"โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด" เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวยากจน เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้ โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้เด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 6 ขวบ คนละ 600 บาทต่อเดือน หากใครยังไม่ได้ลงทะเบียน หรือต้องการทราบว่าตัวเองเข้าข่ายได้รับสิทธินี้หรือไม่ เรามีข้อมูลการลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด หรือเงินอุดหนุนบุตร ประจำปี 2565 มาบอกต่อ
- สามารถตรวจเช็กวันเดือนปีเพื่อวางแผนชีวิตในปีนี้ด้วย ปฏิทินปี 2565 ได้ที่นี่ -
เข้าบัญชีวันไหน ?
- เดือนมกราคม : วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2565
- เดือนกุมภาพันธ์ : วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565
- เดือนมีนาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2565
- เดือนเมษายน : วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565
- เดือนพฤษภาคม : วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2565
- เดือนมิถุนายน : วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565
- เดือนกรกฎาคม : วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565
- เดือนสิงหาคม : วันพุธที่ 10 สิงหาคม 2565
- เดือนกันยายน : วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565
- เดือนตุลาคม : วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2565
- เดือนพฤศจิกายน : วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565
- เดือนธันวาคม : วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565
ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงวันที่โอนเงิน กรมบัญชีกลางจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
สามารถดู ปฏิทิน ได้จากที่นี่
- เป็นผู้ลงทะเบียนรายเดิมที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุน และบุตรยังมีอายุไม่ครบ 6 ปีบริบูรณ์
- ผู้ลงทะเบียนรายใหม่ที่ผ่านการพิจารณาแล้ว และมีการบันทึกข้อมูลสมบูรณ์อยู่ในระบบฐานข้อมูลของโครงการเงินอุดหนุนฯ ภายในวันที่กำหนด
เด็กแรกเกิดที่มีสิทธิ
- ต้องมีสัญชาติไทย
- พ่อแม่ของเด็กต้องมีสัญชาติไทย หรือคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติไทย
- เด็กเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป จนครบ 6 ปีบริบูรณ์
- อาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
ผู้ปกครองที่มีสิทธิลงทะเบียน
- มีสัญชาติไทย
- เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในอุปการะ (ไม่ใช่พ่อแม่ก็ได้)
- เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
- อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย คือ สมาชิกในครัวเรือนที่อาศัยอยู่ติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 180 วัน ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี (นำรายได้รวมทั้งครัวเรือน 1 ปี มาหารด้วยจำนวนสมาชิกในครัวเรือน)
- มีประกันสังคม หรือไม่มี ก็สามารถลงทะเบียนได้
- รับราชการก็สามารถลงทะเบียนได้
* หมายเหตุ มารดาที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ยังไม่ต้องมายื่นคําร้องขอลงทะเบียนขอรับสิทธิเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด รอให้คลอดบุตรก่อนจึงลงทะเบียนได้
- หากเคยลงทะเบียนไว้แล้วในปีก่อนหน้า ไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ โดยจะได้รับโอนเงินต่อเนื่องจนบุตรมีอายุ 6 ปีบริบูรณ์
- แต่กรณียังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน หรือเพิ่งคลอดบุตร ก็สามารถมาลงทะเบียนได้เลยตามสถานที่รับลงทะเบียนต่อไปนี้
- กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่
- เมืองพัทยา : ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตามภูมิลำเนา
1. แบบคําร้องขอลงทะเบียน (ดร.01) (ดาวน์โหลดที่นี่)
2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) (ดาวน์โหลดที่นี่) โดยต้องได้รับการรับรองแล้วจากบุคคล 2 คน คือ
ผู้รับรองคนที่ 1
- กรุงเทพมหานคร : อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการชุมชนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปฏิบัติงานในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง หากไม่มีผู้รับรองคนที่ 1 ให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งในระดับปฏิบัติการขึ้นไป หรือเทียบเท่าที่ปฏิบัติหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับรองได้
- เมืองพัทยา : อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค : อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือชุมชน
ผู้รับรองคนที่ 2
