ขาดทุนแล้วไม่กล้าตัดใจขายทิ้ง คิดว่าจะดีเหมือนในอดีตแม้สถานการณ์เปลี่ยนไป หรือลงทุนแล้วกำไรหน่อยเดียวก็เอา ถือเป็นพฤติกรรมที่นักลงทุนควรแก้ไข เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนมากยิ่งขึ้น
เชื่อว่านักลงทุนหลายคนยึดติดกับราคาที่เคยซื้อขายในอดีต โดยหวังว่าเดี๋ยวราคาก็จะกลับขึ้นไปเหมือนเดิม ถือเป็นอคติที่เกิดจากการยึดมั่นกับสิ่งที่เราเคยเจอมา ทั้งนี้ หากเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี แต่ถูกปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทมากระทบ เช่น ความกังวลของตลาดโดยรวม ก็คงไม่เป็นไร เพราะราคาหุ้นมีโอกาสกลับไปสะท้อนราคาพื้นฐานที่ควรเป็น
แต่ถ้าเกิดพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนไปคือ ร่วงแล้วร่วงเลย ไม่กลับฟื้นมาอีก สุดท้ายนักลงทุนมักทนต่อไม่ไหวและขายแถว ๆ ราคาที่ต่ำเกือบจะที่สุด คือ ราคานอนแน่นิ่งไปแล้วนั่นเอง ดังนั้น แนะนำให้ศึกษา พิจารณาก่อนว่า ราคาร่วงลงมาเป็นเพราะอะไร พื้นฐานเปลี่ยนไปหรือไม่ ถ้าร่วงเพราะพื้นฐานเปลี่ยนก็ควรตัดใจขายทิ้ง แต่ถ้าไม่ใช่ก็ให้ใจเย็น ๆ แล้วรอจังหวะเข้าเก็บ
3. ลงทุนแล้วกำไรหน่อยเดียวก็เอา
หลายคนลงทุนในลักษณะเคาะซื้อ เคาะขาย บ่อย ๆ แต่จริง ๆ แล้วคนที่ลงทุนแล้วรวยหรือประสบความสำเร็จมักอดทนพอที่จะถือยาวได้ อย่างกรณีของนักลงทุนท่านหนึ่งคือ เซอร์ จอห์น เทมเพิลตัน ซึ่งประสบความสำเร็จจากการลงทุนหลังกล้าเข้าซื้อหุ้นตอนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นตลาดหุ้นร่วงถึงขั้นเลือดสาดเต็มกระดาน โดยท่านใช้วิธีอดทนรอให้หุ้นขึ้นไปจนทำกำไร 300% ในเวลา 4 ปีแล้วค่อยขาย ซึ่งหากเป็นนักลงทุนอย่างเรา ๆ คงอดใจรอจนถึง 4 ปีไม่ได้แน่ ๆ ทำให้เสียโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
เมื่อรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้ลงทุนแล้วได้กำไรน้อย ขาดทุนเยอะ พร้อมกับแนวทางแก้ไขแล้ว ลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้ หรือถามตัวเองสักสองข้อว่า “หากหุ้นร่วงแรง ๆ ในภาวะที่ทุกอย่างดูเป็นวิกฤต เราจะกล้าเข้าซื้อไหม” และ “หากหุ้นขึ้นมาแล้ว เราจะอดทนรอให้กำไรงอกงามเต็มที่ก่อน โดยไม่ใจเร็วตัดขายก่อนไหม” หากตอบว่าไม่ใช่ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เราจะได้รู้ตัวเองและหาวิธีปรับแก้กันต่อไปเพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ขอให้ประสบความสำเร็จจากการลงทุนกันทุกคน
K-Expert Action
• ก่อนลงทุนในหุ้น ควรกันเงินไว้สำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
• เงินลงทุนในหุ้นควรถือลงทุนได้ระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นักลงทุนไม่ว่าจะมือเก่าหรือมือใหม่ บางครั้งอาจมีคำถามคาใจว่า “ทำไมลงทุนไปแล้วไม่รวยสักที” เวลาได้กำไรก็ได้เพียงหลักพัน แต่พอขาดทุนขึ้นมาแต่ละทีกลับเป็นหลักหมื่น
บางคนถึงกลับเครียด นอนไม่หลับไปหลายคืน จริง ๆ
แล้วสิ่งเหล่านี้เกิดจากอะไร และเราจะแก้ไขได้อย่างไร
เพื่อไม่ให้ลงทุนไปแล้วได้กำไรน้อย ขาดทุนเยอะ K-Expert มีคำตอบในเรื่องนี้มาฝาก
1. ขาดทุนแล้วไม่กล้าตัดใจขายทิ้ง
เมื่อเราลงทุนไปแล้วเกิดหุ้นตก ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง หลายคนขาดทุน แต่ก็ไม่กล้าตัดใจขายหุ้นทิ้งไป เปรียบเหมือนกับการที่เราซื้อตั๋วเข้าไปดูหนังที่คาดว่าจะสนุกสมกับที่รอคอยมานาน แต่พอฉายไปได้สักพักกลับพบว่าไม่สนุกเอาซะเลย คำถามคือ เราจะทำอย่างไรระหว่าง “ทนนั่งดูหนังต่อไป” หรือ “ตัดใจเดินออกจากโรงหนังตอนนั้นเลย”
คนส่วนใหญ่มักเลือกดูหนังต่อไปทั้ง ๆ ที่ไม่สนุกด้วยเหตุผลหลักคือเสียดายเงิน ซึ่งถือเป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเงินที่เราจ่ายไป เพราะอย่างไรเสียเราก็ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไปแล้ว ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ก็ตาม การที่เราทนนั่งในโรงหนังต่อไปก็แปลว่า เงินก้อนนั้นเราจ่ายไปเพื่อให้เกิดความทุกข์
ดังนั้น เมื่อคิดดูให้ดีแล้ว เราควรตัดใจเดินออกจากโรงหนังแล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นเพื่อให้ชีวิตเรามีความสุขมากกว่า การลงทุนก็เช่นกัน หากหุ้นตกและเห็นท่าไม่ดี ก็ควรตัดใจ เปลี่ยนไปหุ้นตัวอื่นที่มีแนวโน้มจะสร้างโอกาสใหม่ให้กับเราดีกว่า
1. ขาดทุนแล้วไม่กล้าตัดใจขายทิ้ง
เมื่อเราลงทุนไปแล้วเกิดหุ้นตก ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง หลายคนขาดทุน แต่ก็ไม่กล้าตัดใจขายหุ้นทิ้งไป เปรียบเหมือนกับการที่เราซื้อตั๋วเข้าไปดูหนังที่คาดว่าจะสนุกสมกับที่รอคอยมานาน แต่พอฉายไปได้สักพักกลับพบว่าไม่สนุกเอาซะเลย คำถามคือ เราจะทำอย่างไรระหว่าง “ทนนั่งดูหนังต่อไป” หรือ “ตัดใจเดินออกจากโรงหนังตอนนั้นเลย”
คนส่วนใหญ่มักเลือกดูหนังต่อไปทั้ง ๆ ที่ไม่สนุกด้วยเหตุผลหลักคือเสียดายเงิน ซึ่งถือเป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเงินที่เราจ่ายไป เพราะอย่างไรเสียเราก็ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไปแล้ว ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ก็ตาม การที่เราทนนั่งในโรงหนังต่อไปก็แปลว่า เงินก้อนนั้นเราจ่ายไปเพื่อให้เกิดความทุกข์
ดังนั้น เมื่อคิดดูให้ดีแล้ว เราควรตัดใจเดินออกจากโรงหนังแล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นเพื่อให้ชีวิตเรามีความสุขมากกว่า การลงทุนก็เช่นกัน หากหุ้นตกและเห็นท่าไม่ดี ก็ควรตัดใจ เปลี่ยนไปหุ้นตัวอื่นที่มีแนวโน้มจะสร้างโอกาสใหม่ให้กับเราดีกว่า
2. คิดว่าจะต้องกลับมาดีเหมือนในอดีตแม้สถานการณ์เปลี่ยนไป
แต่ถ้าเกิดพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนไปคือ ร่วงแล้วร่วงเลย ไม่กลับฟื้นมาอีก สุดท้ายนักลงทุนมักทนต่อไม่ไหวและขายแถว ๆ ราคาที่ต่ำเกือบจะที่สุด คือ ราคานอนแน่นิ่งไปแล้วนั่นเอง ดังนั้น แนะนำให้ศึกษา พิจารณาก่อนว่า ราคาร่วงลงมาเป็นเพราะอะไร พื้นฐานเปลี่ยนไปหรือไม่ ถ้าร่วงเพราะพื้นฐานเปลี่ยนก็ควรตัดใจขายทิ้ง แต่ถ้าไม่ใช่ก็ให้ใจเย็น ๆ แล้วรอจังหวะเข้าเก็บ
3. ลงทุนแล้วกำไรหน่อยเดียวก็เอา
หลายคนลงทุนในลักษณะเคาะซื้อ เคาะขาย บ่อย ๆ แต่จริง ๆ แล้วคนที่ลงทุนแล้วรวยหรือประสบความสำเร็จมักอดทนพอที่จะถือยาวได้ อย่างกรณีของนักลงทุนท่านหนึ่งคือ เซอร์ จอห์น เทมเพิลตัน ซึ่งประสบความสำเร็จจากการลงทุนหลังกล้าเข้าซื้อหุ้นตอนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นตลาดหุ้นร่วงถึงขั้นเลือดสาดเต็มกระดาน โดยท่านใช้วิธีอดทนรอให้หุ้นขึ้นไปจนทำกำไร 300% ในเวลา 4 ปีแล้วค่อยขาย ซึ่งหากเป็นนักลงทุนอย่างเรา ๆ คงอดใจรอจนถึง 4 ปีไม่ได้แน่ ๆ ทำให้เสียโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
เมื่อรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้ลงทุนแล้วได้กำไรน้อย ขาดทุนเยอะ พร้อมกับแนวทางแก้ไขแล้ว ลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้ หรือถามตัวเองสักสองข้อว่า “หากหุ้นร่วงแรง ๆ ในภาวะที่ทุกอย่างดูเป็นวิกฤต เราจะกล้าเข้าซื้อไหม” และ “หากหุ้นขึ้นมาแล้ว เราจะอดทนรอให้กำไรงอกงามเต็มที่ก่อน โดยไม่ใจเร็วตัดขายก่อนไหม” หากตอบว่าไม่ใช่ข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองข้อก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เราจะได้รู้ตัวเองและหาวิธีปรับแก้กันต่อไปเพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ขอให้ประสบความสำเร็จจากการลงทุนกันทุกคน
K-Expert Action
• ก่อนลงทุนในหุ้น ควรกันเงินไว้สำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
• เงินลงทุนในหุ้นควรถือลงทุนได้ระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก