ข่าวเบี้ยผู้สูงอายุ ล่าสุด รมว.พม. ยันแล้ว ผู้สูงอายุได้เบี้ยยังชีพตามเดิม 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปีต่อ ๆ ไปต้องรัฐบาลใหม่จะเป็นคนเคาะหลักเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุ โดยพบผู้สูงอายุ 11 ล้าน มีคนจนจริง 4 ล้าน จะให้เดือนละ 3,000 ต้องไปหางบมาเพิ่ม 9 เท่า
วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล เดลินิวส์ รายงานว่า นายจุติ ไกรฤกษ์
รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ถึงการเปลี่ยนหลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ว่า
เรื่องนี้กระทรวงมหาดไทยทำตามระเบียบและตามกฎหมาย
ไม่ได้โยนมายังกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เมื่อกฎหมายเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนตาม
และต้องรอคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) กำหนดเกณฑ์
โดยทุกคนที่ได้รับเบี้ยยังชีพตอนนี้ จะยังได้รับเหมือนเดิมทุกประการ
ไม่มีใครตกหล่น เพราะมีบทเฉพาะกาลอยู่ รวมถึงต้องรอการพิจารณาของ กผส.
ขณะเดียวกันเป็นแนวทางเลือกตามมารยาทแล้วอยู่ที่รัฐบาลใหม่ว่าให้ทำอย่างไร
แต่ก็มีความกังวลเช่นกันว่า เวลาให้ต้องคำนึงถึงกลุ่มอื่น ๆ ของสังคมด้วย
ซึ่งมีเด็ก 21 ล้านคน คนพิการ 3 ล้านคน ผู้สูงอายุ 11 ล้านคน
ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า ผู้สูงอายุที่แสดงสิทธิ์ 11 ล้านคน มีคนที่จนจริง ๆ อยู่เพียง 4 ล้านคน จึงต้องถามว่าคนในงบประมาณที่มีจำกัด ควรนำเงินส่วนนี้ไปช่วยคนที่จนที่สุดของประเทศก่อนหรือไม่ รัฐบาลใหม่จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับเบี้ยผู้สูงอายุ หากกำหนดว่าจะให้เงินเดือนละ 3,000 บาท ทั้งหมด ก็ต้องไปเก็บภาษีมาให้ได้ ปีละ 720,000 ล้านบาท เพราะปัจจุบันกระทรวง พม. ได้รับงบประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องไปหางบประมาณมาอีก 9 เท่า
ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า ผู้สูงอายุที่แสดงสิทธิ์ 11 ล้านคน มีคนที่จนจริง ๆ อยู่เพียง 4 ล้านคน จึงต้องถามว่าคนในงบประมาณที่มีจำกัด ควรนำเงินส่วนนี้ไปช่วยคนที่จนที่สุดของประเทศก่อนหรือไม่ รัฐบาลใหม่จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับเบี้ยผู้สูงอายุ หากกำหนดว่าจะให้เงินเดือนละ 3,000 บาท ทั้งหมด ก็ต้องไปเก็บภาษีมาให้ได้ ปีละ 720,000 ล้านบาท เพราะปัจจุบันกระทรวง พม. ได้รับงบประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องไปหางบประมาณมาอีก 9 เท่า
ตนยืนยันว่า ไม่ได้วางกรอบหรือเงื่อนไขระยะเวลาเกี่ยวกับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยให้ กผส. สรุปหลักเกณฑ์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ รมว.คลัง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ และ ครม. ชุดใหม่ เป็นคนเลือกว่าจะให้อย่างไร ส่วนหลักเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุจะสามารถออกได้ช่วงไหน อยู่ที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ จะตัดสิน และส่งให้รัฐบาลใหม่ พร้อมย้ำว่าตอนนี้ยังจ่ายเงินปกติไม่มีใครตกหล่นแม้แต่คนเดียว โดยงบประมาณปี 2566 จะจบเดือนกันยายนนี้ และงบประมาณปี 2567 เพิ่มเป็น 110,000 ล้านบาท เพราะจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
นายจุติ กล่าวอีกว่า สิ่งที่นักการเมืองทุกคนไม่เคยพูดให้ประชาชนรับทราบคือ ประเทศที่เจริญแล้ว อาทิ ออสเตรเลีย เยอรมนี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เขามีการพิสูจน์สิทธิ คือมีการวัดว่าใครที่มีความลำบากจริง รายได้ไม่พอจริง รัฐก็จะไปช่วยเหลือ การที่รัฐจะจ่ายให้ทุกกลุ่ม หรือจะให้เฉพาะกลุ่มจะต้องมองให้ครบถ้วน ตนคิดว่าขอให้คิดถึงความเป็นมนุษย์ อย่าคิดถึงคะแนนเสียง
เมื่อถามว่าอยากจะฝากอะไรไปถึง รมว.พม. คนใหม่ หรือไม่ นายจุติ กล่าวว่า ขอให้คิดถึงทุกกลุ่ม รักทุกคน เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขดีกว่า ส่วนตนเองจะกลับมากระทรวงเดิมอีกหรือไม่นั้น ไม่มีใครทราบ คงต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่หลังจากนี้
ข่าวผู้สูงอายุ หรือ เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ล่าสุดที่น่าสนใจ
เกาะติดข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ภาษี ที่น่าสนใจอื่น ๆ