กยศ. จัดงบ 3.8 หมื่นล้านบาท สำหรับเงินกู้การศึกษาปี 2564 ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เก่า ด้าน ธนาคารออมสิน จัดโครงการผ่อนปรนการชำระหนี้ครูเลือกจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน
ภาพจาก กยศ
วันที่ 22 มิถุนายน 2564 สำนักข่าวไทย รายงานว่า นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงมาตรการช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ในส่วนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ว่า รัฐบาลเตรียมงบประมาณเพื่อช่วยเหลือจำนวน 3.8 หมื่นล้านบาท สามารถรองรับผู้กู้ในปีการศึกษา 2564 ได้จำนวน 6.24 แสนคน
นอกจากนี้ กยศ. ยังยกเลิกข้อกำหนดที่ให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืนกองทุน ในสัญญากู้ยืมเงินใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เนื่องจากเข้าใจว่าสถานการณ์โควิด-19 อาจทำให้ผู้กู้มีความยากลำบากในการหาผู้ค้ำประกัน
ล่าสุดปล่อยกู้ไปแล้วกว่า 3 พันล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติอีกส่วนหนึ่ง พร้อมยืนยันว่ามีวงเงินเหลือพร้อมให้การสนับสนุนสำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขอย่างแน่นอน
ส่วนมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ กยศ. ที่มีจำนวนกว่า 3.6 ล้านคน
และผู้ค้ำประกันอีกประมาณ 2.8 ล้านคนนั้น
ได้มีมาตรการช่วยเหลืออย่างครอบคลุมทุกกลุ่ม แบ่งเป็น
1. ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.01% ต่อปี สำหรับผู้กู้ที่ไม่เคยผิดนัด
2. ลดเบี้ยปรับ 100% สำหรับผู้กู้ที่ชำระหนี้ปิดบัญชี
3. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมด
4. ลดเงินต้น 5% สำหรับผู้กู้ที่ไม่เคยผิดนัดและชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว
5. ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% กรณีไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
สำหรับกรณีผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ ประจำปี 2563 และ 2564 ทาง กยศ. จะชะลอการฟ้องคดีไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ยกเว้นคดีที่จะขาดอายุความในปีนี้ พร้อมงดการขายทอดตลาด และในกรณีลูกหนี้ที่ถูกบังคับคดีจนถึงสิ้นปีนี้ กยศ. จะงดการขายทอดตลาด ผู้กู้ยืมเงินที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับการพักชำระหนี้เป็นเวลา 2 ปี
นอกจากนี้ ลูกหนี้ กยศ. จะยังได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษามาตรการอย่างรอบคอบก่อนประกาศใช้ อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวด ยืดเวลาผ่อนชำระ เป็นต้น
นางสาวรัชดา ระบุอีกว่า นอกจากการช่วยเหลือนักเรียนแล้ว ทางธนาคารออมสินยังได้ออกมาตรการช่วยเหลือครู และบุคลากรทางการศึกษา ผ่านโครงการ "มหกรรมผ่อนปรนการชำระหนี้ครู" เพื่อช่วยเหลือครูไม่ให้เป็น NPL ซึ่งอาจส่งผลเสียทางเครดิต และกระทบต่อหน้าที่ราชการได้ในอนาคต
โดยสามารถเลือกจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน ตามแผนการชำระหนี้ที่ธนาคารกำหนด เป็นระยะเวลา 12 เดือน หรือนานที่สุดไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยจะเปิดให้แจ้งความประสงค์ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย
ภาพจาก กยศ
วันที่ 22 มิถุนายน 2564 สำนักข่าวไทย รายงานว่า นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงมาตรการช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ในส่วนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ว่า รัฐบาลเตรียมงบประมาณเพื่อช่วยเหลือจำนวน 3.8 หมื่นล้านบาท สามารถรองรับผู้กู้ในปีการศึกษา 2564 ได้จำนวน 6.24 แสนคน
นอกจากนี้ กยศ. ยังยกเลิกข้อกำหนดที่ให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืนกองทุน ในสัญญากู้ยืมเงินใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เนื่องจากเข้าใจว่าสถานการณ์โควิด-19 อาจทำให้ผู้กู้มีความยากลำบากในการหาผู้ค้ำประกัน
ล่าสุดปล่อยกู้ไปแล้วกว่า 3 พันล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติอีกส่วนหนึ่ง พร้อมยืนยันว่ามีวงเงินเหลือพร้อมให้การสนับสนุนสำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขอย่างแน่นอน
กลุ่มที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี
1. ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.01% ต่อปี สำหรับผู้กู้ที่ไม่เคยผิดนัด
2. ลดเบี้ยปรับ 100% สำหรับผู้กู้ที่ชำระหนี้ปิดบัญชี
3. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมด
4. ลดเงินต้น 5% สำหรับผู้กู้ที่ไม่เคยผิดนัดและชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว
5. ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% กรณีไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
สำหรับกรณีผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ ประจำปี 2563 และ 2564 ทาง กยศ. จะชะลอการฟ้องคดีไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ยกเว้นคดีที่จะขาดอายุความในปีนี้ พร้อมงดการขายทอดตลาด และในกรณีลูกหนี้ที่ถูกบังคับคดีจนถึงสิ้นปีนี้ กยศ. จะงดการขายทอดตลาด ผู้กู้ยืมเงินที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับการพักชำระหนี้เป็นเวลา 2 ปี
นอกจากนี้ ลูกหนี้ กยศ. จะยังได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษามาตรการอย่างรอบคอบก่อนประกาศใช้ อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวด ยืดเวลาผ่อนชำระ เป็นต้น
ออมสินช่วยเหลือครูไม่ให้เป็น NPL เลือกชำระหนี้บางส่วนได้
นางสาวรัชดา ระบุอีกว่า นอกจากการช่วยเหลือนักเรียนแล้ว ทางธนาคารออมสินยังได้ออกมาตรการช่วยเหลือครู และบุคลากรทางการศึกษา ผ่านโครงการ "มหกรรมผ่อนปรนการชำระหนี้ครู" เพื่อช่วยเหลือครูไม่ให้เป็น NPL ซึ่งอาจส่งผลเสียทางเครดิต และกระทบต่อหน้าที่ราชการได้ในอนาคต
โดยสามารถเลือกจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน ตามแผนการชำระหนี้ที่ธนาคารกำหนด เป็นระยะเวลา 12 เดือน หรือนานที่สุดไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยจะเปิดให้แจ้งความประสงค์ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย