เงื่อนไขการเปิดบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี
- ระยะเวลาฝากเงินมีให้เลือกแบบ 24 เดือน / 48 เดือน / 60 เดือน (ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร)
- เมื่อฝากครบกำหนดจะได้รับดอกเบี้ย ซึ่งมักมีอัตราสูงกว่าเงินฝากประจำทั่วไป
- ได้รับยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
- ต้องฝากเงินในจำนวนเท่า ๆ กันเดือนละ 1 ครั้ง วันที่เท่าไรก็ได้ (ขาดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
- หากถอนหรือปิดบัญชีก่อน 3 เดือน จะไม่ได้รับดอกเบี้ย
- สามารถเปิดได้เพียงคนละ 1 บัญชีเท่านั้น (รวมบัญชีประเภทเดียวกันนี้ทุกธนาคาร)
1. ธนาคารธนชาต
เงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน : ดอกเบี้ย 2.60%
เงื่อนไข
- ฝากขั้นต่ำ 300 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (โดยจำนวนที่ฝากจะต้องทวีคูณช่วงละ 100 บาท)
- จำนวนเงินในการฝากต้องเท่ากันทุกเดือน และฝากได้เดือนละ 1 ครั้ง
- ต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เพื่อรับการโอนเงินต้นและดอกเบี้ย
- อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) เปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร
- กรณีขาดส่งเกิน 2 ครั้ง และยังคงฝากต่อจนครบกำหนดระยะเวลาฝาก ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์มีระดับ สำหรับบุคคลธรรมดา วงเงินฝากต่ำสุด ตามระยะเวลาที่ฝากไว้จริง และหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝากนั้นด้วย
ข้อมูลตามประกาศธนาคารธนชาต อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562
2. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย
เงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน : ดอกเบี้ย 2.60%
เงื่อนไข
- จำนวนเงินนำฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
- ต้องฝากติดต่อกันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง และมีจำนวนเงินฝากเท่ากันทุกเดือน
- หากฝากส่งเกิน 2 งวด แต่นำเงินฝากครบ 24 งวด จะยังได้รับอัตราดอกเบี้ยฝากปลอดภาษี แต่ไม่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี
ข้อมูลตามประกาศธนาคารไทยเครดิต อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2562
3. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)
เงื่อนไข
- จำนวนเงินนำฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
- ฝากเป็นจำนวนเต็มหลัก 500 บาท เท่านั้น เช่น 1,500 บาท 3,000 บาท 10,500 บาท
- ฝากเงินเดือนละ 1 ครั้ง ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากับยอดเงินฝากเมื่อเปิดบัญชี จนครบจำนวนงวดในการฝาก
- หากขาดส่งเกิน 2 ครั้ง จะถือว่าผิดเงื่อนไข ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่ฝากจริงในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ทำการเปิดบัญชี และจะหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15
- วันที่ครบกำหนดระยะเวลาการฝากให้นับจากวันที่เปิดบัญชีไปอีก 24 เดือน โดยนับวันชนวัน เดือนชนเดือน
ข้อมูลตามประกาศธนาคารไอซีบีซี (ไทย) อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก มีผลวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562
4. ธนาคารกสิกรไทย
เงื่อนไข
- จำนวนเงินที่รับฝากตั้งแต่ 500-25,000 บาท
- ต้องฝากติดต่อกันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง และมีจำนวนเงินฝากเท่ากันทุกเดือน
- ขาดการฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการฝาก หากขาดการฝากตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป ธนาคารจะไม่รับฝากเงินฝากทวีทรัพย์ในงวดที่เหลือต่อไป และจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
ข้อมูลตามประกาศธนาคารกสิกรไทย อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562
5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ฝากเงินจำนวนเท่ากับจำนวนเงินที่เปิดบัญชีเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ระยะเวลา 24 เดือน
- เริ่มต้นฝากเพียงเดือนละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
- เพิ่มความสะดวกสบายในการฝากเงิน ด้วยบริการตั้งโอนเงินล่วงหน้าผ่าน KMA (Krungsri Mobile Application) หรือบริการโอนเงินระหว่างบัญชีเงินฝาก (Standing Instruction)
- ผ่อนผันการขาดฝากไม่เกิน 2 งวด ตลอดระยะเวลาการฝาก
ข้อมูลตามประกาศธนาคารกรุงศรีฯ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562
6. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
ดอกเบี้ย 2.50%
เงื่อนไข
- ผู้เปิดบัญชีต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป
- สามารถเปิดบัญชีเป็นชื่อเด็ก โดยผู้ปกครองต้องให้ความยินยอม
- จำนวนเงินนำฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
- ดอกเบี้ยเท่ากับเงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงินขั้นต่ำสุด + 0.75% (ปัจจุบัน ณ เดือนพฤศจิกายน 2562 เงินฝากประจำ 12 เดือน ได้รับดอกเบี้ย 1.75%)
- ฝากเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ด้วยจำนวนที่เท่ากับตอนเปิดบัญชี
- กรณีขาดฝาก สามารถนำส่วนที่ไม่ได้นำฝากของเดือนก่อนหน้า เข้าฝากในเดือนถัดไปพร้อมกับจำนวนที่ต้องนำฝากปกติในแต่ละเดือน
- หากขาดฝากมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป ต้องดำเนินการปิดบัญชีเท่านั้น
ข้อมูลตามประกาศธนาคาร อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่ 3 กันยายน 2562
7. ธนาคารยูโอบี
ดอกเบี้ย 2.00-2.50%
- ยอดเงินฝากตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25,000 บาท : ดอกเบี้ย 2.25%
- ยอดเงินฝาก 25,000 บาทต่อเดือน : ดอกเบี้ย 2.50%
เงื่อนไข
- เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท โดยยอดเงินฝากรวมกันแล้วไม่เกิน 600,000 บาท
- ฟรี ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล วงเงินค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน 1.18 ล้านบาท หรือ 2 เท่าของจำนวนเงินส่วนที่เหลือที่ผู้ฝากจะต้องฝากต่อจนครบระยะเวลาฝาก (แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า)
- หากขาดฝากเกิน 2 งวด จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษี และจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ตามประกาศของธนาคาร
- หากขาดฝากเกิน 2 งวด จะไม่ได้รับความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุ
- กรณีผู้ฝากเงินอายุน้อยกว่า 15 ปี หรือมากกว่า 70 ปี ณ วันที่ประสบอุบัติเหตุ จะได้รับค่าสินไหมทดแทน 70% ของวงเงินคุ้มครอง
ข้อมูลตามประกาศธนาคารยูโอบี อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562
สรุปอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน
เงินหมื่น เงินแสนอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล ลองเริ่มจากเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาท ฝากเข้าบัญชีเงินฝากปลอดภาษี ครบ 2 ปี ก็มีเงินในบัญชีเหนาะ ๆ 24,000 บาท ยังไม่รวมดอกเบี้ยที่มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์ตั้งหลายเท่า แต่ถ้าใครสามารถเก็บเงินได้มากกว่าเดือนละ 1,000 เช่น เดือนละ 5,000 บาท เผลอแป๊บเดียวก็มีเงินแสนอยู่ในบัญชีแล้วล่ะ
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยและรายละเอียดต่าง ๆ เป็นข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2562 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต หากสนใจบัญชีเงินฝากของธนาคารไหน แนะนำให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ธนาคารอีกครั้งนะคะ
* อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562