ได้แก่ ประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำตำบล ประธานชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการสถานบริการสาธารณสุขในระดับตำบล ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งในระดับปฏิบัติการขึ้นไปหรือเทียบเท่า ที่ปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่หรือท้องถิ่นแห่งนั้น (ต้องไม่ใช่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมายในการรับลงทะเบียน)
* กรณีสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคน ไม่ต้องมีผู้รับรองสถานะของครัวเรือน
3. บัตรประจําตัวประชาชนของผู้ปกครอง
4. สูติบัตรเด็กแรกเกิด
5. สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย บัญชีเงินฝากเผื่อเรียก ธนาคารออมสิน หรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)
6. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์
(ในกรณีที่สมุดสูญหาย ให้ใช้เฉพาะสําเนาหน้าที่ 1 พร้อมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบันทึกข้อมูลและรับรองสําเนา)
7. กรณีที่ผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียนและสมาชิกในครัวเรือนของผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท ต้องมีเอกสาร ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนที่มีรายได้ประจํา (สลิปเงินเดือน หรือเอกสารหลักฐานที่นายจ้างลงนาม)
8. สําเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตําแหน่ง หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
- กรอกเอกสารการลงทะเบียน พร้อมแนบเอกสารประกอบการลงทะเบียน
- ผู้ปกครองยื่นขอรับสิทธิเงินอุดหนุน ณ หน่วยงานที่ลงทะเบียนใกล้บ้าน
- หน่วยงานรับลงทะเบียนตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสาร
- หน่วยงานรับลงทะเบียนปิดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ 15 วัน
- หากไม่มีผู้คัดค้าน เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลผู้มีสิทธิรับเงินเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
- กรมกิจการเด็กและเยาวชนประมวลผลรายชื่อผู้มีสิทธิส่งให้กรมบัญชีกลาง
- กรมบัญชีกลางส่งรายชื่อผู้มีสิทธิให้กรมการปกครองตรวจสอบสถานะรายบุคคล
- กรมบัญชีกลางโอนเงินเข้าบัญชีให้ผู้มีสิทธิ
- กระทรวงสาธารณสุขติดตามประเมินผลพัฒนาการเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนฯ
- เข้าเว็บไซต์กรมกิจการเด็กและเยาวชน csgcheck.dcy.go.th
- กรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน และของเด็กแรกเกิด เพื่อตรวจสอบ
- ระบุรหัสยืนยันรูปภาพ
- กดค้นหาข้อมูล
- ถ้าระบบขึ้นข้อความ "ได้รับสิทธิ" จะมีเงินโอนเข้าภายในวันที่ 10 ของเดือน
- ถ้าระบบขึ้นข้อความ "ไม่พบสิทธิ" ให้ตรวจสอบข้อมูลต่อที่เว็บไซต์ govwelfare.cgd.go.th ว่าขึ้นสถานะมีสิทธิรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดหรือยัง
- หากยังไม่เคยได้รับเงิน หรือติดปัญหาใด ๆ จะขึ้นตัวอักษร E แสดงถึงสถานะของผู้รับสิทธิ ณ เวลานั้น สามารถตรวจสอบสถานะ E ได้ที่นี่
เช็กเงินอุดหนุนบุตร ขึ้นสถานะแบบไหน ต้องแก้อย่างไร ทำไมเงินยังไม่เข้าบัญชี ?
ลูกเกิดปี 2559-2564 แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้หรือไม่ ?
เด็กเกิดเดือนธันวาคม 2558 ลงทะเบียนได้หรือไม่ ?
ผู้ปกครองมีประกันสังคมสามารถลงทะเบียนได้ไหม ?
- สามารถมาลงทะเบียนของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้
- นอกจากนี้ ผู้ปกครองที่มีประกันสังคม มาตรา 33 และ 39 ยังสามารถลงทะเบียนรับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ด้วย ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม เดือนละ 800 บาท/บุตร 1 คน
ถ้าแม่เด็กติดคุก พ่อแยกทางกันไปแล้ว ลูกอยู่กับน้า แม่จะมาลงทะเบียนได้ไหม ?
สามารถตรวจสอบว่ามีเงินเข้าในบัญชีได้อย่างไร ?
- ตรวจสอบจากบัญชีธนาคารที่ใช้ในการรับเงินอุดหนุนฯ
- ตรวจสอบจากนำสมุดบัญชีธนาคารไปปรับกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร
- ตรวจสอบจากระบบตรวจสอบสิทธิของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดที่นี่
ทำไมเงินไม่เข้าบัญชีตามที่แจ้งไว้ในระบบ แต่กลับไปโอนเงินเข้าบัญชีอื่นแทน ?
- ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
- โทร. เบอร์ตรง 0-2651-6534, 0-2651-6920, 0-2651-6902 หรือ 0-2255-5850-7 ต่อ 121, 122, 123, 147, 152 (วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น.)
- โทรศัพท์มือถือ : 08-2091-7245, 08-2037-9767, 08-3431-3533, 06-5731-3199 (วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น.)
- สายด่วน พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ที่ตนเองได้ลงทะเบียนไว้
บทความที่เกี่ยวข้องกับเงินอุดหนุนบุตร
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 23 ธันวาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
เฟซบุ๊กเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดจากรัฐบาล
เฟซบุ๊กโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด