แบงก์ชาติ คลอดวิธีการตัดชำระหนี้แบบใหม่ พร้อมอธิบายชัด ๆ แตกต่างจากระบบเก่ายังไง ลูกหนี้ทั้งหลายควรดู โดยเฉพาะคนกู้รถที่ค้างค่างวด 3 เดือน แล้วจ่ายไปก่อน 1 เดือน
ในสภาวะวิกฤต โควิด 19 แบบนี้
หลายคนต้องประสบภาวะทางการเงิน ซึ่งทำให้สถาบันการเงินหลาย ๆ ที่ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มากันมากมาย อย่างไรก็ตาม
สำหรับคนที่จ่ายเงินค้างค่างวดแล้ว จะพบว่าเงินที่จ่ายไปนั้นแทบจะหายไปหมดกับค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ดอกเบี้ย
ไม่เหลือไปตัดเงินต้นเลย ทำให้หนี้ยังคงเหลือเยอะเหมือนเดิมมากขึ้นเรื่อย ๆ
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศสำคัญเรื่อง การเปลี่ยนแปลงลำดับการตัดชำระหนี้ โดยจะตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรก เพื่อทำให้ลูกหนี้ทราบลำดับหนี้ที่ชัดเจน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
เมื่อชำระหนี้แล้ว เงินที่จ่ายจะถูกนำไปจ่ายค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของงวดชำระที่นานที่สุดก่อน ส่วนของเดิมนั้นจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตามด้วยดอกเบี้ย เงินเหลือแค่ไหนเอาไปตัดเงินต้น
ข้อดีของการใช้วิธีตัดชำระหนี้แบบใหม่
การเพิ่มโอกาสให้ลูกหนี้สามารถผ่อนเงินถึงเงินต้นได้มากขึ้น ลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ หรือ NPL รวมถึงทำให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการชำระหนี้ต่อเนื่อง และทำให้ประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น
ตัวอย่าง
หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระ 30,900 บาท จำนวน 3 งวด เงินที่จ่ายต่องวดคือ 10,300 บาท ผลจะเป็นดังนี้
1. การตัดชำระแบบเก่า
จะตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด 3 งวด รวม 900 บาท เงินที่เหลือจะไปตัดส่วนดอกเบี้ย 9,400 บาท ซึ่งก็ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้หมด และเงินต้นจำนวน 18,000 บาท ก็ยังคงอยู่
2. การตัดชำระแบบใหม่
จะตัดค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้น งวดที่ 1 ทั้งหมด ทำให้เงินต้นนั้นลดลง เหลือเคลียร์งวดที่ 2 และงวดที่ 3 ต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย