เปิดรายละเอียด มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 หลัง ครม. อนุมัติ เป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ลดหย่อนภาษี สูงสุด 5 หมื่นบาท มีรายละเอียด หลักเกณฑ์ เงื่อนไขอย่างไรบ้าง
จากกรณี ครม. มีมติอนุมัติหลักการมาตรการ "Easy E-Receipt 2.0" เป็นของขวัญปีใหม่ปี 2568 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขยายผลจากมาตรการเติม "Easy e-Receipt" โดยให้ประชาชนซื้อสินค้าหรือบริการ จากร้านที่ออกใบกำกับภาษี/ใบรับ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice หรือ e-Receipt) ภายในวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 และนำไปลดหย่อนภาษีได้ สูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท
ล่าสุด (24 ธันวาคม 2567) กรมสรรพากร ได้เปิดเผยรายละเอียด หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เกี่ยวกับมาตรการ "Easy E-Receipt 2.0" ดังนี้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร : The Revenue Department
ให้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท ดังนี้
1. หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับซื้อสินค้าและบริการทั่วไป
- จ่ายให้ผู้ประกอบการจด VAT : ต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) แบบเต็มรูป เป็นหลักฐาน
- จ่ายให้ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จด VAT : ต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน
2. หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้ (ต้องมี e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หรือ e-Receipt เป็นหลักฐาน)
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน ที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 1 จะเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ตามข้อ 2 ก็ได้
- e-Tax Invoice และ e-Receipt ต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี อากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร : The Revenue Department
กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จด VAT จะต้องเป็นสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้
- ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
- ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (รถจักรยานยนต์ รวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์) และค่าซื้อเรือ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลาของมาตรการ
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าที่พัก โรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย หรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร : The Revenue Department
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
จากกรณี ครม. มีมติอนุมัติหลักการมาตรการ "Easy E-Receipt 2.0" เป็นของขวัญปีใหม่ปี 2568 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขยายผลจากมาตรการเติม "Easy e-Receipt" โดยให้ประชาชนซื้อสินค้าหรือบริการ จากร้านที่ออกใบกำกับภาษี/ใบรับ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice หรือ e-Receipt) ภายในวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 และนำไปลดหย่อนภาษีได้ สูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท
ล่าสุด (24 ธันวาคม 2567) กรมสรรพากร ได้เปิดเผยรายละเอียด หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เกี่ยวกับมาตรการ "Easy E-Receipt 2.0" ดังนี้
หลักเกณฑ์ มาตรการ "Easy E-Receipt 2.0"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร : The Revenue Department
ให้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท ดังนี้
1. หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับซื้อสินค้าและบริการทั่วไป
- จ่ายให้ผู้ประกอบการจด VAT : ต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) แบบเต็มรูป เป็นหลักฐาน
- จ่ายให้ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จด VAT : ต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน
2. หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้ (ต้องมี e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หรือ e-Receipt เป็นหลักฐาน)
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน ที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
หมายเหตุ :
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 1 จะเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ตามข้อ 2 ก็ได้
- e-Tax Invoice และ e-Receipt ต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี อากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย
เงื่อนไขเพิ่มเติม มาตรการ "Easy E-Receipt 2.0"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร : The Revenue Department
กรณีการจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จด VAT จะต้องเป็นสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้
- ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
- ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
สินค้าหรือค่าบริการ ที่ไม่สามารถใช้สิทธิ "Easy E-Receipt 2.0"
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (รถจักรยานยนต์ รวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์) และค่าซื้อเรือ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลาของมาตรการ
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าที่พัก โรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย หรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร : The Revenue Department
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร