ตอบคำถามฮิต ! คนละครึ่ง ต้องซื้อของ-เติมเงินทุกวันไหม จำเป็นต้องใช้หมด 3,500 บาทหรือเปล่า ?

คนละครึ่ง เป็นมาตรการหนึ่งที่หวังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2563 ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยรัฐบาลจะช่วยจ่ายค่าซื้อสินค้าให้ 50% ของมูลค่าสินค้า แต่ไม่เกินวันละ 150 บาท และตลอดทั้งโครงการให้สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน และในเฟส 2 เพิ่มวงเงินเป็น 3,500 บาทต่อคน
เรื่องนี้อาจทำให้คนสงสัยว่า แล้วเราจำเป็นต้องใช้สิทธิให้หมดทั้ง 3,500 บาทเลยหรือไม่ หรือจริง ๆ ใช้ได้เท่าไรกันแน่ วันนี้รวบรวมคำถามต่าง ๆ มาไขข้อข้องใจกัน
ลงทะเบียนคนละครึ่งอย่างไร ?
ลงทะเบียนได้ที่ www.คนละครึ่ง.com โดยเฟสแรกเปิดลงทะเบียนวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ส่วนเฟส 2 เปิดลงทะเบียนวันที่ 16 ธันวาคม 2563 และยังมีรอบเก็บตกจากผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอีกหลายครั้ง ซึ่งคนละครึ่ง รอบเก็บตก ล่าสุด เปิดให้ลงทะเบียนวันที่ 20 มกราคม 2564
ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง ต้องมีคุณสมบัติตามนี้
- มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลสัญชาติไทย
- อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
- ไม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ไม่ใช้สิทธิช้อปดีมีคืน
คนที่ลงทะเบียนเฟส 1 ไปแล้ว ต้องลงทะเบียนซ้ำไหม ?
- ผู้ที่ได้รับสิทธิในเฟส 1 ไปแล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำ แต่จะต้องกดยืนยันสิทธิ แล้วรัฐบาลจะเพิ่มวงเงินให้อีก 500 บาท ซึ่งรวมกับของเดิมอีก 3,000 บาท เท่ากับจะใช้สิทธิได้ 3,500 บาท โดยเงินส่วนที่เพิ่มมา 500 บาทนี้ จะต้องกดรับสิทธิในแอปฯ เป๋าตัง และสามารถใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564
- ผู้ที่ยังไม่ได้สิทธิในเฟส 1 สามารถลงทะเบียนในเฟส 2 ได้ โดยจะได้รับเงิน 3,500 บาท
คนมีสิทธิเฟส 1 ใช้เงินไม่หมด 3,000 บาท จะได้สิทธิในเฟส 2 ต่อไหม ?

ลงทะเบียนคนละครึ่งต้องมีบัญชีธนาคารกรุงไทยไหม ?
ลงทะเบียนคนละครึ่ง กับ แอปฯ เป๋าตัง ต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์เดียวกันไหม ?
- หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียนคนละครึ่ง จะต้องเป็นหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียนแอปฯ เป๋าตัง ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถใช้สิทธิคนละครึ่งได้
- หากลงทะเบียนคนละหมายเลขไปแล้ว ให้นำบัตรประชาชนตัวจริงไปติดต่อ เพื่อยืนยันตัวตนที่สาขาของธนาคารกรุงไทย
ลงทะเบียนแล้วพบว่าหมายเลขบัตรประชาชนซ้ำ ทำอย่างไร ?
ลงทะเบียนคนละครึ่งไปแล้ว ยกเลิก-สละสิทธิได้ไหม ?
สมัครคนละครึ่ง แต่เกิดเปลี่ยนใจ อยากใช้ช้อปดีมีคืน ทำได้ไหม ที่นี่มีคำตอบ
คนละครึ่ง กับ ช้อปดีมีคืน เลือกโครงการไหนดี ?
เราสามารถเลือกเข้าร่วมได้เพียง 1 มาตรการเท่านั้น เช่น หากลงทะเบียนคนละครึ่งไปแล้ว จะไม่สามารถใช้สิทธิในโครงการช้อปดีมีคืนได้อีก ดังนั้น ต้องเลือกมาตรการที่เราจะได้รับประโยชน์ที่สุด
หากไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ฯ ประจำปี สามารถเลือกโครงการคนละครึ่งได้เลย แต่ถ้าต้องเสียภาษีอัตราสูง ๆ เกิน 15% ขึ้นไป การเลือกช้อปดีมีคืนอาจได้ประโยชน์จากการหักลดหย่อนภาษีมากกว่า
ลองเปรียบเทียบเงื่อนไขจากข้อมูลข้างล่างนี้เลย
คนละครึ่ง VS ช้อปดีมีคืน เลือกใช้สิทธิโครงการไหน ได้ประโยชน์กับเรามากที่สุด
จะรู้ได้อย่างไรว่าได้รับสิทธิแล้ว ?
- กรณีลงทะเบียนเฟส 2 ผ่านเว็บไซต์ไปแล้ว ผู้ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติจะได้รับ SMS ยืนยันการได้รับสิทธิ
- หากลงทะเบียนไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับ SMS สามารถโทร. สอบถามได้ที่ 0-2111-1144
- เมื่อได้รับ SMS แล้ว จะต้องใช้สิทธิครั้งแรกภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่เปิดให้เริ่มใช้จ่ายตามโครงการ มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ และไม่สามารถลงทะเบียนใหม่ได้
ได้รับ SMS ยืนยันสิทธิแล้ว ต้องทำอย่างไรต่อ ?
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน เป๋าตัง และสมัครใช้งาน พร้อมยืนยันตัวตน
- เติมเงินเข้า G-Wallet
- ต้องใช้สิทธิครั้งแรกภายใน 14 วัน หลังจากวันที่ประกาศให้เริ่มใช้สิทธิ
ถ้าไม่ได้ใช้สิทธิภายใน 14 วัน ?
ได้รับ SMS แจ้งลงทะเบียนไม่สำเร็จ เนื่องจากข้อมูลไม่ถูกต้อง จะทำอย่างไร ?
หลายคนลงทะเบียนได้แล้ว แต่ภายหลังได้รับ SMS แจ้งว่า "ลงทะเบียนไม่สำเร็จเนื่องจากข้อมูลไม่ถูกต้อง โปรดลงทะเบียนใหม่" ให้ตรวจสอบดังนี้
1. ตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเอง ว่า
- มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลสัญชาติไทย
- อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
- ไม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ไม่ใช้สิทธิช้อปดีมีคืน
- ไม่ใช่คนที่ได้รับสิทธิในเฟส 1 แล้ว
2. หากคุณสมบัติตรงตามกำหนด ให้ติดต่อสอบถามธนาคารกรุงไทย
- นำบัตรประชาชนได้ติดต่อที่ธนาคารกรุงไทย ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลว่ามีส่วนไหนที่ไม่ตรงกันหรือไม่
- หรือโทร. สอบถาม 0-2111-1144 ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลให้
3. รอลงทะเบียนใหม่
หากมีการเปิดลงทะเบียนในรอบเก็บตก
เปลี่ยนเบอร์มือถือระหว่างรับสิทธิเข้าโครงการได้หรือไม่ ?
ร้านค้าลงทะเบียนเป็นร้านคนละครึ่งได้อย่างไร ?
หาบเร่ แผงลอย ลงทะเบียนคนละครึ่งแล้ว จะใช้แอปฯ ถุงเงิน ทำยังไง มาดูกัน !
คนที่ลงทะเบียนร้านค้าแล้ว จะลงทะเบียนเป็นผู้ซื้อได้อีกหรือไม่ ?

ลืมรหัสเข้าแอปฯ เป๋าตัง ต้องทำอย่างไร ?
ใส่รหัสผิดเกิน 3 ครั้ง ต้องทำอย่างไร ?
สแกนใบหน้าแอปฯ เป๋าตัง ไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร ?
ส่องทริก...สแกนใบหน้าแอปฯ เป๋าตัง ลงทะเบียนคนละครึ่ง ถ่ายรูปยังไงให้ผ่าน !
ไปยืนยันตัวตนที่ธนาคารแทนคนอื่นได้ไหม ?
เรื่องนี้ทางธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ไม่สามารถทำได้ โดยเจ้าของบัตรจะต้องนำบัตรประชาชน และโทรศัพท์มือถือ ไปธนาคารกรุงไทยเพื่อยืนยันตัวตนด้วยตัวเองเท่านั้น
ถ้าไม่สะดวกไปธนาคาร จะไปยืนยันตัวตนที่ไหนได้บ้าง ?
ได้รับ SMS ยืนยันสิทธิแล้ว แต่ในแอปฯ ไม่ขึ้นเมนูโครงการคนละครึ่ง ?

เมื่อเข้าแอปฯ เป๋าตัง จะแสดงแถบเมนู "คนละครึ่ง" ให้เห็น หากเครื่องไหนไม่ขึ้นแถบเมนูดังกล่าว ลองอัปเดตเวอร์ชั่นแอปฯ เป๋าตัง ดูอีกครั้ง จึงจะปรากฏเมนู "คนละครึ่ง" ในหน้า G-Wallet
เติมเงินเข้าแอปฯ เป๋าตัง ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงไทยไหม ?
วิธีการเติมเงินเข้า G-Wallet เป๋าตัง ทำอย่างไร ?
วิธีการเติมเงินเข้า G-Wallet สามารถทำได้ 3 ช่องทาง ได้แก่
- เติมเงินผ่าน Mobile Banking
- เติมเงินผ่าน QR code พร้อมเพย์
- เติมเงินผ่านตู้ ATM
ดูขั้นตอนและวิธีเติมเงินเข้าแอปฯ เป๋าตัง ได้ที่นี่เลย
วิธีเติมเงินเข้า เป๋าตัง สำหรับใช้จ่าย คนละครึ่ง ทำง่าย ๆ 3 ช่องทางดูเลย !
ต้องเติมเงินก่อนลงทะเบียน หรือหลังลงทะเบียน ?
- ต้องลงทะเบียนคนละครึ่ง และสมัครแอปฯ เป๋าตัง ให้สำเร็จก่อน เมื่อได้รับ SMS ยืนยันการได้รับสิทธิแล้วค่อยเติมเงินเข้าไป
- หากสมัครแอปฯ เป๋าตัง ไม่ผ่าน จะไม่สามารถใช้สิทธิคนละครึ่งได้
สอนติดตั้ง - ลงทะเบียนแอปฯ เป๋าตัง เตรียมพร้อม รับเงินคนละครึ่ง
ถอนเงินออกมาจาก G-Wallet ได้ไหม ?

- เงินที่รัฐจ่ายให้ร้านค้า จะไม่สามารถถอนออกมาได้
- เงินที่เราเติมเข้าไปเองผ่าน G-Wallet หากเหลือ หรือใช้ไม่หมด สามารถถอนออกมาได้ โดยใช้วิธีโอนเงินไปยังบัญชีที่ต้องการ
ถ้าเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ใหม่ จะใช้แอปฯ เป๋าตัง ที่ลงทะเบียนเบอร์โทร. เก่า อย่างไร ?
ใช้สิทธิคนละครึ่งหมดแล้ว แต่เหลือเงินในแอปฯ เป๋าตัง ต้องทำอย่างไร ?
จะใช้สิทธิได้อย่างไร ?

ซื้อสินค้าได้ตั้งแต่วันไหน เวลาใด ?
- เฟสที่ 1 ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม - 31 มีนาคม 2564
- เฟสที่ 2 ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564
- ต้องใช้จ่ายภายในเวลา 06.00-23.00 น. เท่านั้น ไม่สามารถใช้สิทธิคนละครึ่งนอกเวลาดังกล่าวได้
ร้านค้าคนละครึ่ง มีที่ไหนบ้าง ?
ต้องใช้สิทธิกับร้านค้าที่ร่วมโครงการ และลงทะเบียนไว้เท่านั้น ซึ่งเป็นกิจการประเภทร้านอาหาร/เครื่องดื่ม/สินค้าทั่วไป เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ได้จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล และไม่เป็นร้านสะดวกซื้อที่เป็นแฟรนไชส์ เช่น ร้านค้าขนาดเล็ก หาบเร่ แผงลอย ร้านค้าในตลาด ร้านโชห่วย
ตรวจสอบรายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งได้ ที่นี่

สินค้าประเภทไหน ซื้อไม่ได้ ?
ต้องเติมเงิน 3,500 บาทก่อนใช่ไหม ถึงใช้สิทธิได้ ?
- ไม่ต้องเติมเงิน 3,500 บาทก่อน สามารถทยอยเติมเงินได้เพื่อให้เพียงพอต่อการซื้อสินค้าแต่ละครั้ง
- เช่น หากวันนี้จะซื้อสินค้าราคา 100 บาท ก็สามารถเติมเงินเข้าแอปฯ 50 บาทได้ หรือจะเติมเท่าไรก็ได้
- แต่สำหรับบางคนที่ไม่อยากเติมเงินบ่อย ๆ อยากเติมทีเดียว 3,500 บาทเลยก็ได้ จะเติมน้อยกว่า หรือมากกว่านี้ก็ได้ ตามสะดวกเลย แต่รัฐจะช่วยจ่ายเงินให้ร้านค้าสูงสุดแค่ 3,500 บาทเท่านั้น
ต้องเติมเงินเข้าแอปฯ เป๋าตัง ทุกวันใช่ไหม ?
- ไม่จำเป็นต้องเติมเงินทุกวัน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้สิทธิวันไหน จะเติมไว้ล่วงหน้า หรือเติมวันที่จะใช้สิทธิก็ได้
- เช่น พรุ่งนี้อยากจะซื้อของมูลค่า 40 บาท เราก็เติมเงินเข้าเป๋าตัง 20 บาท ในวันนี้ หรือเติมพรุ่งนี้ก็ได้ แต่ต้องเติมเงินก่อนซื้อของ
- ไม่จำเป็นต้องเติมเงินทุกวัน และไม่จำเป็นต้องเติมเงินวันละ 150 บาท เราสามารถเติมเงินเท่าไรก็ได้ตามสะดวกเลย
จะซื้อของ 200 บาท ต้องเติมเงินเองเท่าไร ?
- หากจะซื้อของมูลค่า 200 บาท เราจะต้องเติมเงินในแอปฯ เป๋าตัง ไว้ 100 บาท
- เมื่อนำแอปฯ เป๋าตังไปสแกนที่ร้านค้า มูลค่า 200 บาท ระบบจะหักเงินจากรัฐ 100 บาท และหักเงินจาก G-Wallet ที่เราเติมเงินเข้าไปเองอีก 100 บาท
ซื้อของ 400 บาท ต้องเติมเงินเท่าไร ?
ใช้สิทธิไม่หมด 150 บาท/วัน ได้ไหม ?
ต้องซื้อติดต่อกันทุกวันเลยไหม ?
- ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกวัน จะเก็บไว้ซื้อวันไหนก็ได้ภายในระยะเวลาโครงของการ แต่ต้องใช้ครั้งแรกภายใน 14 วันที่ได้รับ SMS
- เงื่อนไขสำคัญคือ รัฐจะช่วยออกเงินให้ไม่เกินวันละ 150 บาท กรณีใช้วันละ 150 บาทพอดี ก็จะใช้ได้ 24 วัน
- แต่ถ้าเราใช้ไม่ถึงวันละ 150 บาท เงินส่วนที่เหลือสามารถเก็บไว้ทบวันอื่น ๆ ได้ ดังนั้น จึงใช้จ่ายได้มากกว่า 24 วัน จะซื้อวันไหนก็แล้วแต่เราเลย
เงินที่ใช้ไม่หมดในแต่ละวัน จะทบยอดอย่างไร ?
รัฐจะออกค่าใช้จ่ายให้สูงสุด วันละไม่เกิน 150 บาท ถ้าใช้ไม่ถึง 150 บาท จะทบยอดต่อไป เช่น วันนี้ซื้อของครั้งแรก ราคา 180 บาท รัฐออกให้ 90 บาท เราจ่ายเอง 90 บาท ในวันนั้นจึงเหลือเงินจากโครงการที่ยังไม่ได้ใช้ 150-90 = 60 บาท
เท่ากับว่า เงินจากรัฐ 3,500 บาท ได้ใช้ไปแล้ว 90 บาท จะเหลือเงินที่ยังไม่ได้ใช้อีก 3,410 บาท เงินที่เหลือตรงนี้สามารถทยอยใช้ได้วันละ 150 บาท ถ้าวันไหนใช้ไม่ครบ 150 บาท ส่วนที่เหลือก็จะทบในวันถัดไปเรื่อย ๆ
ต้องใช้จ่าย 3,500 บาทจนหมดเลยหรือไม่ ?
- ขึ้นอยู่กับเรา หากต้องการใช้เพียง 500 บาท 1,000 บาท ก็สามารถทำได้ โดยเติมเงินเท่าที่เราต้องการจะใช้
- ถ้าเราต้องการใช้จนครบสิทธิ ก็จะต้องเติมเงินเข้า G-Wallet ให้ครบเท่าที่ต้องการใช้ จึงจะใช้สิทธิได้ตามจำนวน
วิธีตรวจสอบว่ามีเงินเหลือเท่าไร

2. กดสิทธิคนละครึ่ง
3. จะมีข้อมูลแจ้งว่า "สิทธิคนละครึ่งคงเหลือ 3,500 บาท" แสดงว่า เงิน 3,500 ได้ถูกโอนแล้ว
4. "สิทธิคนละครึ่งที่ใช้ได้วันนี้" จะบอกว่าเราสามารถใช้เงินได้ 150 บาทต่อวัน หากใช้ไปบ้างแล้ว จะแจ้งยอดคงเหลือ
ขอบคุณข้อมูลจาก
คนละครึ่ง, เฟซบุ๊ก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station, เฟซบุ๊ก Krungthai Care