ที่ประชุม กกร. เผยมติเตรียมยื่นเรื่องเสนอรัฐบาล ในมาตรการฟื้นฟูเศรษกิจ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เร่งโครงการ คนละครึ่ง ให้เร็วขึ้น และเพิ่มเงินเป็น 6,000 บาท
วันที่ 19 พฤษภาคม 2564 TNN ONLINE รายงานว่า นายสุพันธ์ุ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกเดือนเมษายน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ และมีแนวโน้มมากกว่า 3
เดือน ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยช้ากว่าเดิม
ตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 2 และไตรมาส 3
โดยที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จึงมีมติปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี
2564 เป็นขยายตัวได้ในกรอบ 0.5-2.0 เปอร์เซ็นต์
จากเดิมคาดว่าโต 1.5-3 เปอร์เซ็นต์
เนื่องจากผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาดไว้ และจะมีการยื่นเรื่องขอให้ภาครัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจใน 4 เรื่อง ดังนี้…
1. เร่งฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย โดยปรับปรุงการสื่อสารกับประชาชนเพื่อลดความสับสน บริหารจัดการมาตรการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และเร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่ที่เป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ในไตรมาสที่ 4
2. เร่งผลักดัน พ.ร.ก.เงินกู้ 7 แสนล้านบาท เพื่อให้รัฐบาลมีเม็ดเงินเพียงพอในดำเนินโครงการด้านสาธารณสุข ด้านการเยียวยาชดเชยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ
3. เร่งรัดมาตรการช่วยเหลือด้านกำลังซื้อภาคประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะโครงการ คนละครึ่งเฟส 3 ให้เข้ามาพยุงกำลังซื้อได้ในเดือนมิถุนายน และให้พิจารณาเพิ่มวงเงินจาก 3,000 บาท เป็น 6,000 บาท
4. เสริมมาตรการดึงกำลังซื้อจากประชาชนที่มีเงินออม โดยสนับสนุนมาตรการนำรายจ่ายจากการซื้อสินค้าไปหักภาษีเงินได้ ในวงเงิน 30,000-50,000 บาทต่อราย เพื่อจูงใจให้ประชาชนในกลุ่มนี้นำเงินฝากมาใช้จ่าย
1. เร่งฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย โดยปรับปรุงการสื่อสารกับประชาชนเพื่อลดความสับสน บริหารจัดการมาตรการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และเร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่ที่เป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ในไตรมาสที่ 4
2. เร่งผลักดัน พ.ร.ก.เงินกู้ 7 แสนล้านบาท เพื่อให้รัฐบาลมีเม็ดเงินเพียงพอในดำเนินโครงการด้านสาธารณสุข ด้านการเยียวยาชดเชยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ
3. เร่งรัดมาตรการช่วยเหลือด้านกำลังซื้อภาคประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะโครงการ คนละครึ่งเฟส 3 ให้เข้ามาพยุงกำลังซื้อได้ในเดือนมิถุนายน และให้พิจารณาเพิ่มวงเงินจาก 3,000 บาท เป็น 6,000 บาท
4. เสริมมาตรการดึงกำลังซื้อจากประชาชนที่มีเงินออม โดยสนับสนุนมาตรการนำรายจ่ายจากการซื้อสินค้าไปหักภาษีเงินได้ ในวงเงิน 30,000-50,000 บาทต่อราย เพื่อจูงใจให้ประชาชนในกลุ่มนี้นำเงินฝากมาใช้จ่าย
ข้อมูลเงื่อนไขการลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 3
ขอบคุณข้อมูลจาก TNN ONLINE