ลดหย่อนภาษี สงกรานต์ ดีเดย์ 9-17 เมษายนนี้ ใครกันที่ได้ประโยชน์ แล้วเราจะได้เงินคืนภาษีเท่าไร มาเปิดเงื่อนไขมาตรการลดภาษีให้เห็นกันชัด ๆ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่แล้วและเตรียมจับจ่ายใช้สอยเพื่อการท่องเที่ยวและรับประทานอาหารในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อย่าลืมขอใบกำกับภาษีในการใช้จ่ายระหว่างวันที่ 9-17 เมษายน 2559 มาด้วยนะคะ เพราะรัฐบาลเขาใจดีประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงสงกรานต์ให้นำค่าใช้จ่ายในการเที่ยว-กิน-นอนในช่วงเทศกาลนี้มาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
ลดหย่อนภาษี สงกรานต์ ใครได้ประโยชน์บ้าง ?
ก่อนอื่นต้องย้ำว่าไม่ใช่ทุกคนนะคะที่จะได้ลดหย่อนภาษีจากโครงการนี้ เพราะหากคุณเป็นคนที่ไม่มีรายได้ หรือไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกปีอยู่แล้ว ก็จะไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ แต่สำหรับคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ทุกปี คนเหล่านี้นี่เองที่จะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวหรือรับประทานอาหารในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์มากกว่าใครเพื่อนเห็นจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่เสียภาษีในฐานที่สูง
ลดหย่อนภาษี สงกรานต์ ได้เงินคืนเท่าไร ?
สามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งจะต้องคำนวณตามขั้นภาษีของคุณด้วยค่ะ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ดูได้จากตารางข้างล่างนี้ ซึ่งอัตราภาษีแบ่งเป็นขั้นตามรายได้สุทธิ
สรุปได้ว่าผู้มีเงินได้จะได้รับภาษีคืนเท่าไร ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของตัวเอง เช่น ผู้ที่มีฐานภาษี 35% หากจ่ายเงินสำหรับการท่องเที่ยวและรับประทานอาหารไป 15,000 บาท จะได้ภาษีคืนถึง 5,250 บาทเลยทีเดียว ซึ่งเป็นอัตราคืนภาษีสูงสุดของนโยบายนี้ ขณะที่ผู้ที่มีฐานภาษี 5% หากจ่ายเงินค่าพักโรงแรมและการท่องเที่ยวไป 15,000 บาทเต็มจำนวน ก็จะได้ภาษีคืนเพียง 750 บาทเท่านั้น
ลดหย่อนภาษีช่วงสงกรานต์ได้ ต้องเป็นค่าใช้จ่ายประเภทไหน ?
อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าเป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการเที่ยว-กิน-นอน ระหว่างวันที่ 9-17 เมษายนนี้เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับค่าช้อปปิ้งซื้อของเหมือนปลายปีที่แล้วนะคะ และค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมแล้วต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
- ค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว เช่น ค่าแพ็กเกจทัวร์ในประเทศ, ค่ามัคคุเทศก์นำเที่ยว
- ค่าที่พัก ต้องเป็นโรงแรมในประเทศ แต่ไม่รวมการทำสปา หรือเล่นกีฬาทางน้ำ
- ค่าอาหารและเครื่องดื่มจากร้านอาหารหรือโรงแรม แต่ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
* หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว และที่พัก ยังสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มอีก 15,000 บาท รวมเป็นไม่เกิน 30,000 บาท
ลดหย่อนภาษีช่วงสงกรานต์ ใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง ?
สำหรับคนที่จะต้องการลดหย่อนภาษีต้องขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจากผู้ประกอบการด้วยค่ะ โดยหากเราไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่ต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรให้ผู้ขายสินค้าทราบก็ได้ แจ้งเพียงแค่ชื่อ-นามสกุล ก็สามารถออกใบกำกับภาษีได้แล้ว (อ้างอิงจากข่าวประชาสัมพันธ์กรมสรรพากร 14/2559 วันที่ 30 มีนาคม 2559) หรือถ้าจะให้สะดวกที่สุดก็พกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไปด้วย เพื่อให้ผู้ประกอบการกรอกข้อมูลส่วนตัวของเราลงในใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ในใบกำกับภาษี นอกจากจะต้องระบุชื่อ-นามสกุล ผู้ชำระเงินในการใช้บริการแล้ว จะต้องระบุจำนวนเงิน รวมทั้งวัน เดือน ปีที่ใช้บริการไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อเราได้ใบกำกับภาษีมาแล้วก็ต้องเก็บหลักฐานไว้สำหรับยื่นขอลดหย่อนภาษีปี 2559 ในช่วงต้นปี 2560 ค่ะ
- ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ คืออะไร ต้องระบุข้อมูลอะไรไว้บ้าง
ขอย้ำว่าการซื้อสินค้า รับบริการ รวมทั้งการชำระค่าบริการนั้น ๆ ต้องเกิดขึ้นภายในวันที่ 9-17 เมษายนเท่านั้น สรุปง่าย ๆ ก็คือ เราต้องไปเที่ยว ทานอาหาร หรือเข้าพักโรงแรมในช่วงวันที่ 9-17 เมษายน ไม่สามารถจองล่วงหน้าแล้วค่อยไปใช้บริการช่วงเวลาอื่นได้นั่นเอง
สำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษีในอัตราสูงและมีแผนท่องเที่ยว หรือพาครอบครัวไปทานอาหารในช่วงเทศกาลสงกรานต์อยู่แล้วก็คงจะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้พอสมควรเลย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กรมสรรพากร
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่แล้วและเตรียมจับจ่ายใช้สอยเพื่อการท่องเที่ยวและรับประทานอาหารในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อย่าลืมขอใบกำกับภาษีในการใช้จ่ายระหว่างวันที่ 9-17 เมษายน 2559 มาด้วยนะคะ เพราะรัฐบาลเขาใจดีประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงสงกรานต์ให้นำค่าใช้จ่ายในการเที่ยว-กิน-นอนในช่วงเทศกาลนี้มาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
ฟังแล้วอย่าเพิ่งตาโต ! คิดว่าลดได้ถึง 15,000 บาทเลยหรือ เพราะจริง ๆ แล้วต้องนำไปคำนวณภาษีตามขั้นภาษีที่คุณเสียอยู่ก่อน เหมือนกับมาตรการช้อปปิ้งลดหย่อนภาษีที่จัดแคมเปญไปเมื่อปลายปี 2558 นั่นแหละค่ะ เอาเป็นว่าวันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปดูหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของนโยบายนี้ รวมทั้งจำนวนภาษีที่จะได้ลดหย่อนหากเราใช้จ่ายไป
ลดหย่อนภาษี สงกรานต์ ใครได้ประโยชน์บ้าง ?
ก่อนอื่นต้องย้ำว่าไม่ใช่ทุกคนนะคะที่จะได้ลดหย่อนภาษีจากโครงการนี้ เพราะหากคุณเป็นคนที่ไม่มีรายได้ หรือไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกปีอยู่แล้ว ก็จะไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ แต่สำหรับคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ทุกปี คนเหล่านี้นี่เองที่จะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวหรือรับประทานอาหารในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์มากกว่าใครเพื่อนเห็นจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่เสียภาษีในฐานที่สูง
ลดหย่อนภาษี สงกรานต์ ได้เงินคืนเท่าไร ?
สามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งจะต้องคำนวณตามขั้นภาษีของคุณด้วยค่ะ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ดูได้จากตารางข้างล่างนี้ ซึ่งอัตราภาษีแบ่งเป็นขั้นตามรายได้สุทธิ
สรุปได้ว่าผู้มีเงินได้จะได้รับภาษีคืนเท่าไร ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของตัวเอง เช่น ผู้ที่มีฐานภาษี 35% หากจ่ายเงินสำหรับการท่องเที่ยวและรับประทานอาหารไป 15,000 บาท จะได้ภาษีคืนถึง 5,250 บาทเลยทีเดียว ซึ่งเป็นอัตราคืนภาษีสูงสุดของนโยบายนี้ ขณะที่ผู้ที่มีฐานภาษี 5% หากจ่ายเงินค่าพักโรงแรมและการท่องเที่ยวไป 15,000 บาทเต็มจำนวน ก็จะได้ภาษีคืนเพียง 750 บาทเท่านั้น
ภาพจาก กรมสรรพากร
ลดหย่อนภาษีช่วงสงกรานต์ได้ ต้องเป็นค่าใช้จ่ายประเภทไหน ?
อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าเป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการเที่ยว-กิน-นอน ระหว่างวันที่ 9-17 เมษายนนี้เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับค่าช้อปปิ้งซื้อของเหมือนปลายปีที่แล้วนะคะ และค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมแล้วต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
- ค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว เช่น ค่าแพ็กเกจทัวร์ในประเทศ, ค่ามัคคุเทศก์นำเที่ยว
- ค่าที่พัก ต้องเป็นโรงแรมในประเทศ แต่ไม่รวมการทำสปา หรือเล่นกีฬาทางน้ำ
- ค่าอาหารและเครื่องดื่มจากร้านอาหารหรือโรงแรม แต่ไม่รวมการซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
* หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว และที่พัก ยังสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มอีก 15,000 บาท รวมเป็นไม่เกิน 30,000 บาท
สำหรับคนที่จะต้องการลดหย่อนภาษีต้องขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจากผู้ประกอบการด้วยค่ะ โดยหากเราไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่ต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรให้ผู้ขายสินค้าทราบก็ได้ แจ้งเพียงแค่ชื่อ-นามสกุล ก็สามารถออกใบกำกับภาษีได้แล้ว (อ้างอิงจากข่าวประชาสัมพันธ์กรมสรรพากร 14/2559 วันที่ 30 มีนาคม 2559) หรือถ้าจะให้สะดวกที่สุดก็พกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไปด้วย เพื่อให้ผู้ประกอบการกรอกข้อมูลส่วนตัวของเราลงในใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ในใบกำกับภาษี นอกจากจะต้องระบุชื่อ-นามสกุล ผู้ชำระเงินในการใช้บริการแล้ว จะต้องระบุจำนวนเงิน รวมทั้งวัน เดือน ปีที่ใช้บริการไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อเราได้ใบกำกับภาษีมาแล้วก็ต้องเก็บหลักฐานไว้สำหรับยื่นขอลดหย่อนภาษีปี 2559 ในช่วงต้นปี 2560 ค่ะ
- ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ คืออะไร ต้องระบุข้อมูลอะไรไว้บ้าง
ขอย้ำว่าการซื้อสินค้า รับบริการ รวมทั้งการชำระค่าบริการนั้น ๆ ต้องเกิดขึ้นภายในวันที่ 9-17 เมษายนเท่านั้น สรุปง่าย ๆ ก็คือ เราต้องไปเที่ยว ทานอาหาร หรือเข้าพักโรงแรมในช่วงวันที่ 9-17 เมษายน ไม่สามารถจองล่วงหน้าแล้วค่อยไปใช้บริการช่วงเวลาอื่นได้นั่นเอง
สำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษีในอัตราสูงและมีแผนท่องเที่ยว หรือพาครอบครัวไปทานอาหารในช่วงเทศกาลสงกรานต์อยู่แล้วก็คงจะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้พอสมควรเลย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กรมสรรพากร