เรียนรู้ชีวิต "แจ็ค หม่า" ในหลากหลายแง่มุม ตั้งแต่วัยเด็ก สู่จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจ จนกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับโลก เจ้าของอาลีบาบา ก่อนจะประกาศอำลาตำแหน่งประธานบริหารในวันครบรอบคล้ายวันเกิด 55 ปี กว่าที่จะประสบความสำเร็จขนาดนี้ เขาผ่านอะไรมาบ้าง
ชื่อของ "แจ็ค หม่า" (Jack Ma) โด่งดังไปทั่วทุกมุมโลก หลายคนรู้จักเขาในฐานะมหาเศรษฐี ผู้ก่อตั้งบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง "อาลีบาบา" ที่มีความโดดเด่นทั้งการทำธุรกิจ และเรื่องราวการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความน่าสนใจ จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก
และเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 แจ็ค หม่า ในวันครบรอบวันเกิด 55 ปี และครบรอบ 20 ปีของการก่อตั้งอาลีบาบา ได้ประกาศอำลาบทบาทประธานฝ่ายบริหารอาลีบาบา เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ กระปุกดอทคอม จึงอยากจะพาทุกคนย้อนไปดูกันว่า กว่าที่ชายคนนี้จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ เขาผ่านอะไรมาบ้าง มีวิธีคิดอย่างไร ถึงสามารถชนะอุปสรรคต่าง ๆ มาได้
ประวัติ แจ็ค หม่า กับชีวิตครอบครัวในวัยเด็ก
แจ็ค หม่า มีชื่อจริง ๆ ว่า "หม่า หยุน" เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2507 ในครอบครัวที่ไม่ได้มีฐานะดีอะไรมากนัก ในเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ช่วงวัยเด็กของเขาอาจไม่ได้ราบรื่นนัก เพราะเรียนไม่เก่ง ต้องซ้ำชั้นอนุบาลถึง 7 ปี และมักจะถูกเพื่อนที่โรงเรียนล้ออยู่เสมอ ด้วยความที่เป็นเด็กตัวเล็กกว่าคนอื่น
นอกจากนั้น เขายังแตกต่างจากเด็กทั่วไปที่ส่วนใหญ่มักใช้เวลาหมดไปกับการเที่ยวเล่น แต่เขากลับเลือกใช้เวลาทุกเช้าวันละ 40 นาที มุ่งมั่นไปกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยปั่นจักรยานไปยังโรงแรม เพื่อคุยกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเสนอตัวเป็นไกด์นำเที่ยว ทำให้เขาได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษทุก ๆ วันเป็นเวลาถึง 9 ปี จนชำนาญการใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งชื่อภาษาอังกฤษ "Jack" ของเขาก็มาจากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ตั้งให้เพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียงและสื่อสาร
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความรักและพยายามฝึกภาษาอังกฤษตลอดเวลา แต่เขาก็ไม่ใช่คนเรียนเก่งอะไรนัก โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ที่เขาไม่ถนัดเอาซะเลย จนทำให้พลาดการสอบเข้ามหาวิทยาลัยถึง 2 ครั้ง ก่อนที่สุดท้ายจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยครูหางโจวได้สำเร็จ
ล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน
หลังจากเรียนจบ แจ็ค หม่า ก็ได้ตระเวนหางานทำเหมือนกับคนอื่น ๆ ทั่วไป ซึ่งช่วงแรกของการหางาน เขาเคยโดนปฏิเสธมามากกว่า 30 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการโดนปฏิเสธจากร้าน KFC เคยสมัครเข้าเป็นตำรวจ จากผู้สมัครทั้งหมด 5 คน มีเขาคนเดียวที่ไม่ติด หรือแม้แต่เคยไปสมัครงานในโรงแรม พร้อมกับลูกพี่ลูกน้อง ซึ่งก็เป็นเขาอีกเหมือนเดิมที่ไม่ได้งาน แต่ลูกพี่ลูกน้องคนนั้นได้งานไป
เรียกได้ว่าชีวิตของ แจ็ค หม่า ในช่วงเริ่มต้นเต็มไปด้วยอุปสรรคและความล้มเหลวจนชิน แต่ถึงแม้เขาจะถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่านับไม่ถ้วน ก็ไม่เคยทำให้เขาหมดหวังและยังคงพยายามหางานต่อไป โดยเขาเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "การถูกปฏิเสธซ้ำ ๆ เป็นเหมือนบทเรียนของมหาวิทยาลัยในชีวิตจริงก็เท่านั้นเอง"
สุดท้ายเขาก็ได้งานแรกเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยหางโจวเตี้ยนจื่อ โดยได้รับเงินเดือนเพียง 500 บาท เขาเป็นครูอยู่ 5 ปี ก่อนที่จะตัดสินใจลาออก หลังจากที่ได้มีโอกาสเดินทางไปทำงานที่เมืองซีแอตเทิล สหรัฐฯ ในปี 2538 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดโลกใหม่ของ แจ็ค หม่า ให้ได้รู้จักกับอินเทอร์เน็ต จนเป็นไอเดียจุดประกายให้เขามองเห็นโอกาสทางธุรกิจ เพราะเมื่อเขาลองค้นหาในอินเทอร์เน็ต กลับพบว่าไม่ค่อยมีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับสินค้าจีนเลย ทั้งที่สินค้ามากมายที่ขายในอินเทอร์เน็ตล้วนผลิตจากจีนทั้งนั้น
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Alibaba Group
การเริ่มต้นการทำธุรกิจของ แจ็ค หม่า
เมื่อ แจ็ค หม่า กลับมาที่ประเทศจีน เขาจึงตัดสินใจลองทำธุรกิจเป็นครั้งแรก ด้วยการรวบรวมเงินจากกลุ่มเพื่อนมาได้ราว 6 แสนบาท ลงทุนร่วมกันเปิดเว็บไซต์ที่ชื่อว่า "China Yellow Pages" ขึ้นในเดือนเมษายน 2538 ที่มีคอนเซ็ปต์เป็นสมุดหน้าเหลืองออนไลน์ โดยการรวบรวมรายชื่อบริษัทและสินค้าต่าง ๆ ในจีน มาไว้ในเว็บไซต์
การมาของ China Yellow Pages ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดีในจีน เพราะเริ่มได้เพียง 3 ปี บริษัทก็ทำเงินได้กว่า 24 ล้านบาท โดยมีรัฐบาลเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย นับว่าเป็นจุดที่ทำให้หลายคนเริ่มมองเห็นแววการเป็นนักธุรกิจของเขาเลยก็ว่าได้ แต่สุดท้าย แจ็ค หม่า ก็ตัดสินใจเดินออกมาจากบริษัทที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง ด้วยการขายหุ้นทั้งหมดให้รัฐบาลจีน
ทั้งนี้ มีหลายคนมองว่าเหตุผลที่ แจ็ค หม่า เลือกจะออกมาจาก China Yellow Pages ทั้งที่ธุรกิจกำลังไปได้สวย เนื่องมาจากแนวคิดที่ไม่ตรงกันกับรัฐบาล โดยเขาต้องการที่จะให้จีนทำการค้าร่วมกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งขัดกับความคิดของรัฐบาลในเวลานั้น แต่ไม่ว่าจุดจบของเขากับ China Yellow Pages จะมาจากสาเหตุอะไร มันก็ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ "อาลีบาบา"
ภาพจาก JEWEL SAMAD / AFP
อาลีบาบา ธุรกิจที่เป็นจุดเปลี่ยนชีวิต แจ็ค หม่า
ในปี 2542 แจ็ค หม่า ตัดสินใจใช้เงินทุน 2 ล้านบาท ก่อตั้งบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ชื่อว่า "อาลีบาบา" (Alibaba) โดยนำชื่อมาจากนิทานเรื่องหนึ่ง เพื่อหวังให้เป็นเว็บไซต์ศูนย์กลางระหว่างผู้ผลิตและส่งออกสินค้าในจีนกับบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งช่วงเริ่มต้นของอาลีบาบา อาจไม่ได้สวยงามเหมือน China Yellow Pages นัก เพราะเต็มไปด้วยอุปสรรคต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของเงินทุน เพราะไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือเหล่านักลงทุน ต่างพากันมองว่า ธุรกิจนี้คงประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะไม่มีใครเชื่อว่าอีคอมเมิร์ซในจีนจะเกิดขึ้นได้จริง
แต่ด้วยความพยายามของ แจ็ค หม่า ทำให้ในปี 2543 อาลีบาบา ก็ได้รับเงินทุนจากต่างประเทศจำนวน 700 ล้านบาท จนเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้ธุรกิจเติบโตอย่างมาก เนื่องจากบริษัทได้นำเงินก้อนนี้ ไปพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีประสิทธิภาพขึ้นมา โดยเน้นไปที่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จนประสบความสำเร็จ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ในขณะที่ อาลีบาบา เติบโตในตลาด B2B อย่างต่อเนื่อง อีกด้านหนึ่ง เว็บไซต์ที่ให้บริการแบบ B2C อย่าง "eBay" จากสหรัฐฯ ก็กำลังเข้ามารุกตลาดจีนเป็นอย่างมากเช่นกัน ทำให้ในปี 2546 เขาตัดสินใจเปิดตัว "Taobao.com" เว็บไซต์ขายของออนไลน์สัญชาติจีน ขึ้นมาแข่ง
แจ็ค หม่า เคยเปรียบไว้ว่า "eBay เป็นเหมือนฉลามในมหาสมุทร แต่ Taobao เป็นจระเข้แห่งแม่น้ำแยงซี ดังนั้นเราจึงได้เปรียบอยู่แล้ว ถ้าสู้ในบ้านของตัวเอง" และก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เพราะแม้ในช่วงแรก ธุรกิจของ Taobao จะดำเนินไปอย่างราบเรียบ ไม่มีกำไร แต่หลังจากนั้นเพียง 3 ปี Taobao ก็พลิกโผขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาดเกินกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ eBay ที่เคยมีสัดส่วนผู้ใช้บริการมากถึง 70-80% ตัดสินใจยกธงขาวออกจากจีนในที่สุด เพราะไม่สามารถขยายฐานลูกค้าสู้ Taobao ได้ ซึ่งกลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงที่ทำให้ชื่อของ แจ็ค หม่า เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ปัจจุบันอาลีบาบา ได้ขยายธุรกิจไปมากมาย ไม่เพียงแต่ Taobao เท่านั้น เพราะยังมีระบบชำระเงินออนไลน์อย่าง AliPay ที่มีผู้ใช้กว่า 1 พันล้านบัญชี รวมถึง Tmall.com เว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่จับกลุ่มลูกค้าชั้นกลาง ธุรกิจ Social Network อย่าง Weibo และ Youku Tudou ซึ่งเปรียบเสมือน Twitter และ Youtube ในจีน และธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งให้บริการคลาวด์, โลจิสติกส์, สโมสรฟุตบอลกว่างโจว เอเวอร์แกรนด์ และสื่อสิ่งพิมพ์เซาท์ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ ของฮ่องกง
หรือแม้แต่เว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดังอย่าง Lazada ก็โดนอาลีบาบาของเขาซื้อไปด้วยมูลค่ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ แจ็ค หม่า เป็นเจ้าของ Lazada ในทุกประเทศที่เปิดดำเนินการอยู่ ทั้งอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม และไทย เรียกได้ว่าวันนี้เขาทำให้อาลีบาบาโตอย่างมหาศาล เมื่อเทียบกับจุดเริ่มต้นที่ใช้เงินทุนเพียง 2 ล้านบาท
ภาพจาก mamaknews.com
แจ็ค หม่า ซื้อหุ้นจาก KFC
อย่างที่บอกไปว่า แจ็ค หม่า มีประสบการณ์การถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่า และหนึ่งในงานที่เขาน่าจะจดจำได้ดีที่สุด คงหนีไม่พ้นการสัมภาษณ์งานในร้าน KFC ที่มีผู้สมัคร 24 คน และมีเขาเพียงคนเดียวที่ถูกปฏิเสธ
"ผมเดินหางานในตอนนั้น รวมถึงสมัครทำงานกับ KFC ด้วย มีผู้สมัครทั้งหมด 24 คน แต่กลับกลายเป็นว่าทุกคนผ่านหมด มีผมคนเดียวที่ถูกปฏิเสธรับเข้าทำงาน" แจ็ค หม่า เผยความในใจ
แต่ใครจะคิดว่าตอนนี้เขาจะกลายเป็นเจ้าของ KFC ในประเทศจีนไปซะแล้ว ด้วยการทุ่มเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ซื้อกิจการ Yum Brands บริษัทแม่ของ KFC และ Pizza Hut สาขาในจีน จนหลายคนต่างแซวกันว่านี่เป็นการล้างแค้นของแจ็ค หม่า แน่ ๆ เลย
- แจ็ค หม่า ซื้อกิจการ KFC จีนเรียบร้อย หลังสมัยหนุ่ม KFC ไม่รับเข้าทำงาน
ภาพจาก JEWEL SAMAD / AFP
ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีระดับโลก
ชื่อเสียงของ แจ็ค หม่า เริ่มโด่งดังไปทั่วโลก หลังจากที่เขาได้นำอาลีบาบา หรือในชื่อหุ้น BABA เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น New York City ในเดือนกันยายน 2557 เพราะกลายเป็นการระดมทุนที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกในขณะนั้น ด้วยมูลค่ากว่า 7.8 แสนล้านบาท ทำให้ในปีเดียวกันนั้นเอง แจ็ค หม่า ขึ้นแท่นคนที่รวยที่สุดในจีนได้สำเร็จ ด้วยทรัพย์สินรวมกว่า 6 แสนล้านบาท
จนกระทั่งในปี 2559 แจ็ค หม่า ก็มีทรัพย์สินเพิ่มไปแตะระดับ 1 ล้านล้านบาทได้สำเร็จ จนกลายเป็นคนที่รวยที่สุดของเอเชียในตอนนั้น และจากการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดในโลกของ Forbes ล่าสุดในปี 2562 แจ็ค หม่า ได้ติดอันดับที่ 21 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่มากถึง 38,000 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๆ 1.2 ล้านล้านบาท ต้องบอกเลยว่าชายคนนี้รวยขึ้นทุก ๆ ปีจริง ๆ
การลงทุนในไทยของ แจ็ค หม่า
