มาแล้ว ! มาตรการพักชำระหนี้ เยียวยาโควิดรอบ 2 จากแบงก์ต่าง ๆ เช็กด่วนที่ไหนช่วยอะไรบ้าง
หลังจากโควิด 19 กลับมาแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอีกครั้งในช่วงปลายปี 2563 ทำให้รัฐบาลต้องกำหนดพื้นที่ควบคุมเพื่อเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ส่งผลให้หลายจังหวัดต้องสั่งปิดกิจการบางประเภท จึงกระทบต่อผู้ประกอบการ ลูกจ้าง และพนักงานที่ต้องสูญเสียรายได้และความสามารถในการชำระหนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารต่าง ๆ ส่วนใหญ่ได้สิ้นสุดการลงทะเบียนไปตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงขยายเวลาให้ลูกหนี้รายย่อยสมัครรับความช่วยเหลือจากธนาคารต่าง ๆ ได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ระลอกใหม่ โดยแบงก์ชาติได้กำหนดมาตรการการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำไว้ ดังนี้
มาตรการของธนาคารออมสิน
เฉพาะคนที่อยู่ใน 28 จังหวัดเขตพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด ดังต่อไปนี้ : ตาก, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, นครนายก, กาญจนบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, สุพรรณบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, สมุทรปราการ, จันทบุรี, ชลบุรี, ตราด, ระยอง, ชุมพร, ระนอง และกรุงเทพมหานคร
- ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ gsb.co.th
- กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
ลงทะเบียนพักชำระหนี้ ธ.ออมสิน 8 ม.ค. 64 พักต้นจ่ายแต่ดอก สอนหมด ที่นี่
- เว็บไซต์ธนาคารออมสิน
- โทร. 1115
มาตรการที่ 9 สำหรับลูกค้าที่เคยเข้าร่วม หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส.
- ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) 25%, 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)
- สำหรับดอกเบี้ยประจำงวดที่ตัดชำระไม่หมดในขณะที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ สามารถทยอยผ่อนชำระได้จนถึงก่อนวันที่ลูกค้าจะครบกำหนดตามสัญญาเงินกู้ หรือก่อนปิดบัญชีเงินกู้
เงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการ
- ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้
ช่องทางลงทะเบียน
- กรอกข้อมูลผ่าน Application : GHB ALL พร้อมดาวน์โหลดเอกสารหลักฐานยืนยันว่ามีผลกระทบทางรายได้ ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15-29 มกราคม 2564
มาตรการที่ 10 สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้
- ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) 25%, 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)
- สำหรับดอกเบี้ยประจำงวดที่ตัดชำระไม่หมดในขณะที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ สามารถทยอยผ่อนชำระได้จนถึงก่อนวันที่ลูกค้าจะครบกำหนดตามสัญญาเงินกู้ หรือก่อนปิดบัญชีเงินกู้
- กรอกข้อมูลผ่าน Application : GHB ALL พร้อมดาวน์โหลดเอกสารหลักฐานยืนยันว่ามีผลกระทบทางรายได้ ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม - 26 กุมภาพันธ์ 2564
มาตรการที่ 11 สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส.
- ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) 25%, 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2564)
- สำหรับดอกเบี้ยประจำงวดที่ตัดชำระไม่หมดในขณะที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ สามารถทยอยผ่อนชำระได้จนถึงก่อนวันที่ลูกค้าจะครบกำหนดตามสัญญาเงินกู้ หรือก่อนปิดบัญชีเงินกู้
เงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการ
- ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้
ช่องทางลงทะเบียน
- กรอกข้อมูลผ่าน Application : GHB ALL พร้อมดาวน์โหลดเอกสารหลักฐานยืนยันว่ามีผลกระทบทางรายได้ ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม - 26 กุมภาพันธ์ 2564
มาตรการที่ 12 สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อ ประเภทแฟลต
- ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือไม่เกินเดือนมิถุนายน 2564 หรือ
- พักชำระหนี้ถึงเดือนมิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้
สำหรับดอกเบี้ยประจำงวดที่ตัดชำระไม่หมดในขณะที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ สามารถทยอยผ่อนชำระได้จนถึงก่อนวันที่ลูกค้าจะครบกำหนดตามสัญญาเงินกู้ หรือก่อนปิดบัญชีเงินกู้
- ยื่นคำขอเข้ามาตรการได้ที่สาขา ธอส. ทั่วประเทศ
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564
สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ในปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการที่ธนาคารกำหนด และยังมีปัญหาด้านรายได้ทำให้ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามปกติ ธนาคารพร้อมพิจารณาขยายความช่วยเหลือในรูปแบบการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้เป็นรายกรณี
ข้อมูลเพิ่มเติม
- เว็บไซต์ ธอส.
- โทร. 0-2645-9000
สินเชื่อบุคคล
- ประเภทวงเงินหมุนเวียน : เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan) 48 งวด หรือขยายระยะเวลาได้ตามความสามารถในการชำระหนี้
- แบบกำหนดระยะเวลา : ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม นานสูงสุด 6 เดือน
สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน
ได้แก่ สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน
- พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน หรือลดค่างวดโดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้
- มาตรการความช่วยเหลือระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564
- ต้องเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด 19 เช่น ธุรกิจสายการบิน, ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจที่ปิดกิจการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ เป็นต้น
- ต้องเป็นลูกค้าที่มีสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร
- ต้องเป็นลูกค้าที่มีประวัติการชำระปกติ ก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2563
- การพิจารณาเข้าร่วมมาตรการอยู่ในดุลพินิจของธนาคาร กรณีที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ กรุณาติดต่อธนาคาร เพื่อรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้กู้
- เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ผู้กู้ (ถ้ามี)
- เอกสารแสดงรายได้ก่อนได้รับผลกระทบ
- เอกสารแสดงรายได้หลังได้รับผลกระทบ
- เอกสารแสดงความสัมพันธ์ของผู้ได้รับผลกระทบและผู้กู้* (ถ้ามี)
*หากเป็นบิดา มารดา บุตร แสดงเป็นสำเนาทะเบียนบ้าน หรือเป็นคู่สมรสแสดงสำเนาทะเบียนสมรส เป็นต้น
- ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ krungthai.com
- กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และอัปโหลดเอกสาร
- รอเจ้าหน้าตรวจสอบผลลงทะเบียนเข้ารับมาตรการช่วยเหลือฯ ระยะที่ 2 โดยสามารถตรวจสอบผลการลงทะเบียนได้ที่นี่
ลูกค้าธุรกิจ
- สำหรับลูกค้าสินเชื่อที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกธนาคาร ตั้งแต่ 50-500 ล้านบาท อ่านมาตรการช่วยเหลือได้ที่นี่
- สำหรับสินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก (SME) สามารถติดต่อขอรายละเอียดมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
- เว็บไซต์ธนาคารกรุงไทย
- Krungthai Contact Center 0-2111-1111
ประเภทที่ 1 มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน

ประเภทที่ 2 มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน
สินเชื่อบ้านกสิกรไทย

บัตรเครดิตกสิกรไทย

บัตรเงินด่วน Xpress Cash

สินเชื่อเงินด่วน XPress Loan

สินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ

สินเชื่อรถ KLeasing

- ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์ COVID-19 เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน หรือธุรกิจที่ปิดบริการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ
- ลูกค้าต้องไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ (NPL) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
- เป็นลูกค้าที่ได้รับการอนุมัติก่อนวันที่ 1 มกราคม 2564
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564
- พิมพ์ @help ผ่าน LINE Kbank Live คลิก หรือสแกน QR CODE ด้านล่างนี้

มาตรการสำหรับลูกค้าธุรกิจ
- สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง วงเงินกู้ ดอกเบี้ย 2% นาน 2 ปี ติดต่อยื่นกู้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 หรือวงเงินโครงการหมดก่อน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
- เว็บไซต์ธนาคารกสิกรไทย
- K-Contact Center 0-2888-8888
- K-BIZ Contact Center (สำหรับลูกค้าธุรกิจ) 0-2888-8822 หลังเลือกภาษา กด 65
บัตรเครดิต
- ปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้ รับสิทธิ์อัตโนมัติโดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์
- ปรับลดเพดานดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 16% ต่อปี (จากเดิม 18% ต่อปี) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้ รับสิทธิ์อัตโนมัติโดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์
- ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 จนถึง 31 ธันวาคม 2564 (เข้าร่วมโครงการ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2638-4000 หรืออีเมล: card.srv@bangkokbank.com)
สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
- ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี
- ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ตามความสามารถในการชำระหนี้
- เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48 งวด หรือขยายระยะเวลาตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี ทั้งนี้จะพิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้ แต่เมื่อรวมกับยอดคงเหลือของสินเชื่อเดิมต้องไม่เกินกว่าวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ
- ลงทะเบียนได้ที่นี่ หรือติดต่อสาขา ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564
สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน
- เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ
- เลื่อนชำระเงินต้น (จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ลูกค้าแต่ละรายตามความเหมาะสม หรือ
- ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้
- ลงทะเบียนได้ที่นี่ หรือติดต่อสาขา ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการรวมหนี้ (Debt Consolidation)
เงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการ
- เป็นลูกค้าที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ กับธนาคารกรุงเทพ
- สินเชื่อที่อยู่อาศัย มีสถานะผ่อนชำระต้องไม่เป็น NPL ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
- ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 - 31 ธันวาคม 2564
สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี
-
สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เงินกู้เสริมสภาพคล่อง
-
มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย
อ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ
- เว็บไซต์ธนาคารกรุงเทพ
- โทร. 1333
มาตรการที่ 1: ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำอัตโนมัติ สำหรับลูกค้าทุกราย (โดยไม่ต้องลงทะเบียนหรือโทร. แจ้งความจำนงกับบริษัท)

- บัตรเครดิต : จากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 - 31 ธันวาคม 2564
- สินเชื่อส่วนบุคคลแบบชำระขั้นต่ำ : จากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2564
มาตรการที่ 2 : ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษและขยายเวลาผ่อนชำระ สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ

- บัตรเครดิต : อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี พร้อมลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาผ่อนชำระให้นานสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)

- สินเชื่อบุคคล : อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี พร้อมลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาผ่อนชำระให้นานสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)

เงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
- เฉพาะผู้ถือบัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคลของ บริษัทในกลุ่มกรุงศรีคอนซูมเมอร์เท่านั้น
- ต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้รับผลกระทบจากธุรกิจที่ปิดตัวลง หรือธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ตามประกาศของทางราชการ
- ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับสมาชิกสินเชื่อบัตรเครดิต
- ต้องคงสถานะบัญชีปกติ และไม่เคยมีประวัติค้างชำระ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และเฉพาะสมาชิกที่มีบัญชีบัตรกับบริษัท ก่อนเดือนมีนาคม 2563
ช่องทางลงทะเบียน
- ลงทะเบียนผ่านโมบายแอปฯ UCHOOSE ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 - 30 มิถุนายน 2564
มาตรการที่ 3 : ปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับลูกค้าที่มียอดค้างชำระ
- บัตรเครดิตกรุงศรี
- บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ หรือติดต่อศูนย์บริการบัตร 0-2345-6789
- บัตรเทสโก้ โลตัส วีซ่า
สินเชื่อเงินกู้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ
- ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม โดยขยายเวลาการผ่อนชำระ และอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
- ปรับลดค่างวดโดยขยายเวลาการผ่อนชำระ
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
- เลื่อนการจ่ายเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยตามความเหมาะสม หรือ
- ลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้
- เป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
- ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 มีสินเชื่อกับธนาคารและไม่ค้างชำระ/ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกินกว่า 90 วัน
- การพิจารณาให้ความช่วยเหลือสำหรับลูกค้าแต่ละรายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะพิจารณาจากผลกระทบที่ลูกค้าได้รับ และนำเสนอแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสมต่อความสามารถในการชำระหนี้ และความเสี่ยงของลูกค้า
- ลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564
- ลงทะเบียนและส่งเอกสารเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ธนาคารทิสโก้
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์-ลีสซิ่งไอซีบี (ไทย)
- ผ่อนผันการชำระค่างวด โดยจำนวนเงินค่างวดที่ได้รับการผ่อนผันจะชำระเป็นค่างวดปกติต่อท้ายสัญญาเดิม
พิจารณาให้ความช่วยเหลือเฉพาะลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 เท่านั้น ทั้งนี้ การได้รับความช่วยเหลือขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาของบริษัท
ช่องทางลงทะเบียน
- ลงทะเบียนออนไลน์ที่นี่
- ดาวน์โหลดแบบคำขอเข้าร่วมมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด 19 (ปี 64) ที่นี่
- จากนั้นส่งแบบคำขอเข้าร่วมมาตรการให้ความช่วยเหลือฯ พร้อมแนบหลักฐานในการพิจารณา ได้ที่
- Email : supportcollection@icbcthaileasing.com หรือ pr@icbcthaileasing.com
- Fax : 02-876-7211, 02-876-7212
- ยื่นคำร้องขอเข้าโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564
ข้อมูลเพิ่มเติม
- เว็บไซต์ลีสซิ่งไอซีบีซี
- Call Center : 0-2626-8100, 0-2876-7200
โครงการชำระดีมีคืนสำหรับหนี้เงินกู้จัดชั้นปกติ
สำหรับลูกค้าที่มีเงินกู้ปกติ ไม่มียอดค้างชำระ หากมาชำระหนี้ที่ ธ.ก.ส. จะได้รับเงินคืน ดังนี้
- ลูกค้าเกษตรกรและบุคคล รับเงินคืน 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง แต่ไม่เกิน 5,000 บาทต่อราย
- กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ยกเว้นสหกรณ์นอกภาคการเกษตรและองค์กร) รับเงินคืน 10% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย
สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564 ในกรอบวงเงิน 3,000 ล้านบาท แล้วเเต่เงื่อนไขใดจะสิ้นสุดก่อน
โครงการลดภาระหนี้ สำหรับหนี้ NPL หรือมีดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 15 เดือน
- ลูกค้าเกษตรกรและบุคคล รับเงินคืน 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง
- กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ยกเว้นสหกรณ์นอกภาคการเกษตรและองค์กร) รับเงินคืน 10% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง
สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564
- เว็บไซต์ ธ.ก.ส.
- โทร. 0-2555-0555
มาตรการ 1 มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวมหนี้ (Debt Consolidation)
- ธนาคารจะปรับลดอัตรากำไรสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันจากเดิม SPRR +12% ตลอดอายุสัญญา คิดอัตรากำไรใหม่ เท่ากับ SPRR ตามประกาศธนาคาร
- ขยายระยะเวลาผ่อนชำระสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันออกไปไม่เกิน 5 ปี จากสัญญาคงเหลือเดิม และไม่เกินระยะเวลาคงเหลือตามสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้
เงื่อนไขร่วมมาตรการ
- สำหรับลูกค้ารายย่อย (ไม่มีสถานะเป็น NPF ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563)
ช่องทางลงทะเบียน
- ติดต่อสอบถามและเข้าร่วมมาตรการได้ที่สาขาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- รายละเอียดเพิ่มเติมที่ เว็บไซต์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
มาตรการ 2 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
- พักชำระหนี้เงินต้น และชำระเฉพาะกำไรนาน 1 ปี
- ขยายระยะเวลาสินเชื่อตามระยะเวลาพักชำระหนี้เงินต้น
- ยกเว้นเบี้ยปรับจากการผิดนัดชำระที่เกิดขึ้น
- อาจให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมตามความรุนแรงของปัญหาเป็นรายกรณี
เงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการ
- สำหรับลูกค้าธนาคาร ทั้งลูกหนี้อุปโภคบริโภค และลูกหนี้ธุรกิจ ซึ่งยังคงมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจ
ช่องทางลงทะเบียน
- ติดต่อสอบถามและเข้าร่วมมาตรการได้ที่สาขาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- รายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
มาตรการ 3 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัยภาคใต้
ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรง
- สินเชื่ออุปโภคบริโภค พักชำระเงินต้นและกำไร ระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นพักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะกำไรอีก 6 เดือน และให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมสำหรับสินเชื่ออุปโภคบริโภค อัตรากำไร SPRR - 3.5% ต่อปี
- สำหรับสินเชื่อธุรกิจ ให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม อัตรากำไร SPRL - 2.75% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 5 ปี ฟรี ค่าธรรมเนียม Front end Fee และจัดทำนิติกรรมสัญญา ยกเว้นบุคคลค้ำประกัน การประเมินราคาหลักประกัน (กรณีเป็นสินเชื่อเดิมแบบมีหลักประกัน)
ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม
- สินเชื่ออุปโภคบริโภค พักชำระเงินต้น และชำระเฉพาะกำไรระยะเวลา 6 เดือน
- สำหรับสินเชื่อธุรกิจ พิจารณาเป็นราย ๆ
เงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการ
- ต้องเป็นลูกค้าเดิมของธนาคารที่เป็นบุคคลธรรมดาและมีสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน หรือนิติบุคคลที่มีสินเชื่อธุรกิจแบบกำหนดระยะเวลากับธนาคาร ซึ่งมีที่อยู่อาศัยหรือสถานประกอบการ หรือคู่ค้าทางธุรกิจ อยู่ในพื้นที่ประสบภัยตามพื้นที่ประกาศของราชการ และมีสถานะการชำระหนี้เป็นปกติ
ช่องทางลงทะเบียน
- ติดต่อสอบถามและเข้าร่วมมาตรการได้ที่สาขาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ยื่นคำขอสินเชื่อภายในวันที่ 15 มกราคม 2564
- รายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
บัตรเครดิตยูโอบี บัญชียูโอบีแคชพลัส สินเชื่อบุคคลไอแคช
- ปรับลดอัตราผ่อนชําระคืนขั้นตํ่าให้ลูกค้าบัตรเครดิตยูโอบีและแคชพลัสทุกคน โดยไม่ต้องติดต่อธนาคาร
- กรณีมีสินเชื่อบ้านยูโอบีด้วย สามารถเข้าร่วมโปรแกรมรวมหนี้ (Debt Consolidation) ได้
สินเชื่อบ้านยูโอบี
- เข้าร่วมโปรแกรมรวมหนี้ (Debt Consolidation) (คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ)
- กรอกแบบฟอร์มที่เว็บไซต์ UOB
- ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธันวาคม 2564
สินเชื่อซอฟต์โลน ดอกเบี้ย 2% นาน 2 ปี ไม่มีดอกเบี้ย 6 เดือนแรก
- สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารไม่เกิน 500 ล้านบาท (ตามเกณฑ์คุณสมบัติซอฟท์โลนของธนาคารแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564 เรื่อง คำนิยาม "กลุ่มธุรกิจ")
- โดยเป็นวงเงินกู้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้างชำระทั้งหมด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
- สามารถยื่นขอสินเชื่อซอฟต์โลนได้ภายในวันที่ 18 เมษายน 2564 (ทั้งนี้ ธนาคารสามารถส่งคำขอสินเชื่อไปยัง ธปท. เพื่อพิจารณาภายในกำหนดการดังกล่าว หลังจากที่สินเชื่อนั้นๆ ได้รับอนุมัติจากธนาคารเรียบร้อยแล้ว)
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ที่ดูแลท่าน
- UOB Biz Call Centre โทร. 02 343 3555
- อีเมล businessbanking.servicecentre@uob.co.th
มาตรการที่ 1 ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำ (ไม่ต้องลงทะเบียน)
บัตรเครดิตอิออน
ลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำ (เดิม 10%) ดังนี้
- 5% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2564
- 8% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2565
- 10% ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
1. ยกเว้นบัตรเครดิต AEON CORPORATE CARD ทุกประเภท
2. ยกเว้นรายการผ่อนชำระสินค้าและ/หรือบริการรายเดือน (AEON Happy Plan)
3. ลูกค้าที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จะไม่ได้รับสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อนี้
บัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช)
ลดอัตราชำระคืนขั้นต่ำ (เดิม 3%) เป็นดังนี้
- 1% แต่ไม่น้อยกว่า 300 บาท* ต่อรอบบัญชี ในรอบบัญชีที่ครบกำหนดชำระวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2564
1. ยกเว้นรายการผ่อนชำระสินค้าและ/หรือบริการรายเดือนของบัตร (AEON Happy Pay)
2. ยอดชำระขั้นต่ำต้องไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยที่เรียกเก็บในรอบบัญชีนั้น
3. ลูกค้าที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จะไม่ได้รับสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อนี้
มาตรการที่ 2 พักชำระหนี้หรือลดค่างวด (ต้องลงทะเบียน)
สินเชื่อทุกประเภท
- พักชำระหนี้สินเชื่อทุกประเภท ยกเว้น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน แต่สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป
- หรือ ลดค่างวดเช่าซื้อรายเดือนสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ ลดค่างวดเช่าซื้อรายเดือน 30-50% เป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป
เงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการ
- สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งส่งผลให้รายได้ลดลง
- ลูกค้าที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จะไม่ได้รับสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อนี้
- หมายเหตุ : การขอพักชำระหนี้ หมายความว่าลูกค้าสามารถหยุดการชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่พักชำระหนี้ แต่ทั้งนี้บริษัทมีการคิดดอกเบี้ยในระหว่างที่หยุดพักชำระ
ช่องทางลงทะเบียน
- ลงทะเบียนผ่าน aeon.co.th ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564 บริษัทจะพิจารณาอนุม้ติเป็นรายกรณี
- ดาวน์โหลดบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อ
มาตรการที่ 3 เปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% (ต้องลงทะเบียน)
สินเชื่อบัตรเครดิตและบัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช)
ลูกค้าที่เป็นผู้ถือบัตรเครดิตและบัตรสมาชิกอิออน (สินเชื่อยัวร์แคช) สามารถขอเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี อัตราชำระคืนขั้นต่ำ 3% ต่อเดือน
เงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการ
- สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งส่งผลทำให้รายได้ลดลง
- ลูกค้าที่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จะไม่ได้รับสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อนี้
ช่องทางลงทะเบียน
- ลงทะเบียนที่ aeon.co.th ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564 บริษัทจะพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี
หมายเหตุ : ลูกค้าต้องขอโอนหนี้เดิมไปเป็นสินเชื่อสินเชื่อระยะยาวใหม่ โดยบริษัทจะระงับการใช้งานบัตรเครดิตและ/หรือบัตรสมาชิกอิออนเป็นการชั่วคราว ภายหลังลูกค้าชำระหนี้ปิดบัญชีสินเชื่อระยะยาวครบถ้วนแล้ว ลูกค้าจะสามารถใช้งานบัตรเครดิตและ/หรือบัตรสมาชิกอิออนได้ดังเดิม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประวัติการชำระเงินของลูกค้า
- เว็บไซต์ aeon.co.th
- โทร. 0-2665-0123
- เว็บไซต์ SME Bank
- สายด่วน 1357
- เว็บไซต์ บสย.
- โทร. 0-2890-9999
เงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการ
- สำหรับลูกค้าในพื้นที่สีแดง สีส้ม และสีเหลือง
ช่องทางลงทะเบียน
- แจ้งความประสงค์ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร www.exim.go.th หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารที่ดูแลลูกค้า
- ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2564 โดยธนาคารจะติดต่อกลับภายใน 3 วันทำการ
ข้อมูลเพิ่มเติม
- เว็บไซต์ EXIM Bank
- โทร. 0-2271-3700
นอกจากนี้ ยังมีโครงการช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งคนละครึ่งรอบเก็บตก หรือโครงการ เราชนะ เยียวยา 3,500 บาท 2 เดือน เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอีกด้วย