ถ้าใครอยากรู้ว่าการเล่นหุ้นด้วยตัวเองกับการเอาเงินไปซื้อกองทุนรวม แล้วมีคนบริหารจัดการให้หมดทุกอย่าง ทางเลือกไหนที่จะใช่สำหรับคุณที่สุด ลองมาดูการวิเคราะห์แบบฉากต่อฉากจากบทความต่อไปนี้
ก่อนอื่นเลย เราจะมาพิจารณาเงื่อนไขดังต่อไปนี้เพื่อดูว่าการลงทุนแบบไหนเหมาะกับตัวเราหรือให้ผลตอบแทนได้ดีที่สุด
เรามาเริ่มกันที่การลงทุนในหุ้นกันก่อนดีกว่า
ข้อดีอย่างหนึ่งของการเล่นหุ้นคือคุณสามารถเลือกลงทุนในธุรกิจที่คุณชอบได้
บนเงื่อนไขที่ว่าคุณมีทักษะการวิเคราะห์หุ้น มีความรู้ในการเลือกหุ้น
ซึ่งถ้าเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี และถือนานสัก 3-5 ปี
ก็น่าจะได้รับผลตอบแทนดีกว่ากองทุนแล้ว
ทั้งนี้ตามสถิติในรอบหลายปี การลงทุนซื้อหุ้นเองนั้นจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่เราต้องเป็นคนควบคุมการซื้อขายหุ้นด้วยตัวเอง หรือแม้กระทั่งว่าจะนำเงินไปลงทุนในหุ้นที่มีธุรกิจแบบไหน และการลงทุนในหุ้นก็มีความเสี่ยงสูงอยู่มาก ซึ่งตรงนี้เราก็ต้องยอมรับความเสี่ยงให้ได้
การลงทุนในกองทุนรวม
การลงทุนในกองทุนรวมคือการที่เรานำเงินไปให้ผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นมืออาชีพดูแล และผู้จัดการกองทุนก็จะนำเงินไปลงทุนในหลาย ๆ ลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละกองทุนจะกำหนดแนวทางการลงทุน และจะมีการจำกัดและควบคุมความเสี่ยง ทำให้ผลตอบแทนไม่สูงนักเพราะแปรผันตรงตามความเสี่ยง แต่ในบางกองทุนก็มีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ให้อีก เช่น กองทุน RMF, LTF ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สรุปสั้น ๆ ก็คือว่า การลงทุนในกองทุนรวมมีข้อดีคือ การซื้อกองทุนทำได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า มีมืออาชีพมาบริหารจัดการความเสี่ยงให้ แต่อาจจะแลกมาด้วยผลตอบแทนที่ไม่หวือหวามากนัก
เปรียบเทียบกันเป็นข้อ ๆ ว่าการลงทุนประเภทไหนจะใช่สำหรับคุณ
* ความง่ายในการเริ่มต้นลงทุน
การลงทุนในหุ้นจำเป็นจะต้องอาศัยความรู้ด้านการวิเคราะห์หุ้น ความเข้าใจเรื่องของเทรนด์ ความเป็นไปของตลาด รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ดังนั้นหากเป็นมือใหม่ที่ไม่มีความรู้อะไรเลย ก็จำเป็นต้องใช้ความอดทนในการศึกษาหาความรู้ที่จำเป็นสำหรับการลงทุน ซึ่งช่วงแรก ๆ ก็จะยากอยู่สักหน่อย
ในขณะที่การลงทุนผ่านกองทุนรวมนั้น ผู้ลงทุนไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้มากนัก เพราะเราเพียงแต่นำเงินไปซื้อกองทุน จากนั้นก็ให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนจัดการลงทุนให้ เราเพียงแต่ต้องเลือกกองทุนที่ดีและลงทุนในสิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการของเรา
* เวลาในการติดตามข่าวสาร
การลงทุนในหุ้นนั้นไม่ใช่ซื้อแล้วปล่อยปละละเลย เราจำเป็นที่จะต้องติดตามผลประกอบการของบริษัท ข่าวสารเกี่ยวกับหุ้น หรือแวดวงหุ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ ย้ำว่า สม่ำเสมอ เพราะมิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อพอร์ตการลงทุนของเราได้ (หุ้นตกมาก ๆ อาจขาดทุน)
ในขณะที่กองทุนนั้นจะมีคนคอยติดตามข่าวสาร และประเมินผลงานของบริษัทตลอดเวลา รวมถึงจะมีการสรุปภาพรวมของกองทุนให้ผู้ลงทุนทราบอยู่เสมอ จึงทำให้เรามีข้อมูลในการตัดสินใจซื้อ-ขายได้เป็นอย่างดี
* ความอิสระในการเลือกซื้อหุ้น
การลงทุนในหุ้นทำให้เรามีอิสระในการเลือกซื้อหุ้นตัวไหนก็ได้ตามที่ใจเราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นเล็กหรือหุ้นใหญ่ ความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำ และสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ตามต้องการ เช่น หากเห็นว่าเศรษฐกิจโลกช่วงนี้กำลังฟื้นตัว ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เราก็สามารถซื้อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันไว้ได้
แต่การลงทุนในกองทุนรวมมีความแตกต่างจากการลงทุนในหุ้นคือ กองทุนทุกกองทุนนั้นมีสิ่งที่เรียกว่า นโยบายกองทุน ซึ่งนโยบายกองทุนจะเป็นตัวกำหนดว่ากองทุนนั้นสามารถลงทุนในอะไรได้บ้างในสัดส่วนเท่าไร เราไม่สามารถเลือกตัวหุ้นที่ต้องการได้ เพราะทุกอย่างทางผู้จัดการกองทุนจะเป็นผู้กำหนด ดังนั้นการที่กองทุนจะเลือกซื้อหุ้นสักตัวหนึ่ง ก็จะต้องพิจารณาดูด้วยว่าเป็นไปตามนโยบายการลงทุนของกองทุนหรือไม่
* การกระจายความเสี่ยง
นักลงทุนในหุ้นสามารถเลือกกระจายความเสี่ยงด้วยวิธีการซื้อหุ้นหลาย ๆ ตัว แต่ถ้าเราทุนไม่หนาพอก็ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ตรงกันข้ามกับกองทุนรวมที่มีเงินทุนมาก (ระดมทุน) ถึงแม้ว่าตัวเรา (ผู้ซื้อกองทุน) จะมีเงินน้อย แต่ทางผู้จัดการกองทุนจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนซื้อหุ้นหลาย ๆ ตัวได้อย่างไม่มีปัญหา
* โอกาสในการสร้างผลตอบแทน
ข้อนี้หลายคนอยากรู้เป็นพิเศษ เพราะเกี่ยวข้องกับเงินทองในกระเป๋าโดยตรง ซึ่งถ้าหากเรามีความรู้ในการวิเคราะห์หุ้น เลือกหุ้น เทรนด์ตลาด และมีเวลาในการติดตามผลงานและข้อมูลข่าวสารของบริษัท การลงทุนในหุ้นด้วยตัวเองนั้น มีโอกาสสูงที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนรวม แต่ทั้งนี้การลงทุนในหุ้นนั้นนับว่ามีความเสี่ยงที่จะขาดทุนอยู่สูงมาก ถ้าหากเราไม่ได้มีเวลาติดตามข่าวสารความเป็นไปของหุ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะต่างจากกองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลพอร์ตการลงทุนของกองทุนอยู่ตลอดเวลา โดยถ้าหากผู้จัดการกองทุนเริ่มเห็นท่าไม่ดี (หุ้นเริ่มตก) ผู้จัดการกองทุนจะทำการปรับพอร์ตการลงทุนให้มีความเหมาะสม ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการขาดทุน
ตารางเปรียบเทียบเงื่อนไขการลงทุนระหว่างหุ้นและกองทุนรวม
การลงทุนไม่ว่าจะหุ้น หรือ กองทุน ล้วนแต่มีข้อดีของแต่ละประเภทอยู่แล้ว
อยู่ที่ว่าผู้ลงทุนมีพื้นฐานปัจจัยต่าง ๆ
ที่เอื้อต่อการลงทุนมากน้อยเพียงใดก็พิจารณาตามที่ตนเองถนัด
ซึ่งก็น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคำถามที่ว่าการลงทุนประเภทใดดีกว่ากัน
เล่นหุ้นเอง กับ ซื้อกองทุนรวมหุ้น อันไหนดีกว่ากัน ?
คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตของคนที่เริ่มมีเงินเก็บ
และเริ่มสนใจเรื่องการลงทุนเพื่อให้เงินผลิดอกออกผลมากกว่าการฝากเงินในธนาคารแต่เพียงอย่างเดียว
แต่คำตอบก็คือไม่มีอะไรที่ดีที่สุด
เพราะแต่ละอย่างมีความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน
ดังนั้นวันนี้เราจะไปดูกันว่าเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วการลงทุนประเภทไหนให้ความคุ้มค่าและเหมาะสมกับพฤติกรรมของเรามากที่สุด
เรามาเริ่มกันที่การลงทุนในหุ้นกันก่อนดีกว่า
ทั้งนี้ตามสถิติในรอบหลายปี การลงทุนซื้อหุ้นเองนั้นจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่เราต้องเป็นคนควบคุมการซื้อขายหุ้นด้วยตัวเอง หรือแม้กระทั่งว่าจะนำเงินไปลงทุนในหุ้นที่มีธุรกิจแบบไหน และการลงทุนในหุ้นก็มีความเสี่ยงสูงอยู่มาก ซึ่งตรงนี้เราก็ต้องยอมรับความเสี่ยงให้ได้
การลงทุนในกองทุนรวม
การลงทุนในกองทุนรวมคือการที่เรานำเงินไปให้ผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นมืออาชีพดูแล และผู้จัดการกองทุนก็จะนำเงินไปลงทุนในหลาย ๆ ลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละกองทุนจะกำหนดแนวทางการลงทุน และจะมีการจำกัดและควบคุมความเสี่ยง ทำให้ผลตอบแทนไม่สูงนักเพราะแปรผันตรงตามความเสี่ยง แต่ในบางกองทุนก็มีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ให้อีก เช่น กองทุน RMF, LTF ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สรุปสั้น ๆ ก็คือว่า การลงทุนในกองทุนรวมมีข้อดีคือ การซื้อกองทุนทำได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า มีมืออาชีพมาบริหารจัดการความเสี่ยงให้ แต่อาจจะแลกมาด้วยผลตอบแทนที่ไม่หวือหวามากนัก
* ความง่ายในการเริ่มต้นลงทุน
การลงทุนในหุ้นจำเป็นจะต้องอาศัยความรู้ด้านการวิเคราะห์หุ้น ความเข้าใจเรื่องของเทรนด์ ความเป็นไปของตลาด รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ดังนั้นหากเป็นมือใหม่ที่ไม่มีความรู้อะไรเลย ก็จำเป็นต้องใช้ความอดทนในการศึกษาหาความรู้ที่จำเป็นสำหรับการลงทุน ซึ่งช่วงแรก ๆ ก็จะยากอยู่สักหน่อย
ในขณะที่การลงทุนผ่านกองทุนรวมนั้น ผู้ลงทุนไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้มากนัก เพราะเราเพียงแต่นำเงินไปซื้อกองทุน จากนั้นก็ให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนจัดการลงทุนให้ เราเพียงแต่ต้องเลือกกองทุนที่ดีและลงทุนในสิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการของเรา
* เวลาในการติดตามข่าวสาร
การลงทุนในหุ้นนั้นไม่ใช่ซื้อแล้วปล่อยปละละเลย เราจำเป็นที่จะต้องติดตามผลประกอบการของบริษัท ข่าวสารเกี่ยวกับหุ้น หรือแวดวงหุ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ ย้ำว่า สม่ำเสมอ เพราะมิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อพอร์ตการลงทุนของเราได้ (หุ้นตกมาก ๆ อาจขาดทุน)
