เงินฝากปลอดภาษี คืออะไร
โดยปกติดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แต่สำหรับเงินฝากปลอดภาษีเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากประจำประเภทหนึ่งที่ได้รับการยกเว้น ดังนั้น หากฝากเงินครบตามเงื่อนไขที่กำหนดจะไม่ถูกหักภาษี
ทั้งนี้ เราสามารถเลือกฝากประจำปลอดภาษีได้ตั้งแต่ 24 เดือนเป็นต้นไป โดยบางธนาคารอาจมีแบบ 36 เดือน, 48 เดือน หรือ 60 เดือน ให้เลือกฝากด้วย สิ่งสำคัญก็คือ จะต้องฝากเงินเข้าบัญชีทุกเดือนติดต่อกันตามระยะเวลาที่เลือก โดยฝากเป็นจำนวนเท่ากัน เช่น หากเปิดบัญชีฝากเดือนละ 5,000 บาท ก็ต้องฝากทุกเดือน 5,000 บาท จนกว่าจะครบระยะเวลากำหนด
เงื่อนไขของเงินฝากปลอดภาษี
ก่อนเปิดบัญชีเงินฝากปลอดภาษี ผู้ฝากควรทราบข้อมูลต่อไปนี้
-
1 คน เปิดได้เพียง 1 บัญชีเท่านั้น โดยนับรวมทุกธนาคาร
-
ฝากขั้นต่ำ 500-1,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร) สูงสุดไม่เกิน 16,500-25,000 บาท/เดือน
-
ต้องฝากเงินในจำนวนเท่า ๆ กัน เดือนละ 1 ครั้ง (ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
-
สามารถฝากในวันที่เท่าไรของเดือนก็ได้ แต่ต้องฝากภายในวันสุดท้ายของเดือน
-
กรณีขาดฝากเกิน 2 ครั้ง ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ อาจจะไม่ได้รับดอกเบี้ยตามเงื่อนไขเงินฝากปลอดภาษี หรือได้รับดอกเบี้ยตามเดิม แต่จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร)
-
กรณีถอนหรือปิดบัญชีก่อน 3 เดือน จะไม่ได้รับดอกเบี้ย (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร)
-
ไม่สามารถถอนก่อนครบกำหนดได้ หากถอนก่อนครบกำหนดต้องปิดบัญชีเท่านั้น
-
จะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบเวลาที่กำหนด โดยโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ที่เป็นบัญชีคู่ฝาก
สำหรับใครที่กำลังมองหาบัญชีเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน ลองมาดูกันว่าชั่วโมงนี้ธนาคารไหนให้ดอกเบี้ยสูงสุด (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2567)
7 อันดับเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน
1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : อัตราดอกเบี้ย 2.90% ต่อปี
-
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว อ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 24 เดือน + 0.80% ต่อปี
-
เปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท/เดือน
-
เปิดรับฝากเฉพาะบุคคลธรรมดาอายุ 12 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
-
ฝากไม่เกิน 3 เดือน : ไม่ได้ดอกเบี้ย
-
ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบระยะเวลาฝาก : ได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดาขั้นต่ำสุดตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ฝาก และหักภาษี ณ ที่จ่าย
-
ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง : จะไม่สามารถฝากต่อได้ ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ตามประกาศของธนาคาร และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
-
เมื่อฝากครบกำหนดและไม่มาปิดบัญชีภายใน 1 เดือน (นับวันชนวัน) ธนาคารจะเปลี่ยนบัญชีเป็นเงินฝากประจำ 6 เดือน
* อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2567
2. ธนาคารไทยเครดิต : อัตราดอกเบี้ย 2.90% ต่อปี
-
อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.90% ต่อปี
-
เปิดบัญชีและฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (จำนวนเงินฝากโดยรวมตลอดระยะเวลาฝากต้องไม่เกิน 600,000 บาท
-
ฝากไม่เกิน 3 เดือน : ไม่ได้ดอกเบี้ย
-
ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบระยะเวลาฝาก : ได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ตามระยะเวลาที่ฝากไว้จริง และหักภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
-
ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง แล้วนำฝากต่อจนครบงวด : ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปลอดภาษี และหักภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
* อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2567
3. ธ.ก.ส. : อัตราดอกเบี้ย 2.80% ต่อปี
-
เปิดบัญชีและฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
-
เปิดบัญชีได้ตั้งแต่อายุ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
-
ฝากไม่เกิน 3 เดือน : ไม่ได้ดอกเบี้ย
-
ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบระยะเวลาฝาก : ได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ และหักภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
-
ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง : ไม่สามารถฝากต่อได้ และจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ โดยหักภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
* อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567
4. ธนาคารออมสิน : อัตราดอกเบี้ย 2.65% ต่อปี
เงื่อนไข
-
รับฝากตั้งแต่อายุ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันเปิดบัญชี
-
ฝากตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป และไม่เกิน 25,000 บาท/เดือน
-
ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 เดือน โดยระยะเวลาครบกําหนดจะเลื่อนออกไป รวมระยะเวลาการฝากไม่เกิน 26 เดือน
-
ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง จะไม่สามารถฝากต่อได้ จะต้องถอนปิดบัญชีเท่านั้น และจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเผื่อเรียก ณ วันถอนเงิน และหักภาษี ณ ที่จ่าย
* อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2566
ข้อมูลเพิ่มเติม : ธนาคารออมสิน
5. ธนาคารไทยพาณิชย์ : อัตราดอกเบี้ย 2.55-2.65% ต่อปี
- เงินฝากโบนัส/ระยะยาว 24 เดือน แบบมีสมุดคู่ฝาก อัตราดอกเบี้ย 2.55% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยลอยตัว)
- เงินฝากโบนัส/ระยะยาว 24 เดือน แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก เปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY อัตราดอกเบี้ย 2.65% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยลอยตัว)
- เปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท (ฝากเพิ่มขั้นละ 500 บาท) สูงสุด 25,000 บาท
- ฝากไม่เกิน 3 เดือน : ไม่ได้ดอกเบี้ย
- ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบระยะเวลาฝาก : ได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ขั้นต่ำสุดตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ถอน โดยธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ทบต้น
- ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง : ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากปลอดภาษี แต่จะไม่ได้ยกเว้นภาษีดอกเบี้ย
- ขาดฝากเกิน 4 ครั้ง : ไม่สามารถฝากต่อได้อีก ต้องมาถอนเงินและปิดบัญชีเท่านั้น หากไม่มาดำเนินการจะได้รับดอกเบี้ยต่ำสุดของเงินฝากออมทรัพย์ ณ วันที่ถอนเพื่อปิดบัญชี โดยคำนวณตามระยะเวลาการฝาก และดอกเบี้ยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
* อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2567
ข้อมูลเพิ่มเติม : ธนาคารไทยพาณิชย์
6. ธนาคารกรุงไทย : อัตราดอกเบี้ย 2.60% ต่อปี
- เงินฝาก Krungthai Zero Tax Max 24 เดือน อัตราดอกเบี้ยลอยตัว อ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 24 เดือน วงเงินต่ำสุด + 0.75%
- เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท/เดือน
- ฝากไม่เกิน 3 เดือน : ไม่ได้ดอกเบี้ย
- ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบระยะเวลาฝาก : ได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดาตามประกาศของธนาคาร ณ วันที่ฝาก และหักภาษี ณ ที่จ่าย
- ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง : จะไม่สามารถฝากต่อได้ ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ตามประกาศของธนาคาร และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
* อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2567
7. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) : อัตราดอกเบี้ย 2.60% ต่อปี
- เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท/เดือน
- จำนวนเงินฝากต้องเป็นเต็มหลัก 500 บาทเท่านั้น เช่น 2,500 บาท 6,000 บาท 10,500 บาท
- ฝากไม่เกิน 3 เดือน : ไม่ได้ดอกเบี้ย
- ฝากเกิน 3 เดือน แต่ไม่ครบระยะเวลาฝาก : ได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ ณ วันเปิดบัญชี และหักภาษี ณ ที่จ่าย
- ขาดฝากเกิน 2 ครั้ง : จะไม่สามารถฝากต่อได้ ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ ณ วันเปิดบัญชี และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
* อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
บทความที่เกี่ยวข้องกับเงินฝาก
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยเครดิต, ธ.ก.ส., ธนาคารออมสิน, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)