สำหรับคนไม่มีเวลาสามารถลงทุนในกองทุนรวมโดยใช้เครื่องมือออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้เราเช็กข้อมูลกองทุนก่อนซื้อ ติดตามผลตอบแทนได้ง่าย ซื้อขายสับเปลี่ยนได้เร็วทันใจ แถมยังช่วยประหยัดเวลา และไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ
เราสามารถส่งคำสั่งซื้อ-ขาย สับเปลี่ยนกองทุนได้ทุกที่ทุกเวลา สำหรับเทคนิคการสับเปลี่ยนกองทุน สามารถใช้กองทุนตลาดเงินหรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อสับเปลี่ยนเข้ากองทุนหุ้น หรือกองทุนอื่น ๆ ซึ่งจะได้ราคาในวันเดียวกัน หากสับเปลี่ยนในเวลาทำการ (ขึ้นกับเงื่อนไขแต่ละกองทุน)
ตั้งคำสั่ง Alert ตามราคาที่อยากลงทุนหรือกำไรที่อยากขาย ให้เตือนเราผ่านทาง E-mail และ SMS ได้ เช่น กองทุน A ที่ถืออยู่วันนี้ราคา NAV 10 บาท หากวันไหนราคา NAV มากกว่า 11 บาท เราอยากขายทำกำไร ก็สามารถตั้งคำสั่งเตือนได้ ในทางกลับกัน ถ้าสนใจซื้อกองทุน B ที่วันนี้ราคา NAV 10 บาท แต่คิดว่ากองทุนหุ้นนี้ราคายังแพงไป ตลาดหุ้นน่าจะลงต่อ โดยราคาที่สนใจอยู่ที่ 9 บาท ก็สามารถให้ระบบช่วยเตือนได้ เพียงแค่นี้ก็จะไม่พลาดโอกาสซื้อและขายกองทุนในราคาที่ต้องการได้
การตั้ง DCA ซื้อกองทุนล่วงหน้า ในภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวน สำหรับคนที่ไม่มีเวลาจับจังหวะการลงทุน หรือ กลัวซื้อผิดทาง แนะนำให้ทำการซื้อแบบเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Average-DCA) คือการลงทุนเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน ข้อดีคือการสร้างวินัยในการเก็บออม และได้ต้นทุนเฉลี่ยในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป โดยสามารถสร้างแผนการซื้อล่วงหน้าเป็นรายเดือนผ่านทางเครื่องมือออนไลน์ เช่น การตั้งคำสั่ง DCA สำหรับซื้อกองทุน LTF เพื่อลดหย่อนภาษี โดยยอดซื้อต่อเดือนคำนวณเบื้องต้นได้ดังนี้
ปีนี้เรายังคงเผชิญกับความผันผวนของการลงทุนทั้งในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นอยู่ จึงเป็นเหตุผลที่เราควรเริ่มต้นวางแผนลงทุนตั้งแต่ต้นปี โดยใช้เครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการวางแผนเงินลงทุนที่จะทำให้ชีวิตของเราสะดวก ติดตามได้ง่าย สบาย ซื้อขายสับเปลี่ยนได้เร็ว และประหยัดเวลา ไม่ต้องเฝ้าหน้าจออีกต่อไป แต่หลังจากที่ลงทุนไปแล้วทุก ๆ 1 ปี อย่าลืมกลับมาดูพอร์ตการลงทุนและปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่รับได้ ขอให้ทุกคนโชคดีและประสบความสำเร็จในการลงทุน
การลงทุนต้อนรับปีกุนในปี 2562 นี้ อาจจะไม่หมูอย่างชื่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมา การลงทุนน่าจะมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น สำหรับคนที่ต้องการวางแผนการลงทุนตั้งแต่ต้นปีหรือไม่มีเวลาติดตามข้อมูลข่าวสาร กระปุกดอทคอม จึงขอนำเทคนิคดี ๆ จาก K-Expert ธนาคารกสิกรไทย ในการลงทุนผ่านกองทุนรวมด้วยเครื่องมือออนไลน์ที่จะช่วยให้การลงทุนไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป
1. เช็กข้อมูลกองทุนก่อนซื้อและติดตามผลตอบแทนได้ง่าย
ก่อนจะลงทุนในกองทุนรวม เราสามารถเช็กข้อมูลกองทุนก่อนซื้อ เช่น กราฟราคาของหน่วยลงทุน (NAV) หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet) ประวัติการจ่ายเงินปันผล และผลการดำเนินงานย้อนหลัง อีกทั้งยังสามารถเปรียบเทียบกองทุนที่สนใจได้ โดยเปรียบเทียบกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวกันผ่านทางเครื่องมือออนไลน์ได้เลย และหลังจากลงทุนไปแล้ว สามารถติดตามผลตอบแทนได้ทุกที่ทุกเวลา เปรียบเทียบพอร์ตตัวเองกับพอร์ตที่แนะนำได้ โดยดูว่าผลตอบแทนย้อนหลังต่อปีในอดีตที่เราลงทุนทำได้มากหรือน้อยกว่าพอร์ตที่แนะนำ แล้วควรจะปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร
2. ซื้อ-ขายสับเปลี่ยนได้เร็วทันใจ
(อ่านข่าวหุ้นไทย << ข่าวหุ้นวันนี้ การลงทุนที่น่าสนใจได้ที่นี่)
สำหรับกองทุนลดหย่อนภาษี เช่น RMF ที่มีหลายนโยบายการลงทุนก็สามารถสับเปลี่ยนได้รวดเร็วทันใจผ่านเครื่องมือออนไลน์ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงที่คิดว่าหุ้นจะลงต่อ สามารถสับเปลี่ยน RMF ที่เป็นกองทุนหุ้นมายัง RMF ที่เป็นตราสารหนี้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนได้
3. ตัวช่วยประหยัดเวลาไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ
การตั้ง DCA ซื้อกองทุนล่วงหน้า ในภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวน สำหรับคนที่ไม่มีเวลาจับจังหวะการลงทุน หรือ กลัวซื้อผิดทาง แนะนำให้ทำการซื้อแบบเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Average-DCA) คือการลงทุนเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน ข้อดีคือการสร้างวินัยในการเก็บออม และได้ต้นทุนเฉลี่ยในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป โดยสามารถสร้างแผนการซื้อล่วงหน้าเป็นรายเดือนผ่านทางเครื่องมือออนไลน์ เช่น การตั้งคำสั่ง DCA สำหรับซื้อกองทุน LTF เพื่อลดหย่อนภาษี โดยยอดซื้อต่อเดือนคำนวณเบื้องต้นได้ดังนี้
จำนวนยอดเงิน DCA ต่อเดือน = (ประมาณการรายได้ขั้นต่ำปีนี้ทั้งปี *15%)/12
โดยสามารถเลือกวันที่ต้องการลงทุนได้ แนะนำให้เลือกวันที่ลงทุนหลังจากวันที่เงินเดือนออก เพื่อเป็นการสร้างวินัยในการออมและลงทุน
K-Expert Action
• ศึกษารายละเอียดเงื่อนไขของกองทุนรวมที่สนใจใน Fund Fact Sheet ก่อนตัดสินใจลงทุน
• ลงทุนในกองทุนรวมแบบ DCA ทุกเดือน เพื่อสร้างวินัยในการลงทุนและมีโอกาสได้ต้นทุนเฉลี่ยในราคาไม่สูงเกินไป
>> อ่านเพิ่มเติม กองทุนรวม คืออะไร <<