Circuit Breaker คืออะไรในตลาดหุ้น ทำไมถึงต้องงัดมาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ มาใช้ เมื่อตลาดหุ้นไทยดิ่งลงเหว มาทำความเข้าใจกัน

เมื่อเกิดวิกฤตการณ์หุ้นร่วงลงอย่างหนัก ตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละประเทศจำเป็นต้องงัดมาตรการต่าง ๆ ออกมาใช้อย่างเร่งด่วน เพื่อจัดการกับความผันผวนของตลาดที่รุนแรง หนึ่งในนั้นก็คือ มาตรการ Circuit Breaker ที่มีใช้อยู่ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย ไต้หวัน รวมถึงประเทศไทย ซึ่งครั้งล่าสุดที่ไทยใช้มาตรการนี้ตรงกับช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 จนส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยร่วงลงไปถึง 10% ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
Circuit Breaker คืออะไร
Circuit Breaker คือ การที่ตลาดหลักทรัพย์จะหยุดทำการซื้อ-ขายโดยอัตโนมัติเป็นการชั่วคราว เมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวนรุนแรง และราคาหลักทรัพย์โดยรวมเปลี่ยนแปลงลดลงมาก เปรียบเสมือน "เบรกเกอร์" ที่จะตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟไหลเกินกำลัง ทั้งนี้ การหยุดพักซื้อ-ขายหลักทรัพย์ชั่วคราวก็เพื่อให้นักลงทุนมีเวลาในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างครบถ้วน ประเมินสถานการณ์อย่างมีเหตุผล ลดความตื่นตระหนกที่จะทำให้เทขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง

Circuit Breaker จะทำงานเมื่อไร
ก่อนหน้านี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แบ่งเกณฑ์ Circuit Breaker เป็น 2 ระดับ คือ เมื่อ SET Index ลดลงถึง 10% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้าตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อ SET Index ลดลงถึง 20% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้าตลาดหลักทรัพย์ จะต้องหยุดพักการซื้อ-ขาย 30-60 นาที
ต่อมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับเกณฑ์ใหม่ จาก 2 ระดับ เป็น 3 ระดับ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ดังนั้น เกณฑ์ Circuit Breaker ในปัจจุบันเป็นดังนี้
ครั้งที่ 1
เมื่อ SET Index ลดลงถึง 8% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้าตลาดหลักทรัพย์ จะพักการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นเวลา 30 นาที แล้วกลับมาซื้อ-ขายกันใหม่
ครั้งที่ 2
เมื่อ SET Index ลดลงถึง 15% (ลดลงอีก 7%) ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้าตลาดหลักทรัพย์ จะพักการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นเวลา 30 นาที แล้วกลับมาซื้อ-ขายกันใหม่
ครั้งที่ 3
เมื่อ SET Index ลดลงถึง 20% (ลดลงอีก 5%) ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้าตลาดหลักทรัพย์ จะพักการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นเวลา 60 นาที แล้วกลับมาซื้อ-ขายกันใหม่
อย่างไรก็ตาม หากเปิดตลาดครั้งที่ 3 แล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดให้ทำการซื้อ-ขายต่อไปจนถึงเวลาปิดทำการตามปกติโดยไม่มีการหยุดพักการซื้อ-ขายอีก ไม่ว่าดัชนีจะเป็นเท่าไหร่ก็ตาม
หากระยะเวลาในรอบการซื้อ-ขายที่ Circuit Breaker ทำงานนั้นเหลือไม่ถึง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็ให้หยุดพักการซื้อ-ขายเพียงระยะเวลาที่เหลือในรอบการซื้อ-ขายนั้น แล้วเปิดให้ซื้อ-ขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติในรอบการซื้อ-ขายถัดไป
ทั้งนี้ อาจมีบางช่วงเวลาที่หลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงต่างประเทศ (Cross-border Products) เปิดซื้อ-ขายไม่ตรงกันกับหลักทรัพย์อื่น ๆ เนื่องจากไม่มีช่วงเวลาพักการซื้อ-ขายระหว่างวัน (Non intermission)

ภาพจาก 1000 Words / Shutterstock.com
รู้ไหมว่า ตั้งแต่ที่เปิดตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2518 จนถึงปัจจุบัน ได้ผ่านการใช้มาตรการ Circuit Breaker มาแล้ว 6 ครั้ง คือ
หลังจากตลาดหุ้นไทยเปิดทำการมา 31 ปี ก็เจอกับ Circuit Breaker ครั้งแรกของตลาด เนื่องจากเมื่อเย็นวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการสำรอง 30% เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ทำให้นักลงทุนต่างชาติพากันเทขายหุ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ SET Index ร่วงลงถึง 142.63 จุด หรือ -19.52% ภายในวันเดียว ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์
ตลาดหุ้นไทยถูกถล่มขายอย่างหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) หรือ วิกฤตซับไพรม์ (Subprime Mortgage Crisis) ที่มีสาเหตุจากภาวะฟองสบู่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา จนลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจของทั่วโลก ทำให้ดัชนีลดลง 50.08 จุด หรือ -10.09%
ยังเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) หรือ วิกฤตซับไพรม์ (Subprime Mortgage Crisis) ซึ่งรอบนี้ทำให้ SET Index ลดลงไปอีก 45.44 จุด หรือ -10.50%
ด้วยปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว บวกกับการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (โควิด 19) ทั่วโลก และสงครามน้ำมันระหว่างซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ส่งผลให้ SET Index ที่เปิดตลาดทำการภาคบ่าย ร่วง 125.05 จุด หรือ -10% มาอยู่ที่ระดับ 1,124.84 จุด จนต้องปิดทำการเป็นเวลา 30 นาที ก่อนจะเปิดการซื้อ-ขายใหม่ และปิดตลาดตอนเย็นด้วยดัชนี 1,114.91 จุด ลดลงไปถึง 134.98 จุด หรือ -10.80%
SET Index ไทย ผ่านจุด Circuit Breaker มาแล้วกี่ครั้ง ?
รู้ไหมว่า ตั้งแต่ที่เปิดตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2518 จนถึงปัจจุบัน ได้ผ่านการใช้มาตรการ Circuit Breaker มาแล้ว 6 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 วันที่ 19 ธันวาคม 2549
หลังจากตลาดหุ้นไทยเปิดทำการมา 31 ปี ก็เจอกับ Circuit Breaker ครั้งแรกของตลาด เนื่องจากเมื่อเย็นวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการสำรอง 30% เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ทำให้นักลงทุนต่างชาติพากันเทขายหุ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ SET Index ร่วงลงถึง 142.63 จุด หรือ -19.52% ภายในวันเดียว ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์
ครั้งที่ 2 วันที่ 10 ตุลาคม 2551
ตลาดหุ้นไทยถูกถล่มขายอย่างหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) หรือ วิกฤตซับไพรม์ (Subprime Mortgage Crisis) ที่มีสาเหตุจากภาวะฟองสบู่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา จนลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจของทั่วโลก ทำให้ดัชนีลดลง 50.08 จุด หรือ -10.09%
ครั้งที่ 3 วันที่ 27 ตุลาคม 2551
ยังเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger) หรือ วิกฤตซับไพรม์ (Subprime Mortgage Crisis) ซึ่งรอบนี้ทำให้ SET Index ลดลงไปอีก 45.44 จุด หรือ -10.50%
ครั้งที่ 4 วันที่ 12 มีนาคม 2563
ด้วยปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว บวกกับการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (โควิด 19) ทั่วโลก และสงครามน้ำมันระหว่างซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ส่งผลให้ SET Index ที่เปิดตลาดทำการภาคบ่าย ร่วง 125.05 จุด หรือ -10% มาอยู่ที่ระดับ 1,124.84 จุด จนต้องปิดทำการเป็นเวลา 30 นาที ก่อนจะเปิดการซื้อ-ขายใหม่ และปิดตลาดตอนเย็นด้วยดัชนี 1,114.91 จุด ลดลงไปถึง 134.98 จุด หรือ -10.80%

ครั้งที่ 5 วันที่ 13 มีนาคม 2563
ตลาดหุ้นไทยยังคงโดนถล่มขายอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์โรค COVID-19 โดยครั้งนี้เปิดตลาดเพียงแค่นาทีเดียว SET Index ร่วงมาอยู่ที่ระดับ 1,003.39 จุด ปรับตัวลดลง 111.52 จุด หรือ -10% จนต้องประกาศใช้ Circuit Breaker อีกครั้ง นับเป็นครั้งแรกที่ตลาดหุ้นไทยประกาศใช้ Circuit Breaker 2 วันติดต่อกัน
ครั้งที่ 6 วันที่ 23 มีนาคม 2563
ต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ตลาดหุ้นไทยร่วงลดลงกว่า 90 จุด หรือมากกว่า 8% อีกครั้ง จึงต้องประกาศพักการซื้อ-ขายเป็นเวลา 30 นาที ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ใช้เกณฑ์ Circuit Breaker ใหม่
จะเห็นว่า Circuit Breaker เป็นเครื่องมือสำคัญในตลาดหุ้นไทยที่ถูกนำมาใช้เพื่อชะลอความร้อนแรงของการเทขายที่ทำให้ดัชนีผันผวนอย่างรุนแรง การหยุดซื้อ-ขายชั่วคราว อย่างน้อยจะช่วยให้นักลงทุนมีเวลาศึกษาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อประเมินสถานการณ์และตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง
บทความที่เกี่ยวข้องกับหุ้นไทย
- 7 เหตุการณ์ที่สุดตลาดหุ้นไทย บทเรียนสำคัญของนักลงทุน
- 3 สาเหตุที่ลงทุนในหุ้นแล้วไม่รวย ได้กำไรน้อย ขาดทุนเยอะ
- เล่นหุ้นเอง VS ซื้อกองทุนรวมหุ้น ชี้ชัด ๆ ทางเลือกไหนใช่สำหรับคุณ
- 7 วิธีเล่นหุ้นฉบับคนไม่มีเวลา มนุษย์เงินเดือนทำได้ ไม่ต้องนั่งเฝ้าจอทั้งวัน
- วิธีเล่นหุ้นด้วยตัวเอง มือใหม่เริ่มต้นหัดเล่นหุ้นต้องรู้เลย
- 3 สาเหตุที่ลงทุนในหุ้นแล้วไม่รวย ได้กำไรน้อย ขาดทุนเยอะ
- เล่นหุ้นเอง VS ซื้อกองทุนรวมหุ้น ชี้ชัด ๆ ทางเลือกไหนใช่สำหรับคุณ
- 7 วิธีเล่นหุ้นฉบับคนไม่มีเวลา มนุษย์เงินเดือนทำได้ ไม่ต้องนั่งเฝ้าจอทั้งวัน
- วิธีเล่นหุ้นด้วยตัวเอง มือใหม่เริ่มต้นหัดเล่นหุ้นต้องรู้เลย
ขอบคุณข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, หลักทรัพย์บัวหลวง, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์