ส่องอาณาจักร "แจ็ค หม่า" ในเมืองไทย มาดูกันว่ากลุ่มอาลีบาบา มีธุรกิจอะไรบ้างที่ลงทุนในไทย และร่วมมือกับเอกชนรายใดบ้าง
สืบเนื่องจาก นายแจ็ค หม่า ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มอาลีบาบา (Alibaba Group) ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทย ในการผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยประกาศแผนการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี รวมถึงโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลและส่งเสริมบุคลากรไทยในการพัฒนาทักษะและขีดความสามารถด้านดิจิทัล-อีคอมเมิร์ซ (อ่านข่าว ชื่นมื่น...บิ๊กตู่ เปิดทำเนียบฯ ต้อนรับ แจ็ค หม่า หารือลงทุนในพื้นที่ EEC)
แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า ปัจจุบัน กลุ่มอาลีบาบา ยังได้ร่วมลงทุนกับบริษัทเอกชนไทยอีกหลายแห่งมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งเว็บไซต์ Money2Know ได้รวบรวมธุรกิจที่อาลีบาบาเข้ามาลงทุนในประเทศไทย มาให้ดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1. ธุรกิจนำเข้า ส่งของ สินค้าออนไลน์
กลุ่มอาลีบาบา ได้ร่วมลงทุนกับตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยจำนวนมาก เพื่อทำธุรกิจนำเข้า ส่งออกสินค้าออนไลน์ เช่น โรจนะ อีทัช, เรดดี้แพลนเน็ต, คราวน์ เทค แอดวานซ์ และสวัสดี กรุ๊ป โดยได้ขยายบริการสมาชิก Gold Supplier และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทย
2. ร่วมมือสถาบันการศึกษาให้ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ
นอกจากร่วมมือกับภาคธุรกิจแล้ว อาลีบาบายังร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อให้ความรู้นักศึกษาและผู้ประกอบการ เกี่ยวกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งถือว่าเป็นอีกแรงขับเคลื่อนในการยกระดับธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย
อีกทั้ง เมื่อเดือนเมษายน 2560 ได้ลงนามข้อตกลงสามฝ่ายกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสถาบันกลุ่มแม่น้ำโขง ในการสนับสนุนการพัฒนากลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย
3. บริการชำระเงิน อาลีเพลย์ (Alipay)
อาลีเพลย์ เป็นผู้ให้บริการชำระเงินในประเทศจีนและต่างประเทศ ได้เข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารชั้นนำในไทยหลายแห่ง รวมถึงผู้ให้บริการชำระเงินชั้นนำอื่น ๆ เพื่อให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนแก่ผู้ประกอบการไทย โดยเริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ล่าสุดอาลีเพลย์ได้เปิดให้บริการในไทยไปแล้วมากกว่า 10,000 จุดทั่วประเทศ โดยส่วนมากจะอยู่ในจุดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นหลัก
4. อาลีบาบา คลาวด์ (Alibaba Cloud)
อาลีบาบา คลาวด์ คือ ธุรกิจให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งครบวงจรสำหรับธุรกิจทั่วโลก โดยปัจจุบันอาลีบาบา คลาวด์ เป็น 1 ใน 3 ของผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งรายใหญ่ในไทย
5. เเพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยว ฟลิกกี้ (Fliggy)
ฟลิกกี้ เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ทางด้านการท่องเที่ยว ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน ผ่านผู้ประกอบการจำนวนมากในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้ ฟลิกกี้ ได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อผลักดันประเทศไทยให้เป็นจุดหมายสำคัญในการเดินทางท่องเที่ยวของชาวจีน
สำหรับธุรกิจไทยที่เข้าไปให้บริการบนแพลตฟอร์ม ฟลิกกี้ ของอาลีบาบา ก็มีทั้ง สายการบินไทย รวมถึงตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยวในประเทศไทย อย่างแม็กซ์ สมายล์ และโกลเด้นกูซ
