยชน์
ผู้บริโภคทั่วไป
นักท่องเที่ยวชาวไทย
คนไทยที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ
ผู้นำเข้าสินค้า
เพราะใช้เงินบาทจำนวนน้อยลงในการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ หรือพูดง่าย ๆ ว่า นำเข้าสินค้าเท่าเดิมในราคาที่ถูกลง หรือในกรณีที่จ่ายเงินเท่าเดิมก็จะได้ของเพิ่มขึ้น
เช่น ถ้าค่าเงินบาทแข็งค่าจาก 36 เป็น 34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับว่า จากเดิมสั่งซื้อสินค้า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ จะต้องจ่าย 360,000 บาท แต่เมื่อค่าเงินบาทแข็ง เราจะจ่ายเงินเพียง 340,000 บาท ประหยัดไปได้ถึง 20,000 บาท ยิ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สั่งซื้อสินค้าหลักล้านก็ยิ่งประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น
ผู้ประกอบการที่สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ
คนที่ต้องการเก็งกำไรค่าเงิน
คนที่ต้องชำระหนี้ต่างประเทศ
ธุรกิจที่มีโครงสร้างต้นทุนหรือมีเงินกู้เป็นเงินสกุลต่างประเทศ
ค่าเงินบาทแข็ง ส่งผลเสียอย่างไร
ใครเสียประโยชน์
คนที่รับเงินสกุลต่างประเทศ
คนที่เทรดหุ้นหรือลงทุนต่างประเทศอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเทรดหุ้นต่างประเทศ หรือเทรดทองคำในสกุลเงินดอลลาร์ อาจมีช่วงที่ได้กำไรจากการขึ้น-ลงของสินทรัพย์นั้น ๆ ก็จริง แต่ต้องไม่ลืมว่าเมื่อแลกกลับมาเป็นเงินบาทก็อาจขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่ากำไรที่ขายสินทรัพย์ได้ จึงต้องพิจารณาให้ดี
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ยังไม่เคยลงทุนในต่างประเทศ ช่วงที่เงินบาทแข็งค่าอาจเป็นเวลาที่น่าสนใจในการลงทุนต่างประเทศ เพราะเงินบาทมีค่ามากขึ้น สามารถใช้เงินบาทแลกดอลลาร์ได้ถูกลง ทำให้ต้นทุนการเทรดต่ำลง และมีโอกาสทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเงินบาทอ่อนค่าในอนาคต
คนที่ออมเงินในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD)
ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ
ผู้ประกอบการที่รับเงินตราต่างประเทศ
ผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้า
บทความที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาท
ขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