สรุปสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ เกี่ยวอะไรกับแร่ "Rare Earth" ทำไมกลายเป็นข้อต่อรองสำคัญของเรื่องนี้
ประเด็นร้อนต่อเนื่องในรอบสัปดาห์นี้ คงหนีไม่พ้นสงครามการค้าของ 2 ฟากมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่กำลังคุกรุ่นเหลือเกิน หลัง "โดนัลด์ ทรัมป์" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศแบนบริษัทจีนที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงประเทศ หนึ่งในนั้นมีชื่อของ Huawei ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนด้วยนั่นเอง
หลังสหรัฐฯ ประกาศแบนไปได้ไม่ทันไร ฝั่งประธานาธิบดี "สี จิ้นผิง" ของจีน ได้ออกมาตอบโต้ทันทีว่า หากสหรัฐฯ จะตัดสัมพันธ์ทางธุรกิจ ทางจีนก็พร้อมจะไม่ส่งแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีในสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน เรื่องนี้หลายคนคงเกิดคำถามว่า Rare Earth ที่ว่านี้คืออะไร สำคัญขนาดไหน จีนถึงกล้าใช้ต่อรองกับสหรัฐฯ แบบนี้
Rare Earth คืออะไร ?
ทำไมจีนใช้ Rare Earth ขู่สหรัฐฯ
แน่นอนสหรัฐฯ มีบริษัทไอทีจำนวนมากที่ต้องการใช้แร่ชนิดนี้ รวมถึง iPhone ซึ่งต้องใช้แร่แรร์เอิร์ธ เป็นส่วนประกอบในการผลิต และมีความสำคัญต่อการทำงานในฟังก์ชันต่าง ๆ เพราะฉะนั้นสหรัฐฯ จึงเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่นำเข้า Rare Earth จากจีน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด
นอกจากนี้ Rare Earth ยังเป็นหนึ่งในสินค้าของจีนที่ไม่ถูกขึ้นภาษีนำเข้าอีกด้วย จากก่อนหน้านี้ที่สหรัฐฯ ตั้งกำแพงภาษีสินค้าจีน เพิ่มเป็น 25% เกือบ 6,000 รายการ แสดงให้เห็นเลยว่า แรร์เอิร์ธ เป็นสินค้าที่จำเป็นกับสหรัฐฯ ขนาดไหน
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Investing News ระบุว่า 8 ประเทศที่ผลิต Rare Earth มากที่สุดในโลก (สำรวจ ณ ปี 2560) มีดังนี้
1. จีน 105,000 เมตริกตัน
2. ออสเตรเลีย 20,000 เมตริกตัน
3. รัสเซีย 3,000 เมตริกตัน
บราซิลสำรวจพบแร่หายากนี้เมื่อปี 2555 ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 8,400 ล้านดอลลาร์
5. ไทย 1,600 เมตริกตัน
เมื่อปี 2557 บริษัทในอินเดียได้ทำสัญญากับกลุ่ม Toyota ญี่ปุ่น สำรวจแร่หายากในทะเลลึก เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพ ด้วยปริมาณสำรองเกือบ 35% ของโลก
7. มาเลเซีย 300 เมตริกตัน
8. เวียดนาม 100 เมตริกตัน
กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องต่อรองสำคัญระหว่างสหรัฐฯ และจีนไปแล้ว สำหรับแร่ Rare Earth ซึ่งบทสรุปของสงครามทางการค้าครั้งนี้จะจบลงอย่างไร คงต้องคอยติดตามกันต่อไป
ภาพจาก viewimage / Shutterstock.com
Rare Earth คืออะไร ?
แร่ Rare Earth เป็นกลุ่มธาตุโลหะหายาก 17 ชนิด เรียกรวม ๆ ว่า กลุ่มธาตุแลนทาไนด์ (Lanthanide) ประกอบด้วย สแกนเดียม (Sc) อิตเทรียม (Y) และกลุ่มอนุกรมเคมีแลนทาไนด์ 15 ชนิด ถูกกำหนดขึ้นโดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry) หรือ ไอยูแพ็ก (IUPAC) แร่เหล่านี้ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการถลุง เนื่องจากเป็นแร่ที่ไม่กระจุกตัวและหายาก จึงทำให้ Rare Earth มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการอย่างมาก
ที่สำคัญ Rare Earth ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีมากมาย ไม่ว่าเป็นชิปคอมพิวเตอร์ ชิปโทรศัพท์ แบตเตอรี่ แผ่นดีวีดี กล้องถ่ายรูป โทรทัศน์ เตาไมโครเวฟ อุปกรณ์ใยแก้วนำแสง เครื่องยนต์ของเครื่องบิน อุตสาหกรรมพลังงาน รวมถึงอาวุธต่าง ๆ อีกจำนวนมาก
ทำไมจีนใช้ Rare Earth ขู่สหรัฐฯ
อย่างที่บอก Rare Earth เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการผลิตอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ซึ่งจีนคือผู้ผลิต Rare Earth เบอร์หนึ่งของโลก โดยมีการประเมินว่าปริมาณ Rare Earth ที่ผลิตได้ทั่วโลกมากกว่า 90% มาจากประเทศจีน
แน่นอนสหรัฐฯ มีบริษัทไอทีจำนวนมากที่ต้องการใช้แร่ชนิดนี้ รวมถึง iPhone ซึ่งต้องใช้แร่แรร์เอิร์ธ เป็นส่วนประกอบในการผลิต และมีความสำคัญต่อการทำงานในฟังก์ชันต่าง ๆ เพราะฉะนั้นสหรัฐฯ จึงเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่นำเข้า Rare Earth จากจีน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด
นอกจากนี้ Rare Earth ยังเป็นหนึ่งในสินค้าของจีนที่ไม่ถูกขึ้นภาษีนำเข้าอีกด้วย จากก่อนหน้านี้ที่สหรัฐฯ ตั้งกำแพงภาษีสินค้าจีน เพิ่มเป็น 25% เกือบ 6,000 รายการ แสดงให้เห็นเลยว่า แรร์เอิร์ธ เป็นสินค้าที่จำเป็นกับสหรัฐฯ ขนาดไหน
ดังนั้น ไม่แปลกเลยที่จีนจะใช้เรื่องนี้เป็นข้อต่อรอง เพราะเล็งเห็นแล้วว่า Rare Earth มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมในสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก
เช็กชื่อประเทศที่ผลิต Rare Earth มากที่สุดในโลก
จีนอาจเป็นประเทศที่ผลิตและมีปริมาณสำรอง Rare Earth เยอะที่สุด แต่ก็ไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่ทำอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2563 ตลาด Rare Earth ทั่วโลกจะเติบโตมีมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Investing News ระบุว่า 8 ประเทศที่ผลิต Rare Earth มากที่สุดในโลก (สำรวจ ณ ปี 2560) มีดังนี้
1. จีน 105,000 เมตริกตัน
พวกเขาเป็นผู้นำในธุรกิจนี้ยาวนานมาตั้งแต่ปี 2537 อย่างไรก็ดี ช่วงหลัง ๆ จีนก็มีปัญหาเรื่องเหมืองผิดกฎหมายในประเทศอยู่หลายครั้ง จนกระทบต่อปริมาณผลิตและราคาแร่ในตลาดโลกพอสมควร
2. ออสเตรเลีย 20,000 เมตริกตัน
เป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองอันดับ 6 ของโลก แต่ออสเตรเลียเพิ่งจะเริ่มอุตสาหกรรม Rare Earth เมื่อปี 2550 จึงเป็นแหล่งที่มีแนวโน้มเพิ่มกำลังผลิตได้อีกมาก
3. รัสเซีย 3,000 เมตริกตัน
อีกหนึ่งประเทศที่ทำอุตสาหกรรมนี้มายาวนาน ซึ่งรัฐบาลรัสเซียก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีขุดเจาะเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
4. บราซิล 2,000 เมตริกตัน
5. ไทย 1,600 เมตริกตัน
เป็นแหล่งผลิต Rare Earth เช่นกันสำหรับเมืองไทย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าไทยมีปริมาณสำรองมากน้อยแค่ไหน แต่ก็มีการคาดว่าในอนาคตนอกเหนือจากจีน ไทยจะเป็นแหล่งผลิตแร่ชนิดนี้ได้จำนวนมาก ซึ่งข้อมูลจากชมรมธรณีสัมพันธ์ ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ไทยจะพบแร่ Rare Earth ในแหล่งแร่ดีบุก-วุลแฟรม
6. อินเดีย 1,500 เมตริกตัน
7. มาเลเซีย 300 เมตริกตัน
มาเลเซีย ได้รับเทคโนโลยีสำรวจแร่หายากจากบริษัท LAMP ในออสเตรเลีย ซึ่งช่วยให้พวกเขาเป็นผู้เล่นสำคัญในภูมิภาคนี้
8. เวียดนาม 100 เมตริกตัน
แม้ตอนนี้จำนวนแร่ที่เวียดนามผลิตได้อาจไม่สูงนัก แต่เวียดนามมีปริมาณสำรองที่สำรวจพบแล้วถึง 220 เมตริกตัน
ภาพจาก NICHOLAS KAMM / AFP
NICOLAS ASFOURI / AFP
ขอขอบคุณข้อมูลจาก