
วงเงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค คนละ 200-300 บาท/เดือน
ผู้มีสิทธิ์รับเงิน : ทุกคนที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ได้รับ 300 บาท/เดือน
- กลุ่มที่มีรายได้เกิน 30,000 บาท ได้รับ 200 บาท/เดือน
ค่ารถโดยสารสาธารณะ
ผู้มีสิทธิ์รับเงิน : ทุกคนที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้) แบ่งเป็น
- ค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า 500 บาท/เดือน (ใช้ชำระค่าโดยสารด้วยระบบ e-Ticket เฉพาะผู้ถือบัตรใน 7 จังหวัด คือ กทม., นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และนครปฐม)
- ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาท/เดือน
- ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาท/เดือน
วงเงินซื้อก๊าซหุงต้มสำหรับผู้ถือบัตรคนจนทั่วไป 100 บาท/3 เดือน
ผู้มีสิทธิ์รับเงิน : ทุกคนที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้)
วงเงินซื้อก๊าซหุงต้ม จากเดิม 55 บาท ต่อ 3 เดือน ปรับเพิ่มเป็น 100 บาท/3 เดือน สำหรับการซื้อก๊าซหุงต้มในเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 โดยใช้สำหรับเป็นส่วนลดในการซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการที่ได้รับเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องรูดบัตร EDC) หากไม่ได้ใช้สิทธิ์จะถูกตัดยอดเงินไป

เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุ 50-100 บาท
ผู้มีสิทธิ์รับเงิน : ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพเพิ่มเติม ตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2565 โดยจ่ายให้ในทุกวันที่ 15 ของเดือน ซึ่งได้รับอัตรา ดังนี้
-
ผู้สูงอายุที่มีรายได้ 0-30,000 บาทต่อปี ได้รับเงินช่วยเหลือ เดือนละ 100 บาท
-
ผู้สูงอายุที่มีรายได้ 30,001-100,000 บาทต่อปี ได้รับเงินช่วยเหลือ เดือนละ 50 บาท
เงินส่วนนี้สามารถใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการผ่านเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่อง EDC) หรือ แอปฯ ถุงเงินประชารัฐ ที่ร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น หรือร้านค้าประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และสามารถถอนเป็นเงินสดได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย หรือสาขาของธนาคารกรุงไทย

ค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาท/เดือน/ครัวเรือน
- กรณีใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วย/เดือน ติดต่อกัน 3 เดือน ให้ใช้สิทธิ์ค่าไฟฟ้าฟรี ตามมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบัน
- กรณีใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วย/เดือน ให้ใช้สิทธิ์ตามมาตรการนี้ในวงเงิน 315 บาท/ครัวเรือน/เดือน
- กรณีที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วย/เดือน ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้าเองทั้งหมด
ผู้มีสิทธิ์รับเงิน : ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้ลงทะเบียนรับสิทธิ์เรียบร้อย (ถ้าเคยลงทะเบียนแล้วสามารถใช้สิทธิ์ได้ทันที ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่)
วิธีลงทะเบียน
- ผู้ใช้ไฟฟ้าใน กทม., สมุทรปราการ, นนทบุรี ลงทะเบียนที่การไฟฟ้านครหลวง
- ผู้ใช้ไฟฟ้าในต่างจังหวัด ลงทะเบียนที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาท/เดือน/ครัวเรือน

- กรณีใช้น้ำประปา เกิน 100 บาท แต่ไม่เกิน 315 บาท จะได้รับการสนับสนุนในวงเงิน 100 บาท โดยส่วนเกินต้องชำระเอง
- กรณีใช้น้ำประปา เกิน 315 บาท ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าประปาเองทั้งหมด
ผู้มีสิทธิ์รับเงิน : ครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้ลงทะเบียนรับสิทธิ์เรียบร้อย (ถ้าเคยลงทะเบียนแล้วสามารถใช้สิทธิ์ได้ทันที ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่)
วิธีลงทะเบียน
- ผู้ใช้ประปาใน กทม., สมุทรปราการ, นนทบุรี ลงทะเบียนที่การประปานครหลวง
- ผู้ใช้ประปาในต่างจังหวัด ลงทะเบียนที่การประปาส่วนภูมิภาค

เงินช่วยเหลือผู้พิการ 200 บาท
ผู้มีสิทธิ์รับเงิน : เป็นผู้พิการที่อายุ 18 ปีขึ้นไป มีบัตรประจำตัวผู้พิการ และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเงินเบี้ยความพิการ เพิ่มอีก 200 บาท (จากเดิม 800 บาท) รวมเป็น 1,000 บาท/เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2565 โดยจะแบ่งจ่ายดังนี้
- 800 บาท : โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเหมือนเดิม ทุกวันที่ 10 ของเดือน
- เงินเพิ่มเติมอีก 200 บาท จากกองทุนประชารัฐ : จ่ายเข้ากระเป๋าเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเงินจะเข้าบัญชีวันที่ 22 ของทุกเดือน

ทั้งนี้ ผู้ที่เคยมีบัตรคนจนอยู่แล้วจะต้องสมัครใหม่ในเดือนสิงหาคมด้วย เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ผ่านเกณฑ์รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่ออัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
คุณสมบัติผู้ลงทะเบียนบัตรคนจนรอบใหม่ (เบื้องต้น)
-
สัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
-
ไม่เป็นบุคคลดังต่อไปนี้ ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขัง บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ฯ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
-
มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี
-
ครอบครัวของผู้ลงทะเบียนต้องมีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี
-
มีเงินฝาก สลาก พันธบัตรและตราสารหนี้ภาครัฐ ไม่เกิน 100,000 บาท
-
ครอบครัวของผู้ลงทะเบียนต้องมีทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/คน
-
ไม่มีบัตรเครดิต
-
ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ
-
ไม่มีประวัติการซื้อ-ขายหุ้น หรือหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์
-
ไม่มีวงเงินกู้ที่อยู่อาศัย เกิน 1.5 ล้านบาท
-
ไม่มีวงเงินกู้ยานพาหนะ เกิน 1 ล้านบาท
และหากใครเป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของบ้าน มีที่นา ไร่ สวน จะต้องมีพื้นที่ไม่เกินตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่กระทู้ข้างล่างนี้ พร้อมเช็กวิธีคำนวณรายได้เฉลี่ยครอบครัว
ขอบคุณข้อมูลจาก : รัฐบาลไทย, เฟซบุ๊ก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station, เฟซบุ๊ก กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department, กรุงเทพธุรกิจ