ส่องแนวทางเยียวยา 10 จังหวัดเคอร์ฟิว ช่วยเหลือกิจการที่กระทบ ลูกจ้างนายจ้างทั้งในและนอกประกันสังคม จ่อเพิ่มเงินเราชนะ-ม.33 เรารักกัน ส่วนคนละครึ่ง อาจไฟเขียวจ่ายเดลิเวอรี่ รอเสนอ ครม. วันนี้
ภาพจาก Forthis / Shutterstock.com
จากกรณี ศบค. มีคำสั่งการล็อกดาวน์พื้นที่ระบาด โควิด-19 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด เริ่มมีผลวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทำให้มีการห้ามออกนอกเคหสถานในเวลา 21.00-04.00 น. โดยบางกิจการถูกห้ามเปิด บางกิจการถูกลดเวลาเปิดนั้น
อ่านข่าว : ประกาศแล้ว เคอร์ฟิว กทม. - ปริมณฑล 3 ทุ่ม - ตี 4 จันทร์นี้ คุมเวลาเปิดร้าน ห้าง ตลาด
อ่านข่าว : ประกาศแล้ว เคอร์ฟิว กทม. - ปริมณฑล 3 ทุ่ม - ตี 4 จันทร์นี้ คุมเวลาเปิดร้าน ห้าง ตลาด
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า มาตรการที่จะเสนอให้กับ ครม. พิจารณาการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากประกาศ ศบค. ล่าสุด ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจและแรงงานก่อสร้าง ร้านอาหารและศิลปะ บันเทิง สันทนาการ หลังจากที่ ครม. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือสถานเสริมความงาม ร้านนวดเพื่อสุขภาพ สปา โดยแนวทางแบ่งเป็น
ภาพจาก SoLoKnight / Shutterstock.com
แรงงานในระบบประกันสังคม กลุ่มลูกจ้างจะได้รับเงิน 50% ของค่าแรง แต่ไม่เกิน 7,500 บาท
แรงงานสัญชาติไทยได้รับเงินพิเศษอีก 2,000 บาทต่อราย
กลุ่มนายจ้างหรือผู้ประกอบการได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อราย แต่ไม่เกิน 200 คน
ส่วนกิจการที่อยู่นอกระบบประกันสังคมก็จะได้รับความช่วยเหลือ โดยต้องยื่นลงทะเบียนกับระบบประกันสังคมภายใน 1 เดือน โดย
ลูกจ้างสัญชาติไทยได้รับเงินเยียวยาคนละ 2,000 บาท
นายจ้างได้รับความช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อคน แต่ไม่เกิน 200 คนเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม ครม. เคาะแจกเงิน 2,000 บาท ให้ลูกจ้าง ม.33 ใน 6 กิจการ ใครได้บ้าง ดูเลย
ขณะที่ สำนักข่าวไทย รายงานว่า มาตรการเยียวยาประชาชนเพิ่มเติมที่จะถูกเสนอต่อ ครม. เช่น การเพิ่มเงินในโครงการ เราชนะ / ม.33 เรารักกัน และอาจจะมีโครงการใหม่ออกมาเพิ่มเติม ส่วนโครงการ คนละครึ่งเฟส 3 ที่ไม่สามารถซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์หรือเดลิเวอรี่ได้นั้น กระทรวงการคลังเตรียมประชุมร่วมกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ เพื่อเปิดทางให้เข้าร่วมโครงการนี้ได้ ซึ่งจะช่วยลดค่าครองชีพแก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง รวมถึงการพิจารณามาตรการลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชน และกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี โดยวันนี้จะมีการแถลงรายละเอียดอีกครั้ง
ก่อนหน้านี้ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ ชี้แจงว่า งบประมาณที่จะนำมาใช้ในการเยียวยารอบนี้จะมาจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งการใช้งบประมาณอนุมัติโครงการต่าง ๆ ยืนยันว่าจะสามารถทำได้เร็ว เพื่อเยียวยาช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที สำหรับกรณีประกันสังคมก็สามารถจ่ายเยียวยาได้เลย ยกเว้นโครงการที่ต้องใช้เงินกู้ ต้องผ่านคณะกรรมการแล้วเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID 19<< ได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ, สำนักข่าวไทย