จากธุรกิจทั้งหมดที่กลุ่มอาลีบาบา เข้ามาลงทุนในไทยนั้น ได้เพิ่มโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการไทยกว่า 50,000 ราย และยังเป็นการเพิ่มช่องทางธุรกิจจากนักท่องเที่ยวจีนอีกด้วย ซึ่งน่าสนใจว่า หลังจากที่อาลีบาบา ได้ทำการตกลงร่วมมือกับรัฐบาลไทยเรียบร้อยแล้ว จะส่งผลต่อการลงทุนในประเทศขนาดไหน และผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์จากจุดนี้มากน้อยเพียงใด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สืบเนื่องจาก นายแจ็ค หม่า ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มอาลีบาบา (Alibaba Group) ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทย ในการผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยประกาศแผนการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี รวมถึงโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลและส่งเสริมบุคลากรไทยในการพัฒนาทักษะและขีดความสามารถด้านดิจิทัล-อีคอมเมิร์ซ (อ่านข่าว ชื่นมื่น...บิ๊กตู่ เปิดทำเนียบฯ ต้อนรับ แจ็ค หม่า หารือลงทุนในพื้นที่ EEC)
แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า ปัจจุบัน กลุ่มอาลีบาบา ยังได้ร่วมลงทุนกับบริษัทเอกชนไทยอีกหลายแห่งมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งเว็บไซต์ Money2Know ได้รวบรวมธุรกิจที่อาลีบาบาเข้ามาลงทุนในประเทศไทย มาให้ดูกันว่ามีอะไรบ้าง
กลุ่มอาลีบาบา ได้ร่วมลงทุนกับตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยจำนวนมาก เพื่อทำธุรกิจนำเข้า ส่งออกสินค้าออนไลน์ เช่น โรจนะ อีทัช, เรดดี้แพลนเน็ต, คราวน์ เทค แอดวานซ์ และสวัสดี กรุ๊ป โดยได้ขยายบริการสมาชิก Gold Supplier และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทย
ภาพจาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
2. ร่วมมือสถาบันการศึกษาให้ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ
นอกจากร่วมมือกับภาคธุรกิจแล้ว อาลีบาบายังร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อให้ความรู้นักศึกษาและผู้ประกอบการ เกี่ยวกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งถือว่าเป็นอีกแรงขับเคลื่อนในการยกระดับธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย
อีกทั้ง เมื่อเดือนเมษายน 2560 ได้ลงนามข้อตกลงสามฝ่ายกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสถาบันกลุ่มแม่น้ำโขง ในการสนับสนุนการพัฒนากลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย
อาลีเพลย์ เป็นผู้ให้บริการชำระเงินในประเทศจีนและต่างประเทศ ได้เข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารชั้นนำในไทยหลายแห่ง รวมถึงผู้ให้บริการชำระเงินชั้นนำอื่น ๆ เพื่อให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนแก่ผู้ประกอบการไทย โดยเริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ล่าสุดอาลีเพลย์ได้เปิดให้บริการในไทยไปแล้วมากกว่า 10,000 จุดทั่วประเทศ โดยส่วนมากจะอยู่ในจุดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นหลัก
อาลีบาบา คลาวด์ คือ ธุรกิจให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งครบวงจรสำหรับธุรกิจทั่วโลก โดยปัจจุบันอาลีบาบา คลาวด์ เป็น 1 ใน 3 ของผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งรายใหญ่ในไทย
ฟลิกกี้ เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ทางด้านการท่องเที่ยว ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน ผ่านผู้ประกอบการจำนวนมากในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้ ฟลิกกี้ ได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อผลักดันประเทศไทยให้เป็นจุดหมายสำคัญในการเดินทางท่องเที่ยวของชาวจีน
สำหรับธุรกิจไทยที่เข้าไปให้บริการบนแพลตฟอร์ม ฟลิกกี้ ของอาลีบาบา ก็มีทั้ง สายการบินไทย รวมถึงตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยวในประเทศไทย อย่างแม็กซ์ สมายล์ และโกลเด้นกูซ
จากธุรกิจทั้งหมดที่กลุ่มอาลีบาบา เข้ามาลงทุนในไทยนั้น ได้เพิ่มโอกาสทางการค้าของผู้ประกอบการไทยกว่า 50,000 ราย และยังเป็นการเพิ่มช่องทางธุรกิจจากนักท่องเที่ยวจีนอีกด้วย ซึ่งน่าสนใจว่า หลังจากที่อาลีบาบา ได้ทำการตกลงร่วมมือกับรัฐบาลไทยเรียบร้อยแล้ว จะส่งผลต่อการลงทุนในประเทศขนาดไหน และผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์จากจุดนี้มากน้อยเพียงใด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก