สอนวิธีคิด VAT ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งการคิด VAT ใน และ VAT นอก มีสูตรคำนวณยังไงบ้าง มาดูกันเลย
เมื่อเราซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของทั่วไป กินร้านอาหาร จ่ายค่าอินเทอร์เน็ต และอื่น ๆ อีกมากมาย จะสังเกตเห็นในบิลว่ามีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วย ซึ่งในบางกรณีทางร้านจะแจ้งราคาปกติก่อนที่จะบวก VAT เพิ่มตอนจ่ายเงิน แต่ที่บอกราคารวม VAT มาให้แล้วตั้งแต่แรกเลยก็มีเช่นกัน เพราะฉะนั้นในวันนี้เราจึงจะมาสอนวิธีการคำนวณ VAT เพื่อที่จะได้รู้ว่าจริง ๆ แล้วสิ่งของที่เราซื้อหรือใช้บริการมีราคาเท่าไร หรือถ้าเป็นราคาที่ยังไม่รวม VAT จะต้องบวกเพิ่มอีกเท่าไร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Value Added Tax (VAT) คือภาษีอากรประเภทหนึ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการใช้จ่ายต่าง ๆ ของประชาชน โดยให้ร้านค้าและผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บจากลูกค้าด้วยการบวกลงไปในราคาของสินค้าและบริการ แล้วจึงนำส่วน VAT ที่เก็บได้ส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อนำเข้าคลังให้รัฐบาลนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งหลังจากที่เราชำระเงินเสร็จแล้วจะได้รับใบกำกับภาษีที่มีระบุจำนวนเงินและ VAT ไว้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ เราคงทราบกันดีกว่า ประเทศไทยเก็บ VAT อยู่ที่ 7% แต่ความจริงแล้วได้กำหนดให้เก็บ VAT อยู่ที่ 10% (ภาษีมูลค่าเพิ่ม 9% และภาษีท้องถิ่นอีก 1%) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 แต่เนื่องจากในช่วงปี พ.ศ. 2540 ที่ประเทศไทยเจอวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษี VAT เหลือ 7% เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน และทุกรัฐบาลก็ได้พิจารณาต่ออายุ พ.ร.ก. ดังกล่าวทุก ๆ 2 ปี ดังนั้น เราจึงได้จ่าย VAT อยู่ที่ 7% (แบ่งเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% และภาษีท้องถิ่น 0.7%) มาตลอดจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
1. วิธีคิด VAT ใน
2. วิธีคิด VAT นอก
เครื่องคิดเลขจะมีปุ่ม % สำหรับใช้ในการคำนวณเปอร์เซ็นต์อยู่ ซึ่งสามารถใช้คำนวณ VAT ได้ง่ายขึ้น ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กดเลขราคาจริงของสินค้าและบริการนั้น ๆ
2. กดปุ่มเครื่องหมายบวก (+)
3. กดเลข 7 แล้วตามด้วยปุ่ม %
4. กดปุ่มเท่ากับ (=)
เพียงเท่านี้เครื่องคิดเลขก็จะแสดงผลลัพธ์เป็นราคาแบบรวม VAT 7% เรียบร้อยแล้วออกมาทันที