ในขณะที่กองทุนนั้นจะมีคนคอยติดตามข่าวสาร และประเมินผลงานของบริษัทตลอดเวลา รวมถึงจะมีการสรุปภาพรวมของกองทุนให้ผู้ลงทุนทราบอยู่เสมอ จึงทำให้เรามีข้อมูลในการตัดสินใจซื้อ-ขายได้เป็นอย่างดี
* ความอิสระในการเลือกซื้อหุ้น
การลงทุนในหุ้นทำให้เรามีอิสระในการเลือกซื้อหุ้นตัวไหนก็ได้ตามที่ใจเราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นเล็กหรือหุ้นใหญ่ ความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำ และสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ตามต้องการ เช่น หากเห็นว่าเศรษฐกิจโลกช่วงนี้กำลังฟื้นตัว ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เราก็สามารถซื้อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันไว้ได้
แต่การลงทุนในกองทุนรวมมีความแตกต่างจากการลงทุนในหุ้นคือ กองทุนทุกกองทุนนั้นมีสิ่งที่เรียกว่า นโยบายกองทุน ซึ่งนโยบายกองทุนจะเป็นตัวกำหนดว่ากองทุนนั้นสามารถลงทุนในอะไรได้บ้างในสัดส่วนเท่าไร เราไม่สามารถเลือกตัวหุ้นที่ต้องการได้ เพราะทุกอย่างทางผู้จัดการกองทุนจะเป็นผู้กำหนด ดังนั้นการที่กองทุนจะเลือกซื้อหุ้นสักตัวหนึ่ง ก็จะต้องพิจารณาดูด้วยว่าเป็นไปตามนโยบายการลงทุนของกองทุนหรือไม่
* การกระจายความเสี่ยง
นักลงทุนในหุ้นสามารถเลือกกระจายความเสี่ยงด้วยวิธีการซื้อหุ้นหลาย ๆ ตัว แต่ถ้าเราทุนไม่หนาพอก็ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ตรงกันข้ามกับกองทุนรวมที่มีเงินทุนมาก (ระดมทุน) ถึงแม้ว่าตัวเรา (ผู้ซื้อกองทุน) จะมีเงินน้อย แต่ทางผู้จัดการกองทุนจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนซื้อหุ้นหลาย ๆ ตัวได้อย่างไม่มีปัญหา
* โอกาสในการสร้างผลตอบแทน
ข้อนี้หลายคนอยากรู้เป็นพิเศษ เพราะเกี่ยวข้องกับเงินทองในกระเป๋าโดยตรง ซึ่งถ้าหากเรามีความรู้ในการวิเคราะห์หุ้น เลือกหุ้น เทรนด์ตลาด และมีเวลาในการติดตามผลงานและข้อมูลข่าวสารของบริษัท การลงทุนในหุ้นด้วยตัวเองนั้น มีโอกาสสูงที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนรวม แต่ทั้งนี้การลงทุนในหุ้นนั้นนับว่ามีความเสี่ยงที่จะขาดทุนอยู่สูงมาก ถ้าหากเราไม่ได้มีเวลาติดตามข่าวสารความเป็นไปของหุ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะต่างจากกองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลพอร์ตการลงทุนของกองทุนอยู่ตลอดเวลา โดยถ้าหากผู้จัดการกองทุนเริ่มเห็นท่าไม่ดี (หุ้นเริ่มตก) ผู้จัดการกองทุนจะทำการปรับพอร์ตการลงทุนให้มีความเหมาะสม ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการขาดทุน
ตารางเปรียบเทียบเงื่อนไขการลงทุนระหว่างหุ้นและกองทุนรวม
เงื่อนไข | หุ้น | กองทุนรวม |
ความง่ายในการเริ่มต้นลงทุน |
x |
|
กรณีที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสาร | x | |
ความอิสระในการเลือกซื้อหุ้น | x |
|
การกระจายความเสี่ยงในกรณีที่มีเงินลงทุนไม่มาก | x |
|
โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูง | x |