เยียวยาเกษตรกร ชาวสวนยาง มาแล้ว คนกรีดยางได้เงินไหม-แบบไหนได้สิทธิ์ มีคำตอบ

          www.เยียวยาเกษตรกร.com กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตอบคำถามชาวสวนยาง มาตรการ เยียวยาเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 มีอะไรบ้าง ตรวจสอบได้ที่นี่

          วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 หลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดให้มีการลงทะเบียนเกษตร เพื่อให้เกษตรกรรับเงินเยียวยาเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ก็ทำให้มีคำถามเกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รวบรวมคำถามและคำตอบสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพาราเอาไว้ ดังนี้

1. เยียวยาเกษตรกรของเราไม่ทิ้งกัน กับเยียวยาชาวสวนยาง อันเดียวกันไหม ?

          ตอบ มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มีเพียงมาตรการเดียวคือ มาตรการเยียวยาเกษตรกร (ไม่มีโครงการเยียวยาชาวสวนยาง)

2. มีสมุดทะเบียนเกษตรกรแล้วต้องขึ้นทะเบียนกับ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) อีกหรือไม่ ?

          ตอบ สำหรับมาตรการเยียวยาเกษตรกรไม่ต้อง

3. คนกรีดยางจะได้รับสิทธิ์เยียวยาเกษตรกรหรือไม่ ?

          ตอบ กยท. จะส่งข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ขึ้นทะเบียนกับทาง กยท. ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นผู้รวบรวมข้อมูลเพื่อส่งให้กระทรวงการคลัง ซึ่งมีหน้าที่ในการคัดกรองตรวจสอบสิทธิ์เป็นไปตามเงื่อนไขของทางกระทรวงการคลัง

4. ถ้าคนที่ได้สิทธิ์เกษตรกรชาวนาแล้วมีสวนยางด้วยจะได้ทั้ง 2 สิทธิ์เลยหรือไม่ ?

 
          ตอบ ได้เพียง 1 สิทธิ์

5. ถ้าเป็นเจ้าของสวนยาง เป็นข้าราชการพลเรือน มีสิทธิ์ได้รับสิทธิ์ไหม ?

          ตอบ ไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากผู้ที่ได้รับการเยียวยาโครงการช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต้องมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร และต้องเป็นผู้ไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน ของภาครัฐ

6. ขึ้นทะเบียนไว้ที่การยางฯ ปีที่แล้ว ต้องทำอะไรอีกไหม ?

          ตอบ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลพื้นฐาน เช่น ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, กรรมสิทธิ์ที่ดิน, จำนวนแปลง, ที่ตั้งแปลง, เปลี่ยนแปลงข้อมูลคนกรีด ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องดำเนินการอะไร

7. ขึ้นทะเบียนไว้ที่ กยท. แล้ว ต้องไปลงทะเบียนแจ้งสิทธิ์รับเงินเยียวยาอีกไหม ?

          ตอบ ถ้ามีบัญชีธนาคาร ธ.ก.ส. ก็ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแจ้งสิทธิ์กับทางเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com

8. ได้รับเงินประกันรายได้ ระยะที่ 1 กับ กยท. แล้ว แต่ปรับสมุดเล่มเขียวล่าสุดปี 2561 จะได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาไหม ?

          ตอบ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล กยท. จะส่งรายชื่อให้กับทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เพื่อรับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ

9. สามีมีสมุดเล่มเขียว ภรรยาขึ้นทะเบียนกับ กยท. และอยู่คนละทะเบียนบ้าน จะได้เงินทั้ง 2 คนไหม ?

          ตอบ ได้รับสิทธิ์ตามหลักเกณฑ์ 1 ทะเบียนบ้าน 1 สิทธิ์ ต้องเป็นผู้มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร ไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกันของภาครัฐ

10. เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว และสถานะเป็นปี 2562 และ 2563 ต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับการยางแห่งประเทศไทยหรือไม่ ?

          ตอบ สำหรับมาตรการเยียวยาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค Covid-19 ผู้ที่มีสถานะขึ้นทะเบียนเกษตรกร กับกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นปี 2562 และ 2563 จะได้รับการเยียวยาเป็นกลุ่มที่ 1 และต้องเป็นผู้มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร ไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกันของภาครัฐ ในส่วนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท. เกษตรกรจะมีฐานข้อมูลไว้กับ กยท. เพื่อขอรับการจัดสวัสดิการอื่น ๆ ที่ กยท. มีให้

11. ผู้ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว ต้องไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท. อีกหรือไม่ หรือว่าขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร และขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท. ข้อมูลทั้ง 2 หน่วยงานจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน (เชื่อมโยงกัน) หรือไม่ ซึ่งจะทำให้สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรหน่วยงานไหนก็ได้

 
          ตอบ ฐานข้อมูลเกษตรกรทั้ง 2 หน่วยงานไม่เชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้น เกษตรกรต้องไปขอขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐและสวัสดิการต่าง ๆ ที่ทั้ง 2 หน่วยงานจัดให้

12. อยากทราบว่าการยางแห่งประเทศไทย จะช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค Covid 19 กลุ่มประเภทไหนบ้าง 1. เกษตรกรผู้ปลูกยาง (บัตรสีเขียว) 2. เกษตรกรผู้ปลูกยาง (บัตรสีชมพู) 3. คนกรีดยางที่รับจ้างกรีดให้เกษตรกรผู้ปลูกยางทั้งบัตรสีเขียวและบัตรสีชมพู

          ตอบ การยางแห่งประเทศไทยจะดำเนินการรวบรวมและส่งข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มให้กับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรตรวจสอบสิทธิ์ทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อตรวจสอบสิทธิ์แล้วเป็นผู้มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร ไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกันของภาครัฐ ก็จะได้รับการเยียวยาโครงการดังกล่าว

13. เกษตรกรที่ได้รับการช่วยเหลือโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง (คปร.) แล้ว จะยังได้รับการเยียวยาจากโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่ ?

 
          ตอบ ได้รับการเยียวยาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 เมื่อตรวจสอบสิทธิ์แล้วเป็นผู้มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีรายได้หลักจากการทำเกษตร ไม่ได้รับเงินเดือนประจำจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน ไม่เป็นข้าราชการบำนาญ ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเราไม่ทิ้งกันของภาครัฐ ก็จะได้รับการเยียวยาโครงการดังกล่าว หรือเป็นไปตามเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ภาครัฐกำหนด

14. เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ที่สถานะสวนไม่มีการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องเข้าไปปรับปรุงข้อมูลกับ กยท. อีกหรือไม่ เพื่อขอเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ?

          ตอบ ถ้าข้อมูลสวนยางของท่านไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงข้อมูลกับ กยท. และ กยท. จะดำเนินการส่งข้อมูลของท่านให้กับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรตรวจสอบสิทธิ์ท่าน เพื่อรับการเยียวยาโครงการดังกล่าวต่อไป

15. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงคนกรีดยางต้องไปปรับปรุงข้อมูลกับ กยท. หรือไม่ ?

 
          ตอบ ต้องปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปีปัจจุบัน เพื่อจะได้รับสวัสดิการอื่น ๆ ที่ กยท. จัดให้

16. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง กับ กยท. แต่ยังไม่มีบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะต้องดำเนินการอย่างไร ?

          ตอบ สามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อและข้อมูลในเบื้องต้น หรือแจ้งช่องทางในการโอนเงิน กรณีไม่มีบัญชีกับ ธ.ก.ส. ได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เบอร์โทรศัพท์ 0-2555-0555

17. เกษตรกรสามารถตรวจสอบการขึ้นทะเบียนกับ กยท. ได้อย่างไร ?

 
          ตอบ ทางโทรศัพท์ การยางแห่งประเทศไทย หมายเลข 02-433-2222 ต่อ 243-245 และทางเว็บไซต์ การยางแห่งประเทศไทย

18. เกษตรกรสามารถตรวจสอบสิทธิ์ผู้ได้รับเยียวยาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 ทางช่องทางไหนได้บ้าง ?

          ตอบ ทางเว็บไซต์
>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เยียวยาเกษตรกร ชาวสวนยาง มาแล้ว คนกรีดยางได้เงินไหม-แบบไหนได้สิทธิ์ มีคำตอบ อัปเดตล่าสุด 21 พฤษภาคม 2563 เวลา 22:29:00 43,787 อ่าน
TOP
x close