ธุรกิจของ แจ็ค หม่า ไม่ได้ยิ่งใหญ่เฉพาะในแผ่นดินจีนเท่านั้น แต่ได้ขยายการลงทุนไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่ทางกลุ่มอาลีบาบา ก็ได้เข้ามาลงทุนในหลากหลายธุรกิจ ทั้งกับภาครัฐและเอกชน
สำหรับธุรกิจเด่น ๆ ของกลุ่มอาลีบาบา ที่เข้ามาลงทุนกับเอกชนไทย ก็อย่างเช่น บริการนำเข้า-ส่งออกสินค้าให้กับตัวแทนจำหน่ายในไทยและจีน, ระบบชำระเงิน Alipay ให้บริการร่วมกับสถาบันการเงินไทยหลายแห่ง, เปิดบริการ Alibaba Cloud, แพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยว ฟลิกกี้ (Fliggy) และร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้า ให้ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ
- เปิดอาณาจักร "แจ็ค หม่า" กับ 5 ธุรกิจ Alibaba ในไทย
และล่าสุดที่เรียกเสียงฮือฮาอย่างมากเมื่อ แจ็ค หม่า เดินทางมาที่ประเทศไทย พร้อมจับมือกับรัฐบาลไทย ลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีโครงการสำคัญที่หลายฝ่ายจับตามอง ก็คือการลงทุนพัฒนาศูนย์ Smart Digital Hub ที่มูลค่าเงินลงทุนสูงถึง 11,000 ล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าน่าจะเป็นการจุดกระแสธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยให้เติบโตได้อีกมากเลยทีเดียว
แจ็ค หม่า เศรษฐีใจบุญ ยิ่งให้ยิ่งรวย
ไม่เพียงแค่ความสามารถในการสร้างธุรกิจให้ใหญ่โตเท่านั้น แต่ แจ็ค หม่า ยังเป็นที่ยอมรับในเรื่องของการแบ่งปันเพื่อสังคม โดยเขาเคยได้รับการจัดอันดับเป็นบุคคลที่ใจบุญที่สุดของจีน ประจำปี 2558 จากการที่เขาบริจาคหุ้นอาลีบาบา 2% หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ก่อตั้งกองทุนและมูลนิธิที่มีเป้าหมายแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการศึกษา และสุขภาพประชาชนจีน ฮ่องกง และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ ในทุก ๆ ปี แจ็ค หม่า จะนำกำไร 0.3% ของอาลีบาบา บริจาคเพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม และเขายังช่วยเหลือการกุศลด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กรุ่นใหม่ ช่วยพัฒนาระบบการศึกษาในพื้นที่ชนบทของจีน รวมถึงบริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลในบ้านเกิด
ภาพจาก FABRICE COFFRINI/AFP
รางวัลแห่งความสำเร็จ
ความสามารถของ แจ็ค หม่า เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก การันตีได้จากการคว้ารางวัลมากมายทั้งในประเทศจีนและระดับโลก และเมื่อมีการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดในโลก เราก็มักจะเห็นชื่อของ แจ็ค หม่า ติดทำเนียบอยู่เสมอ โดยในปี 2552 แจ็ค หม่า ก็ได้รับการยอมรับจากนิตยสาร Forbes China ให้เป็นนักธุรกิจจีนที่ได้รับความเชื่อถือสูงสุด 10 อันดับแรก
ประกาศวางมือ ปูทางให้คนรุ่นใหม่
แจ็ค หม่า ได้เคยประกาศอย่างชัดเจนว่าเขาจะค่อย ๆ ลดบทบาทของตัวเองในการบริหาร Alibaba พร้อมเปิดทางให้คนรุ่นใหม่เข้ามาแสดงความสามารถมากขึ้น โดยเขาจะยังคงทำหน้าที่ประธานบริษัท Alibaba ต่อไปอีกเพียง 1 ปี จนถึงวันที่ 10 กันยายน 2562 เพื่อเปิดโอกาสให้ แดเนียล จาง (Daniel Zhang) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ขึ้นมารับช่วงต่อ และตัวเขาเองก็มีแผนที่จะอุทิศเวลาให้กับมูลนิธิการกุศลที่เขาก่อตั้ง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูประบบการศึกษาในประเทศจีน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท
ภาพจาก STR / AFP
ใครจะไปคิดว่า จากเด็กธรรมดาคนหนึ่งที่เริ่มจากศูนย์ เรียนก็ไม่เก่ง สมัครงานที่ไหนก็มักเจอแต่คำปฏิเสธ แต่ด้วยความพยายามที่ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรค การมีครอบครัวที่ดีคอยหนุนหลัง ภรรยาที่เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันเขาตั้งแต่วันที่ไม่มีอะไร จนประสบความสำเร็จ เป็นต้นแบบการใช้ชีวิตให้กับคนทั่วโลกได้อย่างทุกวันนี้
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 10 กันยายน 2562
ภาพจาก STR / AFP
ชื่อของ "แจ็ค หม่า" (Jack Ma) โด่งดังไปทั่วทุกมุมโลก หลายคนรู้จักเขาในฐานะมหาเศรษฐี ผู้ก่อตั้งบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง "อาลีบาบา" ที่มีความโดดเด่นทั้งการทำธุรกิจ และเรื่องราวการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความน่าสนใจ จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก
และเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 แจ็ค หม่า ในวันครบรอบวันเกิด 55 ปี และครบรอบ 20 ปีของการก่อตั้งอาลีบาบา ได้ประกาศอำลาบทบาทประธานฝ่ายบริหารอาลีบาบา เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ กระปุกดอทคอม จึงอยากจะพาทุกคนย้อนไปดูกันว่า กว่าที่ชายคนนี้จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ เขาผ่านอะไรมาบ้าง มีวิธีคิดอย่างไร ถึงสามารถชนะอุปสรรคต่าง ๆ มาได้
ประวัติ แจ็ค หม่า กับชีวิตครอบครัวในวัยเด็ก
แจ็ค หม่า มีชื่อจริง ๆ ว่า "หม่า หยุน" เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2507 ในครอบครัวที่ไม่ได้มีฐานะดีอะไรมากนัก ในเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ช่วงวัยเด็กของเขาอาจไม่ได้ราบรื่นนัก เพราะเรียนไม่เก่ง ต้องซ้ำชั้นอนุบาลถึง 7 ปี และมักจะถูกเพื่อนที่โรงเรียนล้ออยู่เสมอ ด้วยความที่เป็นเด็กตัวเล็กกว่าคนอื่น
นอกจากนั้น เขายังแตกต่างจากเด็กทั่วไปที่ส่วนใหญ่มักใช้เวลาหมดไปกับการเที่ยวเล่น แต่เขากลับเลือกใช้เวลาทุกเช้าวันละ 40 นาที มุ่งมั่นไปกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยปั่นจักรยานไปยังโรงแรม เพื่อคุยกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเสนอตัวเป็นไกด์นำเที่ยว ทำให้เขาได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษทุก ๆ วันเป็นเวลาถึง 9 ปี จนชำนาญการใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งชื่อภาษาอังกฤษ "Jack" ของเขาก็มาจากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ตั้งให้เพื่อให้ง่ายต่อการออกเสียงและสื่อสาร
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความรักและพยายามฝึกภาษาอังกฤษตลอดเวลา แต่เขาก็ไม่ใช่คนเรียนเก่งอะไรนัก โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ที่เขาไม่ถนัดเอาซะเลย จนทำให้พลาดการสอบเข้ามหาวิทยาลัยถึง 2 ครั้ง ก่อนที่สุดท้ายจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยครูหางโจวได้สำเร็จ
ล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน
หลังจากเรียนจบ แจ็ค หม่า ก็ได้ตระเวนหางานทำเหมือนกับคนอื่น ๆ ทั่วไป ซึ่งช่วงแรกของการหางาน เขาเคยโดนปฏิเสธมามากกว่า 30 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการโดนปฏิเสธจากร้าน KFC เคยสมัครเข้าเป็นตำรวจ จากผู้สมัครทั้งหมด 5 คน มีเขาคนเดียวที่ไม่ติด หรือแม้แต่เคยไปสมัครงานในโรงแรม พร้อมกับลูกพี่ลูกน้อง ซึ่งก็เป็นเขาอีกเหมือนเดิมที่ไม่ได้งาน แต่ลูกพี่ลูกน้องคนนั้นได้งานไป
เรียกได้ว่าชีวิตของ แจ็ค หม่า ในช่วงเริ่มต้นเต็มไปด้วยอุปสรรคและความล้มเหลวจนชิน แต่ถึงแม้เขาจะถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่านับไม่ถ้วน ก็ไม่เคยทำให้เขาหมดหวังและยังคงพยายามหางานต่อไป โดยเขาเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "การถูกปฏิเสธซ้ำ ๆ เป็นเหมือนบทเรียนของมหาวิทยาลัยในชีวิตจริงก็เท่านั้นเอง"
สุดท้ายเขาก็ได้งานแรกเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยหางโจวเตี้ยนจื่อ โดยได้รับเงินเดือนเพียง 500 บาท เขาเป็นครูอยู่ 5 ปี ก่อนที่จะตัดสินใจลาออก หลังจากที่ได้มีโอกาสเดินทางไปทำงานที่เมืองซีแอตเทิล สหรัฐฯ ในปี 2538 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดโลกใหม่ของ แจ็ค หม่า ให้ได้รู้จักกับอินเทอร์เน็ต จนเป็นไอเดียจุดประกายให้เขามองเห็นโอกาสทางธุรกิจ เพราะเมื่อเขาลองค้นหาในอินเทอร์เน็ต กลับพบว่าไม่ค่อยมีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับสินค้าจีนเลย ทั้งที่สินค้ามากมายที่ขายในอินเทอร์เน็ตล้วนผลิตจากจีนทั้งนั้น
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Alibaba Group
เมื่อ แจ็ค หม่า กลับมาที่ประเทศจีน เขาจึงตัดสินใจลองทำธุรกิจเป็นครั้งแรก ด้วยการรวบรวมเงินจากกลุ่มเพื่อนมาได้ราว 6 แสนบาท ลงทุนร่วมกันเปิดเว็บไซต์ที่ชื่อว่า "China Yellow Pages" ขึ้นในเดือนเมษายน 2538 ที่มีคอนเซ็ปต์เป็นสมุดหน้าเหลืองออนไลน์ โดยการรวบรวมรายชื่อบริษัทและสินค้าต่าง ๆ ในจีน มาไว้ในเว็บไซต์
การมาของ China Yellow Pages ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดีในจีน เพราะเริ่มได้เพียง 3 ปี บริษัทก็ทำเงินได้กว่า 24 ล้านบาท โดยมีรัฐบาลเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย นับว่าเป็นจุดที่ทำให้หลายคนเริ่มมองเห็นแววการเป็นนักธุรกิจของเขาเลยก็ว่าได้ แต่สุดท้าย แจ็ค หม่า ก็ตัดสินใจเดินออกมาจากบริษัทที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง ด้วยการขายหุ้นทั้งหมดให้รัฐบาลจีน
ทั้งนี้ มีหลายคนมองว่าเหตุผลที่ แจ็ค หม่า เลือกจะออกมาจาก China Yellow Pages ทั้งที่ธุรกิจกำลังไปได้สวย เนื่องมาจากแนวคิดที่ไม่ตรงกันกับรัฐบาล โดยเขาต้องการที่จะให้จีนทำการค้าร่วมกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งขัดกับความคิดของรัฐบาลในเวลานั้น แต่ไม่ว่าจุดจบของเขากับ China Yellow Pages จะมาจากสาเหตุอะไร มันก็ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ "อาลีบาบา"
ภาพจาก JEWEL SAMAD / AFP
ในปี 2542 แจ็ค หม่า ตัดสินใจใช้เงินทุน 2 ล้านบาท ก่อตั้งบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ชื่อว่า "อาลีบาบา" (Alibaba) โดยนำชื่อมาจากนิทานเรื่องหนึ่ง เพื่อหวังให้เป็นเว็บไซต์ศูนย์กลางระหว่างผู้ผลิตและส่งออกสินค้าในจีนกับบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งช่วงเริ่มต้นของอาลีบาบา อาจไม่ได้สวยงามเหมือน China Yellow Pages นัก เพราะเต็มไปด้วยอุปสรรคต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของเงินทุน เพราะไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือเหล่านักลงทุน ต่างพากันมองว่า ธุรกิจนี้คงประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะไม่มีใครเชื่อว่าอีคอมเมิร์ซในจีนจะเกิดขึ้นได้จริง
แต่ด้วยความพยายามของ แจ็ค หม่า ทำให้ในปี 2543 อาลีบาบา ก็ได้รับเงินทุนจากต่างประเทศจำนวน 700 ล้านบาท จนเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้ธุรกิจเติบโตอย่างมาก เนื่องจากบริษัทได้นำเงินก้อนนี้ ไปพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีประสิทธิภาพขึ้นมา โดยเน้นไปที่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จนประสบความสำเร็จ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ในขณะที่ อาลีบาบา เติบโตในตลาด B2B อย่างต่อเนื่อง อีกด้านหนึ่ง เว็บไซต์ที่ให้บริการแบบ B2C อย่าง "eBay" จากสหรัฐฯ ก็กำลังเข้ามารุกตลาดจีนเป็นอย่างมากเช่นกัน ทำให้ในปี 2546 เขาตัดสินใจเปิดตัว "Taobao.com" เว็บไซต์ขายของออนไลน์สัญชาติจีน ขึ้นมาแข่ง
แจ็ค หม่า เคยเปรียบไว้ว่า "eBay เป็นเหมือนฉลามในมหาสมุทร แต่ Taobao เป็นจระเข้แห่งแม่น้ำแยงซี ดังนั้นเราจึงได้เปรียบอยู่แล้ว ถ้าสู้ในบ้านของตัวเอง" และก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เพราะแม้ในช่วงแรก ธุรกิจของ Taobao จะดำเนินไปอย่างราบเรียบ ไม่มีกำไร แต่หลังจากนั้นเพียง 3 ปี Taobao ก็พลิกโผขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาดเกินกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ eBay ที่เคยมีสัดส่วนผู้ใช้บริการมากถึง 70-80% ตัดสินใจยกธงขาวออกจากจีนในที่สุด เพราะไม่สามารถขยายฐานลูกค้าสู้ Taobao ได้ ซึ่งกลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงที่ทำให้ชื่อของ แจ็ค หม่า เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ปัจจุบันอาลีบาบา ได้ขยายธุรกิจไปมากมาย ไม่เพียงแต่ Taobao เท่านั้น เพราะยังมีระบบชำระเงินออนไลน์อย่าง AliPay ที่มีผู้ใช้กว่า 1 พันล้านบัญชี รวมถึง Tmall.com เว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่จับกลุ่มลูกค้าชั้นกลาง ธุรกิจ Social Network อย่าง Weibo และ Youku Tudou ซึ่งเปรียบเสมือน Twitter และ Youtube ในจีน และธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งให้บริการคลาวด์, โลจิสติกส์, สโมสรฟุตบอลกว่างโจว เอเวอร์แกรนด์ และสื่อสิ่งพิมพ์เซาท์ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ ของฮ่องกง
หรือแม้แต่เว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดังอย่าง Lazada ก็โดนอาลีบาบาของเขาซื้อไปด้วยมูลค่ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ แจ็ค หม่า เป็นเจ้าของ Lazada ในทุกประเทศที่เปิดดำเนินการอยู่ ทั้งอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม และไทย เรียกได้ว่าวันนี้เขาทำให้อาลีบาบาโตอย่างมหาศาล เมื่อเทียบกับจุดเริ่มต้นที่ใช้เงินทุนเพียง 2 ล้านบาท
ภาพจาก mamaknews.com
อย่างที่บอกไปว่า แจ็ค หม่า มีประสบการณ์การถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่า และหนึ่งในงานที่เขาน่าจะจดจำได้ดีที่สุด คงหนีไม่พ้นการสัมภาษณ์งานในร้าน KFC ที่มีผู้สมัคร 24 คน และมีเขาเพียงคนเดียวที่ถูกปฏิเสธ
"ผมเดินหางานในตอนนั้น รวมถึงสมัครทำงานกับ KFC ด้วย มีผู้สมัครทั้งหมด 24 คน แต่กลับกลายเป็นว่าทุกคนผ่านหมด มีผมคนเดียวที่ถูกปฏิเสธรับเข้าทำงาน" แจ็ค หม่า เผยความในใจ
แต่ใครจะคิดว่าตอนนี้เขาจะกลายเป็นเจ้าของ KFC ในประเทศจีนไปซะแล้ว ด้วยการทุ่มเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ซื้อกิจการ Yum Brands บริษัทแม่ของ KFC และ Pizza Hut สาขาในจีน จนหลายคนต่างแซวกันว่านี่เป็นการล้างแค้นของแจ็ค หม่า แน่ ๆ เลย
- แจ็ค หม่า ซื้อกิจการ KFC จีนเรียบร้อย หลังสมัยหนุ่ม KFC ไม่รับเข้าทำงาน
ภาพจาก JEWEL SAMAD / AFP
ชื่อเสียงของ แจ็ค หม่า เริ่มโด่งดังไปทั่วโลก หลังจากที่เขาได้นำอาลีบาบา หรือในชื่อหุ้น BABA เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น New York City ในเดือนกันยายน 2557 เพราะกลายเป็นการระดมทุนที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกในขณะนั้น ด้วยมูลค่ากว่า 7.8 แสนล้านบาท ทำให้ในปีเดียวกันนั้นเอง แจ็ค หม่า ขึ้นแท่นคนที่รวยที่สุดในจีนได้สำเร็จ ด้วยทรัพย์สินรวมกว่า 6 แสนล้านบาท
จนกระทั่งในปี 2559 แจ็ค หม่า ก็มีทรัพย์สินเพิ่มไปแตะระดับ 1 ล้านล้านบาทได้สำเร็จ จนกลายเป็นคนที่รวยที่สุดของเอเชียในตอนนั้น และจากการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดในโลกของ Forbes ล่าสุดในปี 2562 แจ็ค หม่า ได้ติดอันดับที่ 21 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่มากถึง 38,000 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๆ 1.2 ล้านล้านบาท ต้องบอกเลยว่าชายคนนี้รวยขึ้นทุก ๆ ปีจริง ๆ
การลงทุนในไทยของ แจ็ค หม่า
ธุรกิจของ แจ็ค หม่า ไม่ได้ยิ่งใหญ่เฉพาะในแผ่นดินจีนเท่านั้น แต่ได้ขยายการลงทุนไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่ทางกลุ่มอาลีบาบา ก็ได้เข้ามาลงทุนในหลากหลายธุรกิจ ทั้งกับภาครัฐและเอกชน
สำหรับธุรกิจเด่น ๆ ของกลุ่มอาลีบาบา ที่เข้ามาลงทุนกับเอกชนไทย ก็อย่างเช่น บริการนำเข้า-ส่งออกสินค้าให้กับตัวแทนจำหน่ายในไทยและจีน, ระบบชำระเงิน Alipay ให้บริการร่วมกับสถาบันการเงินไทยหลายแห่ง, เปิดบริการ Alibaba Cloud, แพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยว ฟลิกกี้ (Fliggy) และร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้า ให้ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ
- เปิดอาณาจักร "แจ็ค หม่า" กับ 5 ธุรกิจ Alibaba ในไทย
และล่าสุดที่เรียกเสียงฮือฮาอย่างมากเมื่อ แจ็ค หม่า เดินทางมาที่ประเทศไทย พร้อมจับมือกับรัฐบาลไทย ลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีโครงการสำคัญที่หลายฝ่ายจับตามอง ก็คือการลงทุนพัฒนาศูนย์ Smart Digital Hub ที่มูลค่าเงินลงทุนสูงถึง 11,000 ล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าน่าจะเป็นการจุดกระแสธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยให้เติบโตได้อีกมากเลยทีเดียว
แจ็ค หม่า เศรษฐีใจบุญ ยิ่งให้ยิ่งรวย
ไม่เพียงแค่ความสามารถในการสร้างธุรกิจให้ใหญ่โตเท่านั้น แต่ แจ็ค หม่า ยังเป็นที่ยอมรับในเรื่องของการแบ่งปันเพื่อสังคม โดยเขาเคยได้รับการจัดอันดับเป็นบุคคลที่ใจบุญที่สุดของจีน ประจำปี 2558 จากการที่เขาบริจาคหุ้นอาลีบาบา 2% หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ก่อตั้งกองทุนและมูลนิธิที่มีเป้าหมายแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการศึกษา และสุขภาพประชาชนจีน ฮ่องกง และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ ในทุก ๆ ปี แจ็ค หม่า จะนำกำไร 0.3% ของอาลีบาบา บริจาคเพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม และเขายังช่วยเหลือการกุศลด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กรุ่นใหม่ ช่วยพัฒนาระบบการศึกษาในพื้นที่ชนบทของจีน รวมถึงบริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลในบ้านเกิด
ภาพจาก FABRICE COFFRINI/AFP
รางวัลแห่งความสำเร็จ
ความสามารถของ แจ็ค หม่า เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก การันตีได้จากการคว้ารางวัลมากมายทั้งในประเทศจีนและระดับโลก และเมื่อมีการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดในโลก เราก็มักจะเห็นชื่อของ แจ็ค หม่า ติดทำเนียบอยู่เสมอ โดยในปี 2552 แจ็ค หม่า ก็ได้รับการยอมรับจากนิตยสาร Forbes China ให้เป็นนักธุรกิจจีนที่ได้รับความเชื่อถือสูงสุด 10 อันดับแรก
ยิ่งไปกว่านั้น เขายังกลายเป็นนักธุรกิจจีนคนแรกในรอบ 50 ปี ที่มีโอกาสอวดโฉมหน้าบนปกนิตยสาร Forbes ประจำเดือนเมษายน 2554 รวมถึงถูกจัดอันดับอยู่ใน 30 บุคคลแรกที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ประจำปี 2559 อีกด้วย
ประกาศวางมือ ปูทางให้คนรุ่นใหม่
แจ็ค หม่า ได้เคยประกาศอย่างชัดเจนว่าเขาจะค่อย ๆ ลดบทบาทของตัวเองในการบริหาร Alibaba พร้อมเปิดทางให้คนรุ่นใหม่เข้ามาแสดงความสามารถมากขึ้น โดยเขาจะยังคงทำหน้าที่ประธานบริษัท Alibaba ต่อไปอีกเพียง 1 ปี จนถึงวันที่ 10 กันยายน 2562 เพื่อเปิดโอกาสให้ แดเนียล จาง (Daniel Zhang) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ขึ้นมารับช่วงต่อ และตัวเขาเองก็มีแผนที่จะอุทิศเวลาให้กับมูลนิธิการกุศลที่เขาก่อตั้ง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูประบบการศึกษาในประเทศจีน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท
และเขาก็ได้ทำตามคำพูดจริง ๆ เมื่อในวันที่ 10 กันยายน 2562 ซึ่งตรงกับวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 55 ของเจ้าตัว และยังตรงกับวาระครบรอบ 20 ปีการก่อตั้งบริษัท "แจ็ค หม่า" ได้ขึ้นเวทีแสดงคอนเสิร์ตในแบบชาวร็อกพร้อมประกาศอำลาตำแหน่งประธานฝ่ายบริหาร ณ สำนักงานใหญ่ของอาลีบาบาที่เมืองหางโจวประเทศจีน
ภาพจาก STR / AFP
แจ็ค หม่า ให้เหตุผลที่เกษียณอายุก่อนกำหนดว่าเป็นเพราะต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่ เนื่องจากโลกใบนี้ยังมีความดีงาม ยังมีโอกาสอีกมากมาย และตัวเขาก็รักความตื่นเต้นที่จะแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายบริหารแล้ว แต่เขาก็ยังมีฐานะเป็นที่ปรึกษาอาวุโสในฐานะหุ้นส่วนของอาลีบาบา
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 10 กันยายน 2562