นับจากเริ่มต้นเข้าสู่ปี 2564 สถานการณ์ COVID-19 ก็ยังไม่คลี่คลาย ในฐานะลูกจ้างต้องมีความพร้อมทางด้านการเงินและควรออมเงินใน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้มากที่สุดเท่าที่เราออมไหว โดยเลือกนโยบายการลงทุนให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่รับได้และสอดคล้องกับอายุ จะช่วยให้มีเงินก้อนไว้ใช้ในวัยเกษียณ บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลรายละเอียดให้กับผู้ที่ยังไม่ทราบว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" หรือ Provident Fund ที่เรียกสั้น ๆ ว่า PVD นั้น หลายคนอาจจะไม่ค่อยนึกถึงหรือให้ความสำคัญเท่าไหร่ ทั้งที่ PVD มีความสำคัญและมีประโยชน์กับเรามาก แต่กว่าที่เราจะเห็นถึงประโยชน์ก็อาจจะเป็นตอนที่อยู่ในช่วงท้ายของชีวิตทำงานแล้ว จะดีกว่าไหม ถ้าเราหันมาให้ความสำคัญและบริหารจัดการให้เงินใน PVD ของเราเริ่มทำงานตั้งแต่วันนี้ กระปุกดอทคอม จึงได้นำรายละเอียดเรื่องนี้จาก K-Expert ธนาคารกสิกรไทย มาฝาก
เนื่องจากช่วงเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ผู้เขียนทำงานบริษัทและได้มีการหักเงินเดือนส่วนหนึ่งเข้าไปเก็บสะสมไว้ใน PVD มาตลอดและเป็นการสะสมเงินในลักษณะขั้นบันได แต่ไม่เคยสนใจมาก่อนว่ากองทุนเอาเงินไปลงทุนอะไร จะได้รับผลตอบแทนเท่าไหร่ จนกระทั่งได้ยินเพื่อน ๆ บ่นว่า "ทำไมปีนี้ได้กำไรน้อยลง" ผู้เขียนจึงถามว่า ทำไมแต่ละปีถึงได้กำไรมากน้อยแตกต่างกัน จึงได้คำตอบว่า การที่เราหักเงินไปเก็บสะสมทุกเดือนใน PVD สามารถนำไปลงทุนในนโยบายการลงทุนแบบอื่น ๆ นอกจากตราสารหนี้ได้ด้วย เช่น ตราสารทุน เหมือนกับเพื่อนที่เลือกนโยบายการลงทุนในตราสารทุนแล้วกองทุนทำกำไรให้ โดยบางปีกำไรสูงถึง 10% ด้วยกัน
ในขณะที่ผู้เขียนเพิ่งมาทราบภายหลังว่าลงทุนในตราสารหนี้นั้นได้กำไรเฉลี่ยแล้วแค่ปีละประมาณ 2-3% เท่านั้นเอง ทำให้จำนวนเงินสะสมของผู้เขียนและเพื่อนมีความแตกต่างกันอย่างมาก นี่จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนเห็นว่าการสะสมเงินใน PVD นั้น เราสามารถบริหารให้เงินเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเงินสะสมในช่วงบั้นปลายชีวิตของเรา
แล้วคุณทราบหรือไม่ว่าระหว่างทางที่เราเก็บเงินสะสมเข้าไปทุกเดือน ๆ เงินของเราไม่ได้ถูกเก็บไว้เฉย ๆ เพราะเงินส่วนนี้จะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่เราได้เลือกไว้ โดยมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพเป็นผู้บริหาร ซึ่งในปัจจุบันหลายบริษัทเปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้เลือกรูปแบบหรือนโยบายการลงทุนที่เรียกว่า "Employee’s Choice" ทำให้สามารถเลือกแผนการลงทุนได้ว่าจะให้มีสัดส่วนของสินทรัพย์ลงทุนเท่าไหร่บ้าง
โดยหลัก ๆ แล้วจะมีการลงทุนทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ เน้นลงทุนในตราสารทุน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ และลงทุนผสมระหว่างตราสารทุนและตราสารหนี้ แต่จากสถิติที่ผ่านมาการลงทุนในตราสารทุนมักจะให้ผลตอบแทนในกรณีที่ถือลงทุนระยะยาวได้สูงสุด แต่ก็มีโอกาสขาดทุนสูงเช่นกัน
ส่วนความเสี่ยงนั้น ควรพิจารณาระดับความเสี่ยงที่รับได้และเลือกนโยบายการลงทุนให้เหมาะสม เรื่องอายุก็มีส่วนสำคัญในการจัดสรรการลงทุน เช่น ถ้าเรารับความเสี่ยงได้น้อย โดยปกติอาจจะเลือกลงทุนในนโยบายการลงทุนที่มีสัดส่วนปริมาณการลงทุนในตราสารหนี้เยอะกว่าตราสารทุน แต่ถ้าเราเลือกลงทุนตอนที่อายุยังน้อย เราก็สามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ เนื่องจากยังมีเวลาทำงานอีกนาน จึงสามารถรับความเสี่ยงได้ แต่ถ้าอายุมากขึ้น เราอาจจะต้องกลับมาทบทวนนโยบายการลงทุน หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนอีกครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงของเงินสะสมที่เก็บมาตลอดชีวิตการทำงาน
สำหรับอาวุธลับที่ทำให้เงินสะสมมีโอกาสถึงเป้าหมายสูงขึ้นนั้น การเลือกสะสมต่อเดือนให้เหมาะสม โดยสามารถสะสมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือนขึ้นกับนายจ้าง เมื่อพิจารณาจากรายรับรายจ่ายแล้ว แนะนำให้สะสมเงินใน PVD ให้มากที่สุดเท่าที่เราจ่ายไหว เพราะจะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เราสะสมเงินได้มากและมีเงินเก็บเพียงพอไว้ใช้ในวัยเกษียณ
2. เงินที่เราได้รับจากกองทุน ส่วนที่เป็นเงินสะสมจะได้รับยกเว้นภาษี แต่สำหรับเงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบนั้น จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ต่อเมื่อออกจากงานเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และอายุงาน 5 ปีขึ้นไป
• กรณีออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี จะเลือกขอคงเงิน หรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ขึ้นอยู่กับนายจ้าง) หรือโอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพสำหรับ PVD เพื่อรออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
• นอกจากเงินสะสมของเราแล้ว นายจ้างเองก็จ่ายเงินสมทบร่วมด้วยในทุกเดือนเช่นกัน ซึ่งถือเป็นสวัสดิการที่นายจ้างมอบให้แก่ลูกจ้าง ส่วนนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบให้ลูกจ้างเท่าไร ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท เงินส่วนนี้จึงเป็นเงินเก็บที่ในบางครั้งเราอาจจะลืมไปว่าสามารถกลายมาเป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งในอนาคตได้
จะเห็นได้ว่า เงินใน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นั้นเป็นเงินก้อนหนึ่งที่ไม่ควรละเลยที่จะกลับมาทบทวนการลงทุนในทุก ๆ ปี รวมถึงทุกช่วงอายุที่เปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ ปีด้วย เพื่อไม่ให้เสียโอกาส เสมือนกับเรามีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนของเราเวลาที่นำเงินไปลงทุนในช่องทางอื่น ๆ และยังเป็นตัวช่วยในการเก็บเงินสม่ำเสมอได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ลืมที่จะบริหารเงินทุก ๆ ส่วนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดก็จะทำให้เป้าหมายการเก็บเงินเพื่อเอาไว้ใช้ตอนเกษียณของเราประสบความสำเร็จได้
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นจากความสมัครใจ ประโยชน์ของกองทุนก็เพื่อให้ลูกจ้างได้มีเงินออมไว้ใช้จ่ายในยามที่ลูกจ้าง เกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ ทั้งยังเป็นเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว ในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิตระหว่างปฏิบัติงาน
ก่อนอื่นมีเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาเล่าให้ฟัง
แล้วคุณทราบหรือไม่ว่าระหว่างทางที่เราเก็บเงินสะสมเข้าไปทุกเดือน ๆ เงินของเราไม่ได้ถูกเก็บไว้เฉย ๆ เพราะเงินส่วนนี้จะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่เราได้เลือกไว้ โดยมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพเป็นผู้บริหาร ซึ่งในปัจจุบันหลายบริษัทเปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้เลือกรูปแบบหรือนโยบายการลงทุนที่เรียกว่า "Employee’s Choice" ทำให้สามารถเลือกแผนการลงทุนได้ว่าจะให้มีสัดส่วนของสินทรัพย์ลงทุนเท่าไหร่บ้าง
โดยหลัก ๆ แล้วจะมีการลงทุนทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ เน้นลงทุนในตราสารทุน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ และลงทุนผสมระหว่างตราสารทุนและตราสารหนี้ แต่จากสถิติที่ผ่านมาการลงทุนในตราสารทุนมักจะให้ผลตอบแทนในกรณีที่ถือลงทุนระยะยาวได้สูงสุด แต่ก็มีโอกาสขาดทุนสูงเช่นกัน
สำหรับอาวุธลับที่ทำให้เงินสะสมมีโอกาสถึงเป้าหมายสูงขึ้นนั้น การเลือกสะสมต่อเดือนให้เหมาะสม โดยสามารถสะสมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือนขึ้นกับนายจ้าง เมื่อพิจารณาจากรายรับรายจ่ายแล้ว แนะนำให้สะสมเงินใน PVD ให้มากที่สุดเท่าที่เราจ่ายไหว เพราะจะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เราสะสมเงินได้มากและมีเงินเก็บเพียงพอไว้ใช้ในวัยเกษียณ
ประโยชน์ของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอะไรบ้าง
1. สร้างวินัยการเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอแบบกึ่งบังคับนิดๆ เพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณ
2. เงินเก็บของเราได้รับการบริหารจัดการโดยมืออาชีพ
3. ใช้เป็นค่าลดหย่อนทางภาษีได้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
1. เงินสะสมที่เราจ่ายไปทุกเดือนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
2. เงินที่เราได้รับจากกองทุน ส่วนที่เป็นเงินสะสมจะได้รับยกเว้นภาษี แต่สำหรับเงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบนั้น จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ต่อเมื่อออกจากงานเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และอายุงาน 5 ปีขึ้นไป
• กรณีออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี จะเลือกขอคงเงิน หรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ขึ้นอยู่กับนายจ้าง) หรือโอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพสำหรับ PVD เพื่อรออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
• นอกจากเงินสะสมของเราแล้ว นายจ้างเองก็จ่ายเงินสมทบร่วมด้วยในทุกเดือนเช่นกัน ซึ่งถือเป็นสวัสดิการที่นายจ้างมอบให้แก่ลูกจ้าง ส่วนนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบให้ลูกจ้างเท่าไร ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท เงินส่วนนี้จึงเป็นเงินเก็บที่ในบางครั้งเราอาจจะลืมไปว่าสามารถกลายมาเป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งในอนาคตได้
จะเห็นได้ว่า เงินใน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นั้นเป็นเงินก้อนหนึ่งที่ไม่ควรละเลยที่จะกลับมาทบทวนการลงทุนในทุก ๆ ปี รวมถึงทุกช่วงอายุที่เปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ ปีด้วย เพื่อไม่ให้เสียโอกาส เสมือนกับเรามีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนของเราเวลาที่นำเงินไปลงทุนในช่องทางอื่น ๆ และยังเป็นตัวช่วยในการเก็บเงินสม่ำเสมอได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ลืมที่จะบริหารเงินทุก ๆ ส่วนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดก็จะทำให้เป้าหมายการเก็บเงินเพื่อเอาไว้ใช้ตอนเกษียณของเราประสบความสำเร็จได้
K-Expert Action
• ศึกษานโยบายการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก่อนตัดสินใจเลือกนโยบายที่เหมาะกับตัวเอง
• ติดตามผลการดำเนินงานกองทุน และทบทวนนโยบายการลงทุนอย่างน้อยปีละครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก