ธนาคารกรุงไทย ชี้แจงผู้ใช้แอปฯ เป๋าตัง หลังถูกวิจารณ์หากกดยินยอมจะมีการนำข้อมูลการใช้งานไปให้กลุ่มธุรกิจทางการเงิน และบริษัทในเครือของธนาคาร ย้ำข้อ 1-2 ไม่ยินยอมได้ แต่ข้อ 3 ต้องยินยอม
จากกรณีที่โซเชียลได้วิพากษ์วิจารณ์หลังจากที่เข้าใช้งานแอปพลิเคชัน เป๋าตัง เมื่อมีการอัปเดตแอปฯ เวอร์ชันล่าสุด (11.0.9) ซึ่งเมื่อเข้าแอปฯ จะพบกับนโยบายขอความยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้กดยินยอม 3 ข้อ ซึ่งมีข้อที่หากกดยินยอมจะมีการนำข้อมูลการใช้งานไปให้กลุ่มธุรกิจทางการเงิน และบริษัทในเครือของธนาคาร รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ และนิติบุคคลอื่น มีบริษัทภายนอก รวมถึงบริษัทประกันรวมอยู่ด้วย จึงถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสม เพราะผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นผู้เปิดบัญชีธนาคาร แต่เป็นผู้ใช้งานนโยบายเยียวยาของรัฐเท่านั้น
อ่านข่าว : แอปฯ เป๋าตัง เวอร์ชั่นล่าสุด ขอความยินยอมแชร์ข้อมูลให้พันธมิตร - ผู้ใช้งานแห่วิจารณ์สนั่น
วันที่ 7 มิถุนายน 2564 ธนาคารกรุงไทย แจ้งว่า จากกรณีที่ธนาคารได้อัพเดตแอปพลิเคชันเป๋าตัง เวอร์ชั่นล่าสุด โดยให้ผู้ใช้งานให้ความยินยอมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ธนาคารขอเรียนชี้แจงดังนี้
1. แอปฯ เป๋าตัง เวอร์ชั่นใหม่ กำหนดให้ผู้ใช้งาน "ให้ความยินยอม" เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในข้อ 1 และ ข้อ 2 ซึ่งเป็นการนำข้อมูลไปใช้ในการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร กลุ่มธุรกิจการเงินและพันธมิตร และนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ได้ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) โดยข้อมูลส่วนนี้ธนาคารใช้เพื่อวิเคราะห์ พัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานแอปฯ เป๋าตัง
อย่างไรก็ตาม หากผู้ใช้งาน "ไม่สะดวก" ให้ความยินยอม สามารถเลือก "ไม่ยินยอม" ได้ โดยไม่กระทบกับการใช้งานแอปฯ เป๋าตังแต่อย่างใด และธนาคารจะพัฒนาระบบเพื่อให้ผู้ใช้งานที่เลือกให้ความยินยอมไปแล้ว สามารถยกเลิกในส่วนนี้ได้ เพื่อลดความกังวลของผู้ใช้งาน
2. การให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลในข้อ 3 เพื่อใช้ในการตรวจสอบยืนยันตัวตนในการเข้าร่วมโครงการภาครัฐ ซึ่งมีอยู่ในแอปฯ เป๋าตัง เวอร์ชั่นเดิมอยู่แล้ว ส่วนนี้ผู้ใช้งานที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการภาครัฐ ควรพิจารณาเลือก "ให้ความยินยอม" เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบยืนยันตัวตนก่อนจะเข้าร่วมโครงการภาครัฐ เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ และทุจริตในโครงการภาครัฐ
สำหรับผู้ใช้งานที่ "ไม่ยินยอม" ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการภาครัฐได้ เพราะจะไม่สามารถทราบได้ว่าท่านคือบุคคลผู้มีสิทธิตามแต่ละเกณฑ์ของรัฐจริงหรือไม่
![แอปฯ เป๋าตัง แอปฯ เป๋าตัง]()
![แอปฯ เป๋าตัง แอปฯ เป๋าตัง]()
ขอบคุณข้อมูลจาก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station

จากกรณีที่โซเชียลได้วิพากษ์วิจารณ์หลังจากที่เข้าใช้งานแอปพลิเคชัน เป๋าตัง เมื่อมีการอัปเดตแอปฯ เวอร์ชันล่าสุด (11.0.9) ซึ่งเมื่อเข้าแอปฯ จะพบกับนโยบายขอความยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้กดยินยอม 3 ข้อ ซึ่งมีข้อที่หากกดยินยอมจะมีการนำข้อมูลการใช้งานไปให้กลุ่มธุรกิจทางการเงิน และบริษัทในเครือของธนาคาร รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ และนิติบุคคลอื่น มีบริษัทภายนอก รวมถึงบริษัทประกันรวมอยู่ด้วย จึงถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสม เพราะผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นผู้เปิดบัญชีธนาคาร แต่เป็นผู้ใช้งานนโยบายเยียวยาของรัฐเท่านั้น
อ่านข่าว : แอปฯ เป๋าตัง เวอร์ชั่นล่าสุด ขอความยินยอมแชร์ข้อมูลให้พันธมิตร - ผู้ใช้งานแห่วิจารณ์สนั่น

วันที่ 7 มิถุนายน 2564 ธนาคารกรุงไทย แจ้งว่า จากกรณีที่ธนาคารได้อัพเดตแอปพลิเคชันเป๋าตัง เวอร์ชั่นล่าสุด โดยให้ผู้ใช้งานให้ความยินยอมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ธนาคารขอเรียนชี้แจงดังนี้
1. แอปฯ เป๋าตัง เวอร์ชั่นใหม่ กำหนดให้ผู้ใช้งาน "ให้ความยินยอม" เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในข้อ 1 และ ข้อ 2 ซึ่งเป็นการนำข้อมูลไปใช้ในการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร กลุ่มธุรกิจการเงินและพันธมิตร และนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ได้ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) โดยข้อมูลส่วนนี้ธนาคารใช้เพื่อวิเคราะห์ พัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานแอปฯ เป๋าตัง
อย่างไรก็ตาม หากผู้ใช้งาน "ไม่สะดวก" ให้ความยินยอม สามารถเลือก "ไม่ยินยอม" ได้ โดยไม่กระทบกับการใช้งานแอปฯ เป๋าตังแต่อย่างใด และธนาคารจะพัฒนาระบบเพื่อให้ผู้ใช้งานที่เลือกให้ความยินยอมไปแล้ว สามารถยกเลิกในส่วนนี้ได้ เพื่อลดความกังวลของผู้ใช้งาน
2. การให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลในข้อ 3 เพื่อใช้ในการตรวจสอบยืนยันตัวตนในการเข้าร่วมโครงการภาครัฐ ซึ่งมีอยู่ในแอปฯ เป๋าตัง เวอร์ชั่นเดิมอยู่แล้ว ส่วนนี้ผู้ใช้งานที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการภาครัฐ ควรพิจารณาเลือก "ให้ความยินยอม" เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบยืนยันตัวตนก่อนจะเข้าร่วมโครงการภาครัฐ เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ และทุจริตในโครงการภาครัฐ
สำหรับผู้ใช้งานที่ "ไม่ยินยอม" ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการภาครัฐได้ เพราะจะไม่สามารถทราบได้ว่าท่านคือบุคคลผู้มีสิทธิตามแต่ละเกณฑ์ของรัฐจริงหรือไม่


ขอบคุณข้อมูลจาก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station