บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกดเงินสดได้ไหม เงินช่วยเหลือประเภทไหนที่ถอนออกมาจากตู้ ATM ได้บ้าง และจะเติมเงินเข้าบัตรได้อย่างไร เรามีคำตอบมาบอก !
บัตรคนจน หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นสวัสดิการของรัฐที่ให้วงเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยทุก ๆ เดือน สำหรับรูดซื้อสินค้าต่าง ๆ ที่จำเป็น, ค่าเดินทางรถโดยสารสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รถ บขส. และรถไฟ รวมทั้งเงินช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ตามมาตรการที่ออกมา ซึ่งก็มีผู้ถือบัตรหลายคนมีคำถามว่า เงินส่วนไหนที่เราสามารถถอนออกมาเป็นเงินสดได้บ้าง หรือจะนำบัตรคนจนไปใช้เป็นเหมือนบัตร ATM เลยได้ไหม ใครยังสงสัยเรื่องนี้อยู่ มาดูรายละเอียดกันชัด ๆ
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกดเงินสดได้ไหม
บัตรคนจนจะแบ่งวงเงินในบัตรเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
เช่น เงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคร้านธงฟ้าประชารัฐ 200-300 บาท/เดือน, ค่าโดยสารรถสาธารณะ 500 บาท/เดือน, ค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาท ต่อ 3 เดือน
สำหรับส่วนนี้ผู้ถือบัตรไม่สามารถกดหรือถอนออกมาเป็นเงินสดได้ เพราะเป็นวงเงินที่สำรองไว้ใช้ผ่าน EDC ของหน่วยงาน หรือร้านค้าที่กำหนดเท่านั้น
2. วงเงินที่ใส่ลงไปใน e-Money
เช่น เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ, ค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำประปา, เงินคืนภาษี VAT 5% จากการใช้บัตรรูดซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งจะสามารถกดเป็นเงินสดได้เลย
ทั้งนี้ จากข้อมูลในเดือนกันยายน 2564 วงเงินที่สามารถถอนจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ มีดังนี้
วิธีกดเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
เราสามารถถอนเงินสดจากบัตรคนจนได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย โดยทำตามขั้นตอนคือ
1. สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใส่รหัส 6 หลัก
2. เมื่อเข้าหน้าเมนู ให้กดปุ่ม "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ"
หากตู้ ATM ไหนไม่มีให้กดเลือก "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" จะไม่สามารถถอนเงินจากบัตรได้ ดังนั้น ต้องหาตู้ ATM ที่เมื่อสอดบัตรและใส่รหัสเข้าไปแล้ว มีข้อความให้กดเลือก "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" แบบนี้
3. กดปุ่ม "ขอดูยอดเงินคงเหลือ"
เพื่อตรวจสอบว่ามีเงินโอนเข้ามาหรือยัง หรือมียอดเงินที่สามารถกดได้เท่าไร โดยยอดเงินคงเหลือที่ใช้ได้จะแสดงให้เห็นในหน้าจอ
4. ระบบจะถามว่า ท่านต้องการบริการอื่นอีกหรือไม่ หากต้องการถอนเงิน ให้กดปุ่ม "ต้องการ"
5. หน้าจอจะกลับมาที่หน้าเมนู หลังจากนั้นให้กดปุ่ม "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" อีกครั้ง
6. กดปุ่ม "ถอนเงิน"
7. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการถอน (ขั้นต่ำ 100 บาท ถอนได้ไม่เกินครั้งละ 20,000 บาท)
8. เช็กจำนวนเงินที่ต้องการถอน หากถูกต้องให้กดปุ่ม "ถูกต้อง" แล้วรอรับเงิน
ลืมรหัสกดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทำอย่างไร ?
หากลืมรหัสบัตร ให้ทำการเปลี่ยนรหัสได้ที่ตู้ ATM ตามขั้นตอนต่อไปนี้
วิธีเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
การกดเงินสดบัตรคนจนนั้น นอกจากวงเงินในส่วน e-Money แล้ว ยังสามารถทำได้ด้วยการเติมเงินเข้าไปในบัตร ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าบัตรคนจนสามารถเติมเงิน-ฝากเงินได้เหมือนกับบัตร ATM ทั่วไปเลย
การเติมเงินเข้าบัตรคนจน สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. เติมเงินผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย
ภาพจาก Winning7799 / Shutterstock.com
โดยนำบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทย ที่ต้องการหักเงินเข้าบัตรคนจน ไปทำรายการได้เลย ณ ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย ตามขั้นตอนต่อไปนี้
- เลือกหัวข้อ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ"
- เลือก "เติมเงินเข้าบัตรสวัสดิการฯ"
- เลือกประเภทบัญชีที่ต้องการหักบัญชี ได้แก่ ออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (บัตร ATM เราเป็นเงินฝากประเภทไหนก็เลือกประเภทนั้น)
- ใส่หมายเลข 16 หลักของบัตรคนจนที่ต้องการเติมเงินเข้าไป
- เลือกประเภทบัญชีที่ต้องการหักบัญชี ได้แก่ ออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (บัตร ATM เราเป็นเงินฝากประเภทไหนก็เลือกประเภทนั้น)
- ใส่หมายเลข 16 หลักของบัตรคนจนที่ต้องการเติมเงินเข้าไป
- ตรวจสอบหมายเลขให้ดี แล้วกด "ถูกต้อง"
- ระบุจำนวนเงินที่ต้องการโอนเข้าไปในบัตร ตั้งแต่ 100-30,000 บาท แล้วกด "ถูกต้อง"
- ระบุจำนวนเงินที่ต้องการโอนเข้าไปในบัตร ตั้งแต่ 100-30,000 บาท แล้วกด "ถูกต้อง"
2. เติมเงินผ่านเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติของธนาคารกรุงไทย (ADM)
โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
- สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เครื่อง ADM
- เลือกหัวข้อ "ฝาก/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์"
- กดปุ่ม "บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์"
- ตรวจสอบเลขบัญชีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- นำเงินสดที่ต้องการฝากใส่ลงในเครื่อง
- ตรวจสอบความถูกต้องแล้วกด "ถูกต้อง"
- เลือกหัวข้อ "ฝาก/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์"
- กดปุ่ม "บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์"
- ตรวจสอบเลขบัญชีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- นำเงินสดที่ต้องการฝากใส่ลงในเครื่อง
- ตรวจสอบความถูกต้องแล้วกด "ถูกต้อง"
3. เติมเงินผ่านธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา ทั่วประเทศ
ภาพจาก Bai-Bua\'s Dad / Shutterstock.com
ภาพจาก ธนาคารกรุงไทย
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสมัคร Internet Banking ได้ไหม
อีกหนึ่งความสามารถของบัตรคนจนที่หลายคนอาจยังไม่รู้ คือ สามารถสมัครใช้งาน Internet Banking ได้ด้วย ผ่านบริการ KTB netbank ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งผู้สมัครจะต้องมีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทยด้วย โดยสามารถสมัคร KTB netbank ได้่ทั้งที่สาขาธนาคารกรุงไทยโดยตรง หรือตู้ ATM ตามขั้นตอนต่อไปนี้
***หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก