ทำความเข้าใจ กองทุน SSF-SSFX ตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่มาแทน LTF
ปีภาษี 2562 ถือเป็นปีสุดท้ายแล้ว สำหรับการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งกองทุน SSF (Super Savings Fund) รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งนอกจากจะใช้ลดหย่อนภาษี ยังช่วยให้คนออมระยะยาวขึ้น
นอกจากนี้ ในช่วงต้นปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 คณะรัฐมนตรียังได้อนุมัติให้คนซื้อกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 โดยใช้ชื่อว่า กองทุน SSFX
มาถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่า กองทุน SSF และ SSFX มีเงื่อนไขเป็นอย่างไร แตกต่างจากกองทุน LTF ตัวช่วยลดหย่อนภาษีแบบเดิมตรงไหน เราลองมาทำความเข้าใจกัน

กองทุน SSF คืออะไร ?
กองทุน SSF ใช้ลดหย่อนภาษีได้เมื่อไร ?
กองทุน SSF ซื้อลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ?
- กองทุน SSF ให้เราซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท (จากเดิมกองทุน LTF สามารถซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท)
- ไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขในการซื้อต่อเนื่องทุกปี
- จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
กองทุน SSF ซื้อแล้วต้องถือครองนานแค่ไหน ?
- เพื่อการออมระยะยาวขึ้น หากซื้อกองทุน SSF จะต้องถือไว้นานอย่างน้อย 10 ปี โดยไม่สามารถขายได้ หากขายก่อนครบกำหนด จะถือว่าทำผิดเงื่อนไขลดหย่อนภาษี อาจจะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดทันที และต้องจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐย้อนหลังด้วย
- ระยะเวลา 10 ปี จะนับจากวันที่ซื้อ เช่น ซื้อกองทุน SSF วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จะครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2573 ต่างจากกองทุน LTF เดิมที่นับตามปีปฏิทิน
- หากครบกำหนดแล้ว สามารถขายคืนได้ โดยกำไรที่ได้จากการขายคืนจะได้รับยกเว้นภาษี (หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด)
- สามารถสับเปลี่ยนกองทุน SSF ไปยังกองทุน SSF ข้าม บลจ. ได้
ใครได้ประโยชน์จากกองทุน SSF ?
จากการปรับรูปแบบกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีครั้งนี้ จะทำให้คนที่ยังมีรายได้ไม่สูง หรือมีฐานภาษีต่ำถึงปานกลางได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เพราะสามารถซื้อกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้พึงประเมิน
เช่น หากเรามีรายได้ 400,000 บาท/ปี จะซื้อ LTF ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% หรือ 60,000 บาท แต่เมื่อเปลี่ยนเป็น SSF จะซื้อลดหย่อนได้สูงสุด 30% หรือ 120,000 บาท
กลับกัน ในกลุ่มคนที่มีรายได้สูง มีฐานภาษีสูง อาจได้รับประโยชน์น้อยลง เพราะแม้จะซื้อกองทุน SSF ได้สูงสุด 30% แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท เช่น หากเรามีรายได้ปีละ 3 ล้านบาท เดิมจะซื้อ LTF ได้สูงสุด 450,000 บาท แต่เมื่อเปลี่ยนเป็น SSF จะซื้อได้สูงสุดแค่ 200,000 บาทเท่านั้น
นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมว่าเมื่อนำเงินที่ซื้อ SSF ไปรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณต่าง ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ฯลฯ ต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย เท่ากับว่าคนที่มีรายได้สูงใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีส่วนนี้ได้น้อยลง จากเดิม LTF+RMF ใช้สิทธิ์รวมได้ 1 ล้านบาท จะกลายเป็น SSF+RMF ใช้สิทธิ์ได้เพียง 500,000 บาท
กองทุน SSFX ก็คือ กองทุนเพื่อการออมพิเศษ (SSF Extra : SSFX) หรือ SSF กองพิเศษ ที่ให้ลดหย่อนภาษีได้เพิ่มเติมในช่วงปี 2563 เพื่อเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีเงื่อนไขที่เหมือนและต่างจากกองทุน SSF ปกติ คือ
- กองทุน SSFX สามารถนำเงินที่ลงทุนมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพิ่มจากวงเงินเดิมอีก 200,000 บาท และไม่จำกัดว่าให้ซื้อได้สูงสุดกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินได้พึงประเมินเหมือนกองทุน SSF เท่ากับว่า เราสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 400,000 บาท (SSF 200,000 + SSFX 200,000)
- การซื้อกองทุน SSFX 200,000 บาท จะไม่รวมกับ SSF กองปกติ และไม่รวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ
- กองทุน SSFX ต้องมีนโยบายลงทุนในหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 65% (เหมือนกับ LTF) ต่างจากกองทุน SSF ปกติ ที่สามารถลงทุนได้หลากหลายกว่า ไม่จำกัดว่าต้องเป็นหุ้นไทยเท่านั้น
- ซื้อแล้วต้องถือครอง 10 ปีเต็ม เหมือนกับกองทุน SSF ปกติ
- ต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2563 เท่านั้น

ซื้อ LTF ไว้แล้ว แต่ยังไม่ครบกำหนด ต้องขายเลยไหม ?
ปี 2563 ยังซื้อกองทุน LTF ได้อยู่ไหม ?
ขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก SET ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กระทรวงการคลัง, เฟซบุ๊ก settrade, เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร : The Revenue Department