ประกันสังคม ตอบปม เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แต่จ่ายเงินเกินไปแล้ว ทั้งที่รัฐมีมาตรการลดเหลือ 86 บาท จะต้องทำยังไงถึงจะได้เงินคืน รวมถึงกรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 ด้วย
จากกรณีที่รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผู้ประกันตนในช่วงโควิด 19 กำลังระบาดอย่างหนัก สร้างความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ด้วยการลดอัตราการส่งเงินสมทบที่จัดเก็บผู้ประกันตนมาตรา 39 จากเดิมที่จ่าย 432 บาท เหลือเพียง 86 บาท เท่านั้น ขณะที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ก็ให้นายจ้างลดการส่งอัตราเงินสมทบจาก 5% เหลือเพียง 4% เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563
อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ประกันตนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ไม่ทราบข่าวนี้ และยังส่งเงินมาเต็มอัตราช่วง COVID-19 ก่อนที่จะทราบภายหลัง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ส่งเงินเกินไปแบบนี้จะทำยังไงต่อไป ?
เรื่องนี้ ทาง ประกันสังคม ก็มีคำตอบมาให้เรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน ดังนี้
กรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 ส่งเงินมาเต็มอัตรา 432 บาท
- ผู้ประกันต้นต้องยื่นคำขอรับเงินสมทบที่ส่งเกินไปภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ส่งเงินสมทบ และสามารถรับเงินคืนได้ในเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ที่ประกันสังคมแจ้งให้มารับเงิน
- วิธีการยื่นคำขอ ลงทะเบียนประกันสังคม ให้ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่นี่ได้เลย คลิก เป็นแบบฟอร์มคำขอรับเงินคืน สำหรับผู้ประกันตนโดยสมัครใจ พร้อมด้วยสำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์ สำเนาใบเสร็จรับเงิน
- สถานที่ยื่นคำขอรับเงินสมทบคืน สามารถยื่นผ่านไปรษณีย์ หรือยื่นผ่านทางสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
- ช่องทางการรับเงินคืน สามารถรับได้ 3 ช่องทาง คือ รับทางเช็คไปรษณีย์, รับทางธนาณัติ หรือรับโดยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
กรณีผู้ประกันตน มาตรา 33 ถูกนายจ้างหักเงินเอาไว้ 5%
- นายจ้างสามารถยื่นคำร้องขอเงินคืนได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ส่งเงินสมทบ และสามารถมารับเงินคืนได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ประกันสังคมแจ้งให้มารับเงิน
- วิธีการยื่นคำร้อง นายจ้างสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่นี่ได้เลย คลิก
- สถานที่ยื่นคำขอรับเงินสมทบคืน สามารถยื่นผ่านไปรษณีย์ หรือยื่นผ่านทางสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
- ช่องทางการรับเงินคืน มี 4 ช่องทาง ได้แก่ รับที่สำนักงานประกันสังคม, รับทางเช็คไปรษณีย์, รับทางธนาณัติ หรือรับโดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร (กรณีนายจ้าง การโอนเงินผ่านธนาคารโดย สปส.กทม.พื้นที่/จังหวัด/สาขา)
จากกรณีที่รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผู้ประกันตนในช่วงโควิด 19 กำลังระบาดอย่างหนัก สร้างความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ด้วยการลดอัตราการส่งเงินสมทบที่จัดเก็บผู้ประกันตนมาตรา 39 จากเดิมที่จ่าย 432 บาท เหลือเพียง 86 บาท เท่านั้น ขณะที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ก็ให้นายจ้างลดการส่งอัตราเงินสมทบจาก 5% เหลือเพียง 4% เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563
อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ประกันตนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ไม่ทราบข่าวนี้ และยังส่งเงินมาเต็มอัตราช่วง COVID-19 ก่อนที่จะทราบภายหลัง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ส่งเงินเกินไปแบบนี้จะทำยังไงต่อไป ?
เรื่องนี้ ทาง ประกันสังคม ก็มีคำตอบมาให้เรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน ดังนี้
กรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 ส่งเงินมาเต็มอัตรา 432 บาท
- ผู้ประกันต้นต้องยื่นคำขอรับเงินสมทบที่ส่งเกินไปภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ส่งเงินสมทบ และสามารถรับเงินคืนได้ในเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ที่ประกันสังคมแจ้งให้มารับเงิน
- วิธีการยื่นคำขอ ลงทะเบียนประกันสังคม ให้ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่นี่ได้เลย คลิก เป็นแบบฟอร์มคำขอรับเงินคืน สำหรับผู้ประกันตนโดยสมัครใจ พร้อมด้วยสำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์ สำเนาใบเสร็จรับเงิน
- สถานที่ยื่นคำขอรับเงินสมทบคืน สามารถยื่นผ่านไปรษณีย์ หรือยื่นผ่านทางสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
- ช่องทางการรับเงินคืน สามารถรับได้ 3 ช่องทาง คือ รับทางเช็คไปรษณีย์, รับทางธนาณัติ หรือรับโดยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
กรณีผู้ประกันตน มาตรา 33 ถูกนายจ้างหักเงินเอาไว้ 5%
- นายจ้างสามารถยื่นคำร้องขอเงินคืนได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ส่งเงินสมทบ และสามารถมารับเงินคืนได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ประกันสังคมแจ้งให้มารับเงิน
- วิธีการยื่นคำร้อง นายจ้างสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่นี่ได้เลย คลิก
- สถานที่ยื่นคำขอรับเงินสมทบคืน สามารถยื่นผ่านไปรษณีย์ หรือยื่นผ่านทางสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
- ช่องทางการรับเงินคืน มี 4 ช่องทาง ได้แก่ รับที่สำนักงานประกันสังคม, รับทางเช็คไปรษณีย์, รับทางธนาณัติ หรือรับโดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร (กรณีนายจ้าง การโอนเงินผ่านธนาคารโดย สปส.กทม.พื้นที่/จังหวัด/สาขา)
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่