ลดหย่อนภาษีบิดามารดา
พ่อแม่ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
ตามกฎหมายแล้วเราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท และใช้สิทธิได้สูงสุดคือ 4 คน จำนวนไม่เกิน 120,000 บาท แบ่งได้ดังนี้
-
พ่อแม่ของตัวเอง : ใช้สิทธิได้คนละ 30,000 บาท รวม 60,000 บาท
-
พ่อแม่ของคู่สมรส : ใช้สิทธิได้คนละ 30,000 บาท รวม 60,000 บาท
ลดหย่อนบิดามารดา เงื่อนไขมีอะไรบ้าง
1. บิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
2. บิดามารดาต้องมีเลขประจำตัวประชาชน
3. บิดามารดา หรือบิดามารดาของคู่สมรสอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของเรา (ผู้มีเงินได้)
4. บิดามารดาต้องมีรายได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท (เช่น ถ้าคุณพ่อ คุณแม่มีรายได้ 30,000 บาทพอดี ยังใช้สิทธิได้ แต่ถ้ามีรายได้ 30,001 บาท จะใช้สิทธิไม่ได้ ซึ่งรายได้ส่วนนี้รวมถึงเงินบำนาญ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินปันผล กำไรจากการขายหุ้น-กองทุนต่าง ๆ ด้วย)
5. เราต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นบุตรบุญธรรมจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนพ่อแม่ได้
6. หากเราไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น
7. กรณีสามีหรือภรรยาของเราแยกยื่นแบบเสียภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีบิดามารดาของตัวเอง ดังนั้นแต่ละคนจะใช้สิทธิได้สูงสุดไม่เกิน 2 คน หรือ 60,000 บาท
ลดหย่อนภาษีพ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร
วิธีคำนวณอายุพ่อแม่ให้ดูปี พ.ศ. เกิดเป็นหลัก (ไม่ต้องสนใจวันเกิด เดือนเกิด) โดยนำปีภาษี มาหักลบกับ พ.ศ. เกิดของพ่อแม่ ถ้าลบกันแล้วมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ลูก ๆ สามารถใช้สิทธิได้
ตัวอย่างเช่น
-
คุณพ่อ เกิดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ก็จะถือว่ามีอายุ 60 ปี ในปีภาษี 2567 ลูกสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 2567 ซึ่งจะยื่นแบบในช่วงต้นปี 2568 ได้
-
คุณแม่ เกิดวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2508 ยังถือว่ามีอายุ 59 ปี ในปีภาษี 2567 แม้ลูกจะยื่นแบบภาษีในช่วงต้นปี 2568 ซึ่งมารดามีอายุครบ 60 ปีแล้ว แต่กรณีนี้ลูกจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 2567 ได้
มีลูกหลายคนใช้สิทธิยังไง
พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนกัน ลดหย่อนภาษีได้ไหม
ลูกกับพ่อแม่ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านเดียวกันหรือไม่
พ่อแม่เป็นข้าราชการบํานาญ ลูกนำมาลดหย่อนภาษีได้ไหม
ลดหย่อนภาษีบิดามารดา ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ถ้าพ่อแม่เสียชีวิตระหว่างปี ลดหย่อนภาษีได้ไหม
ลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพพ่อแม่
ประกันสุขภาพพ่อแม่ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
นอกจากค่าเลี้ยงดูบิดามารดาแล้ว หากลูกซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่ตัวเอง หรือพ่อแม่คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ก็สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท มายื่นหักลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
กรณีลูก ๆ หลายคนร่วมกันซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่ จะต้องนำเบี้ยประกันมาเฉลี่ยกันตามส่วนของลูกที่ต้องการใช้สิทธิ แต่ไม่เกิน 15,000 บาท เช่น ลูก 2 คนรวมกันซื้อประกันให้พ่อแม่ ก็จะใช้สิทธิได้ไม่เกินคนละ 7,500 บาท
ประกันสุขภาพพ่อแม่แบบไหนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้บ้าง
ประกันสุขภาพพ่อแม่ที่สามารถใช้สิทธิในส่วนนี้ได้ต้องมีลักษณะตามนี้
-
เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
-
เป็นประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
-
เป็นการประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
-
เป็นการประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)
ดังนั้น ถ้าลูกซื้อประกันชีวิตหรือประกันออมทรัพย์ให้พ่อแม่จะไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
เงื่อนไขการใช้สิทธิประกันสุขภาพพ่อแม่
1. บิดามารดาต้องมีเลขประจำตัวประชาชน
2. บิดามารดาต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้นเกิน 30,000 บาท (รวมทุกรายการ เช่น เงินบำนาญ เงินปันผล ดอกเบี้ยเงินฝาก กำไรจากการขายหุ้น เป็นต้น)
3. เราหรือคู่สมรสต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
4. บุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธิได้
5. หากจะใช้สิทธิเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่คู่สมรส คู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ตลอดปีภาษีนั้น
6. บิดามารดาอายุเท่าใดก็ได้ ไม่ได้กำหนดอายุบิดามารดาที่จะทำประกันสุขภาพ
7. หากเราไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น