หุ้นกู้ออกใหม่ ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2567 มีหลายชุดที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนทั่วไป (PO) ได้เลือกจับจอง เพื่อรับดอกเบี้ยที่ดีกว่าเงินฝากทั่วไป
หุ้นกู้ คือ ตราสารหนี้ของบริษัทเอกชนที่ออกมาระดมทุนจากคนทั่วไป เพื่อนำเงินไปใช้ขยายกิจการ หรือชำระหนี้หุ้นกู้รุ่นก่อนหน้า จึงมักให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากทั่วไป และได้กลายเป็นช่องทางในการสร้างผลตอบแทนที่ดีของนักลงทุน โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ มีหุ้นกู้ออกใหม่เสนอขายให้นักลงทุนทั่วไป (PO) หลายชุด ทั้งหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ใครสนใจลงทุน ชุดไหน ลองศึกษารายละเอียดดูเลย
หุ้นกู้ออกใหม่
เดือนพฤศจิกายน 2567
สำหรับหุ้นกู้ที่เสนอขายให้กับนักลงทุนทั่วไป (PO) ในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีหลายชุด ดังนี้
1. บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL)
ผู้ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ ปูนสำเร็จรูป พอลิเมอร์ชนิดพิเศษ กระเบื้องคอนกรีต ไฟเบอร์ซีเมนต์ อิฐมวลเบา และสี รวมถึงทำธุรกิจรับกำจัดกากอุตสาหกรรม ธุรกิจน้ำดื่ม เสนอขายหุ้นกู้ 2 ชุด ในเดือนพฤศจิกายน 2567 คือ
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุและอัตราดอกเบี้ย :
- ชุดที่ 1 อายุ 4 ปี 4 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.85% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 8 มีนาคม 2572
- ชุดที่ 2 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.00% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2572
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : A- แนวโน้มคงที่
- ระดับความเสี่ยง : 5 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 5-7 พฤศจิกายน 2567
- ช่องทางการขาย : ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ, บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า, บริษัทหลักกรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี, บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ, บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์, บริษัทหลักทรัพย์ พาย, บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก, บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป, บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์, บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล, บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์, บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส, บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน, บริษัทหลักทรัพย์ ทรินิตี้
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2. บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS)
ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง และธุรกิจดิจิทัลเซอร์วิส เสนอขายหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน 2 ชุด สำหรับนักลงทุนทั่วไป และ 3 ชุด สำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่หรือผู้ลงทุนสถาบัน โดยชุดที่เสนอขายนักลงทุนทั่วไป ได้แก่ ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ดังนี้
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนระยะยาว สกุลเงินบาท ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
- อายุและอัตราดอกเบี้ย :
- ชุดที่ 1 อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.74% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 13 พฤศจิกายน 2571
- ชุดที่ 2 อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.92% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 13 พฤศจิกายน 2574
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 6 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : AAA เครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ
- ระดับความเสี่ยง : 2 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 8 และ 11-12 พฤศจิกายน 2567
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารยูโอบี, บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3. บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (BGRIM)
บริษัทโฮลดิ้งประกอบธุรกิจด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิ์ไถ่ถอนก่อนกำหนด และมีสิทธิ์เลื่อนชำระดอกเบี้ยโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ดังนี้
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Perpetual Bond) หรือหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์
- อัตราดอกเบี้ย :
- อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-5 คงที่ 5.75% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ยปีที่ 6-25 เท่ากับผลรวมของ (ก) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี (ข) Initial Credit Spread และ (ค) อัตรา 0.25% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ยปีที่ 26-50 เท่ากับผลรวมของ (ก) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี (ข) Initial Credit Spread และ (ค) อัตรา 1.00% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ยปีที่ 51 เป็นต้นไป เท่ากับผลรวมของ (ก) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี (ข) Initial Credit Spread และ (ค) อัตรา 2.00% ต่อปี
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 6 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : BBB+ แนวโน้มคงที่
- ระดับความเสี่ยง : 7 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท หรือผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิ์ที่จะไถ่ถอนหุ้นกู้ทั้งหมดตามแต่จะเห็นสมควรในวันแรกที่สามารถใช้สิทธิ์ไถ่ถอนหุ้นกู้ (วันครบกำหนด 5 ปี นับจากวันออกหุ้นกู้แล้ว ซึ่งคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2572) หรือวันใด ๆ ภายหลังจากวันแรกที่สามารถใช้สิทธิ์ไถ่ถอนหุ้นกู้ หรือภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 14-15 และ 18-19 พฤศจิกายน 2567
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย), บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE)
ผู้ให้บริการสื่อสารครบวงจรด้วยเครือข่ายประสิทธิภาพสูง รวมถึงดิจิทัลมีเดียและคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต Wi-Fi โทรทัศน์ และดิจิทัลแพลตฟอร์ม เสนอขายหุ้นกู้ 5 ชุด ในเดือนพฤศจิกายน 2567 ดังนี้
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุและอัตราดอกเบี้ย :
- ชุดที่ 1 อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.95% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2569
- ชุดที่ 2 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.40% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2570
- ชุดที่ 3 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.70% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2572
- ชุดที่ 4 อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.86% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2574
- ชุดที่ 5 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.00% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2577
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : A+ แนวโน้มคงที่
- ระดับความเสี่ยง : 3 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ชุดที่ 1-4 ไม่มีไถ่ถอนก่อนกำหนด, ชุดที่ 5 ผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิ์ไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนด โดยจะใช้สิทธิ์ได้ภายหลังจากหุ้นกู้มีอายุครบ 5 ปี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 21-22 และ 25 พฤศจิกายน 2567
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารยูโอบี, บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
5. บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SAWAD)
ผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อย "ศรีสวัสดิ์ เงินสด ทันใจ" เสนอขายหุ้นกู้มีประกัน ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 ทั้งหมด 3 ชุด คือ
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุและอัตราดอกเบี้ย :
- ชุดที่ 1 อายุ 1 ปี 11 เดือน 26 วัน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.30% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 24 พฤศจิกายน 2569
- ชุดที่ 2 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.80% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 29 พฤศจิกายน 2570
- ชุดที่ 3 อายุ 3 ปี 11 เดือน 26 วัน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.95% ต่อปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 24 พฤศจิกายน 2571
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : BBB+ แนวโน้มคงที่
- ระดับความเสี่ยง : 3 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : 26-28 พฤศจิกายน 2567
- ช่องทางการขาย : ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ, บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล, บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ, บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต, บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์, บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์, บริษัทหลักทรัพย์ พาย, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์, บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า, บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
6. บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (SCGP)
ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร เสนอขายหุ้นกู้ 1 ชุด ในเดือนพฤศจิกายน 2567 โดยแบ่งการจองเป็น 2 ช่วง
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนถือหุ้นกู้
- อายุ : 3 ปี 11 เดือน 29 วัน ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 1 ธันวาคม 2571
- อัตราดอกเบี้ย : 3.30% ต่อปี
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 3 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : A
- ระดับความเสี่ยง : 3 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ไม่มี
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- วันที่เปิดจอง : แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
- ช่วงที่ 1 วันที่ 30-31 ตุลาคม และ 1-4 พฤศจิกายน 2567 สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2564 ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 (SCGP24DA) จองซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท
- ช่วงที่ 2 วันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน (ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นกู้ SCGP24DA หรือไม่) จองซื้อหุ้นกู้ขั้นต่ำ 1,000,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หุ้นกู้ออกใหม่
เดือนธันวาคม 2567
1. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC)
ผู้ประกอบธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ เสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนเป็นครั้งแรกต่อประชาชนทั่วไป
- ประเภทหุ้นกู้ : หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Perpetual Bond) ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิ์ไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด และมีสิทธิ์เลื่อนชำระดอกเบี้ยโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
- อัตราดอกเบี้ย : อัตราดอกเบี้ยในช่วง 5 ปี 6 เดือน รอประกาศ
- จ่ายดอกเบี้ย : ทุก 6 เดือน
- อันดับความน่าเชื่อถือ : A+
- ระดับความเสี่ยง : 7 (จากทั้งหมด 8 ระดับ)
- การไถ่ถอนก่อนกำหนด : ผู้ออกหุ้นกู้ใช้สิทธิ์ไถ่ถอนหุ้นกู้ทั้งหมดได้ตั้งแต่วันแรกที่ครบกำหนด 5 ปี 6 เดือน หรือวันใด ๆ ภายหลังจากวันแรกที่สามารถใช้สิทธิ์ไถ่ถอนหุ้นกู้ได้
- ผู้มีสิทธิ์จองซื้อ : ประชาชนทั่วไป
- ยอดขั้นต่ำในการจองซื้อ : 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
- วันที่เปิดจอง : รอประกาศ
- ช่องทางการขาย : ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยธนชาต, บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร, บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย), บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย)
- ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สิ่งที่ควรพิจารณา
ก่อนลงทุนหุ้นกู้
- คุณสมบัติของผู้จองซื้อ : ผู้ลงทุนหุ้นกู้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม หากเราเป็นมือใหม่หรือเพิ่งเริ่มลงทุนให้พิจารณาหุ้นกู้ที่ระบุว่าเปิดขายให้นักลงทุนทั่วไป (Public Offering : PO) เพราะจะไม่สามารถซื้อหุ้นกู้ของผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth : HNW) หรือผู้ลงทุนสถาบัน (Institutional Investor : II) ได้
- เช็กอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ : หุ้นกู้ที่มีเครดิตเรตติ้งสูง เช่น AAA ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่ำต่อการผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม เครดิตที่ดีไม่ได้การันตีว่าจะไม่เกิดการผิดนัดชำระหนี้ เราจึงควรศึกษาองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น งบการเงิน ผลประกอบการ หนี้สิน กระแสเงินสด ฯลฯ ของบริษัทที่สนใจลงทุนด้วย
- อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ : อัตราดอกเบี้ยก็คือผลตอบแทนที่เราจะได้รับจากการให้บริษัทกู้ยืมเงินนั่นเอง โดยหลักการคือเลือกหุ้นกู้ที่ให้ดอกเบี้ยสูง เหมาะสมกับเครดิตเรตติ้งและความเสี่ยงที่เราได้
- ระยะเวลาไถ่ถอนหุ้นกู้ : หมายถึงระยะเวลาที่จะได้รับเงินต้นคืน หากต้องการสภาพคล่องสูง ควรเลือกหุ้นกู้ที่มีระยะเวลาสั้น แต่ถ้าใช้เงินเย็นลงทุน ไม่จำเป็นต้องใช้ในเร็ว ๆ นี้ สามารถเลือกหุ้นกู้ที่มีระยะเวลานานขึ้นเพื่อรับดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ
- วัตถุประสงค์ของผู้ออกหุ้นกู้ : การทราบวัตถุประสงค์ในการระดมทุนของบริษัทจะช่วยให้ประเมินความเสี่ยงในการลงทุนได้ เพราะแม้ว่าหุ้นกู้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่บริษัทจะผิดนัดชำระหนี้ได้
- สภาพคล่อง : หากต้องการขายหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด ควรเลือกหุ้นกู้ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถขายต่อได้ง่าย
- ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ : หากเกิดปัญหากับบริษัทผู้ออกหุ้นกู้จนไม่สามารถคืนเงินลงทุนและจ่ายดอกเบี้ยได้ เท่ากับว่าเราอาจจะไม่ได้เงินต้นคืนเลย จึงต้องประเมินให้ดีก่อนลงทุน และเลือกหุ้นกู้ที่มีระดับความเสี่ยงที่สอดคล้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง
หุ้นกู้ มีความเสี่ยงอะไรบ้าง
- ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ : เกิดได้ในกรณีที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ประสบปัญหาทางการเงินจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด นักลงทุนอาจสูญเสียเงินต้นทั้งหมดหรือบางส่วน หรืออาจถูกขอให้ขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป
- ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ : บริษัทผู้ออกหุ้นกู้อาจประสบปัญหาทางธุรกิจเพราะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน หรือในกรณีที่มีข่าวด้านลบของบริษัทนั้นออกมา อาจส่งผลให้นักลงทุนไม่กล้าซื้อหุ้นกู้ชุดต่อไป บริษัทจึงไม่สามารถหาเงินมาจ่ายคืนให้นักลงทุนได้
- ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย : เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น มูลค่าของหุ้นกู้ที่มีอยู่จะลดลง แต่หากอัตราดอกเบี้ยตลาดลดลง นักลงทุนที่ต้องการขายหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดอาจได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าตลาด
- ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ : กรณีที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น พลังซื้อของเงินที่ได้รับจากดอกเบี้ยจะลดลง
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง : หากหุ้นกู้ที่ลงทุนไปไม่น่าสนใจในตลาดรอง เมื่อต้องการขายก่อนครบกำหนดอาจขาดทุน ต้องยอมลดราคา หรืออาจต้องใช้เวลานานในการขาย
- ความเสี่ยงทางกฎหมาย : การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับบางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้
การลงทุนในหุ้นกู้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างพอร์ตลงทุนที่น่าสนใจ แต่ก่อนตัดสินใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพื่อเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่รับได้
บทความที่เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้
ขอบคุณภาพจาก : เฟซบุ๊ก Thaibma : สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (1), (2), (3), (4), (5), (6), (7), pttgcgroup.com
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (1), (2), (3), (4), (5), (6), (7), pttgcgroup.com