ลดหย่อนภาษีการตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้เท่าไร
1. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
2. ค่าลดหย่อนบุตร
- กรณีคลอดบุตรคนแรก หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท
- กรณีคลอดบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป หักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
ตั้งครรภ์ในปี 2567 ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ?
ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่นำมาหักลดหย่อนภาษีค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ ?
- ค่าตรวจครรภ์
- ค่ารับฝากครรภ์
- คำบำบัดทางการแพทย์
- ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์
- ค่าทำคลอด
- ค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล
- ค่าขูดมดลูก (ถือเป็นค่าบำบัดทางการแพทย์กรณีแท้งบุตร)
หากคลอดแล้วเด็กเสียชีวิต สามารถลดหย่อนภาษีได้ไหม ?
หากจ่ายค่าฝากครรภ์เป็นเงิน 30,000 บาท ต่อมาแท้งบุตรต้องขูดมดลูก 40,000 บาท สามารถใช้สิทธิ์ได้เท่าไร ?
ถ้าตั้งครรภ์ปี 2567 แต่คลอดปี 2568 จะใช้สิทธิ์ยังไง ?
ถ้าเป็นค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรที่ไม่ได้เกิดขึ้นในปีภาษีเดียวกันแบบนี้ จะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงในปีที่ใช้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท (เพราะถือว่าเป็นการตั้งครรภ์และคลอดบุตรในคราวเดียวกัน)
เช่น ในปี 2566 จ่ายค่าฝากครรภ์ไปจำนวน 10,000 บาท ก็จะสามารถหักลดหย่อนภาษีปี 2567 ได้ 10,000 บาท ส่วนอีก 50,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคลอดบุตร สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีในปี 2568 ได้
หรือกรณี ปี 2566 จ่ายค่าฝากครรภ์ไปจำนวน 25,000 บาทแล้ว พอมาปีนี้ (2567) จ่ายค่าคลอดบุตรไป 45,000 บาท แต่เราจะสามารถนำค่าคลอดบุตรมาลดหย่อนภาษีปี 2567 ได้เพียง 35,000 บาทเท่านั้น เพราะการตั้งครรภ์ในแต่ละคราวจะลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท
ถ้าตั้งครรภ์หลายครั้งในปีภาษีเดียวกัน จะลดหย่อนได้เท่าไร ?
หากจ่ายค่าฝากครรภ์หรือคลอดบุตรหลายคราวในปีภาษีเดียวกัน สามารถลดหย่อนภาษีได้คราวละไม่เกิน 60,000 บาท
เช่น จ่ายค่าคลอดบุตรคนแรกในเดือนมกราคม 2567 จะสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท และถ้าหากในเดือนธันวาคม 2567 มีการตั้งครรภ์และฝากครรภ์บุตรคนที่ 2 อีก ก็จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมอีกตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท รวมแล้วในปี 2567 สามารถลดหย่อนภาษีได้ 120,000 บาท
คลอดบุตรแฝด สามารถลดหย่อนได้เท่าไร ?
คุณพ่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ไหม
สำหรับประเด็นนี้จะแบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ
- หากคุณแม่ไม่มีเงินได้ ไม่ได้ยื่นภาษี : กรณีนี้คุณพ่อสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการฝากครรภ์และคลอดบุตร มายื่นหักลดหย่อนภาษีได้เลย แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
- ถ้าคุณแม่มีเงินได้ แต่ยื่นเสียภาษีรวมกับคุณพ่อ : กรณีนี้ก็สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท มายื่นหักลดหย่อนภาษีได้
- ถ้าคุณแม่มีเงินได้ แต่แยกยื่นภาษีกับคุณพ่อ : กรณีนี้คุณแม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท ได้เพียงฝ่ายเดียวค่ะ ส่วนคุณพ่อจะไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้
มีสวัสดิการเบิกค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรอยู่แล้ว จะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ไหม ?
เช่น นายจ้างภาคเอกชนให้สวัสดิการค่าคลอดบุตร 30,000 บาท แต่คุณแม่จ่ายค่าคลอดบุตรไปจำนวน 80,000 บาท ดังนั้นคุณแม่จะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีค่าคลอดบุตรได้เพียง 30,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากเมื่อนำไปรวมกับสิทธิสวัสดิการต่าง ๆ แล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท
หากบิดา-มารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถใช้สิทธิ์ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้หรือไม่ ?
ใช้เอกสารอะไรขอลดหย่อนภาษีค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ?
- ใบรับรองแพทย์
- ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรให้สถานพยาบาล
หากบุตรที่คลอดในปี 2567 เป็นบุตรคนแรก จะลดหย่อนภาษีรวมได้เท่าไร ?
1. ค่าเลี้ยงดูบุตร 30,000 บาท
2. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร 60,000 บาท
รวมแล้วสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 90,000 บาท
หากบุตรที่คลอดในปี 2567 เป็นบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป รวมแล้วลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ?
1. ค่าเลี้ยงดูบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป จำนวน 60,000 บาท
2. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร จำนวน 60,000 บาท
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิ์ลดหย่อนบุตรคนที่ 2 มีอะไรบ้าง ?
- ต้องเป็นบุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไป และเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป ดังนั้น ถ้าเกิดปี 2567 ก็ใช้สิทธิ์ได้
- นับลำดับของบุตรทุกคน ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม
ทราบข้อมูลชัดเจนแล้ว ใครที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรในปีนี้ ก็อย่าลืมใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีทั้ง 2 รายการที่เพิ่มเข้ามาด้วยนะคะ
ส่วนใครที่อยากทราบว่า นอกจากค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร และค่าเลี้ยงดูบุตรแล้ว เรายังสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีประเภทไหนได้อีก ตามมาอ่านสรุปค่าลดหย่อนภาษีทั้งหมด พร้อมวิธีคำนวณภาษี กันต่อเลย
บทความที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสรรพากร, กรมสรรพากร, ราชกิจจานุเบกษา