ชมรมพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย) ซัดแหลกกรมบัญชีกลาง กรณีเข้ามาวุ่นเรื่องเงินผู้สูงอายุ ปกติจะมีการดึงงบจากส่วนต่าง ๆ ของรอยต่อปีงบประมาณมาสำรองจ่ายก่อน ไม่มีปัญหา แต่ปีนี้กรมบัญชีกลางมาวุ่นเอง จนไม่มีจ่าย บอกมีเงินสำรอง 1,500 ล้าน จ่ายให้ไหว ถาม แล้ว 1,500 ล้าน หายไปไหน !
อ่านเพิ่มเติม : เงินผู้สูงอายุ - คนพิการ เดือนกันยายน 2563 จ่ายเงินให้ไม่ได้ เพราะอะไร
ทั้งนี้ ทางเพจเผยว่า ทางเพจเป็นผู้ปฏิบัติงานเรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล) ซึ่งรับงบประมาณมาจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่จัดสรรจ่ายเงินให้เงินผู้สูงอายุ เงินผู้พิการ ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานครและพัทยา ที่อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งกรุงเทพมหานครและพัทยา จะรับเงินงบประมาณมาจากสำนักงบประมาณโดยตรง
ย้อนปี 2552-2560 มีการจ่ายเงินผู้สูงอายุ หากงบไม่พอสามารถเอาเงินสำรองมาจ่ายก่อนไหม
ย้อนกลับไปที่ปี 2552-2559 ได้เกิดนโยบายรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ทำงานร่วมกันด้วยดีมาโดยตลอด ไม่เคยมีปัญหาสะดุดเรื่องการจ่ายเงินผู้สูงอายุ และเงินคนพิการ ซึ่งหากเงินไม่พอ ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะยืมเงินสะสมทดรองสำรองจ่ายไปก่อน จากนั้นก็จะทำรายงานไปขอเงินในส่วนที่ขาด และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นก็จะจัดสรรเงินส่วนที่ขาดมาให้ แต่จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการ
ทว่าตั้งแต่ปี 2560 หากงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มี หรือยังไม่ได้รับการจัดสรรหรือจัดสรรมาช้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถยืมเงินสะสมมาจ่ายก่อนได้ และในไตรมาสที่ 2 หากงบประมาณยังไม่ได้จัดสรร ก็สามารถใช้งบประมาณประจำปีที่มีใช้จ่ายไปก่อนได้ และถ้ายังมีเงินไม่พออีกก็จะทำข้อตกลงกับผู้ว่าราชการจังหวัด ในการใช้เงินสะสมได้ และถ้าหากมีเงินสะสมไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้เงินทุนสำรองสะสมมาใช้ก่อนได้อีก จึงทำให้การจ่ายเงินผู้สูงอายุ เงินผู้พิการ ไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ
กรมบัญชีกลาง เข้ามาโอนงบประมาณตั้งแต่ปี 2563 ทำเรื่องสะดุด เงินไม่พอจ่าย
ทว่า เดือนมกราคม 2563 ซึ่งเป็นปีงบประมาณ 2563 กรมบัญชีกลางได้เข้ามามีหน้าที่โอนงบประมาณแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ย้อนไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 มีการเชิญผู้แทนชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นประธานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ตัวแทนของแต่ละภาค มาประชุมกัน
ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางต้องการนำร่องโอนเงินผู้สูงอายุ และเงินผู้พิการ แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดไว้ 9 จังหวัด คือ น่าน อุทัยธานี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม จันทบุรี นครราชสีมา มุกดาหาร พังงา และสงขลา แต่ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากติดขัดเรื่องระบบการลงทะเบียนและจ่ายเงิน จนต้องมีการเลื่อนออกไป
ในการประชุมครั้งนั้นมีการสอบถามปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเงินงบประมาณไม่เพียงพอ จะทำอย่างไร ทางกรมบัญชีกลางให้คำตอบว่า มีเงินสำรอง 1,500 ล้านบาท ในการสำรองให้ก่อน แล้วจะไปเรียกเก็บคืนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเอง ซึ่งทางผู้เข้าร่วมประชุมต่างพอใจในคำตอบ เพราะมองว่าเงินนี้เป็นเงินทดรองราชการที่สามารถสำรองแทนก่อนได้ คล้ายกับที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำมาก่อน

ข้อตกลง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้โอนเงินเข้าคลัง ไม่ต้องโอนเงินให้ อปท. แล้วกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินเอง
วันที่ 11 กรกฎาคม 2562 กรมบัญชีกลาง ได้ย้ำอีกว่า หากเงินสำรองไม่พอ จะมีเงิน 1,500 ล้านบาท สำรองให้ก่อน โดยเริ่มนำร่องที่ จ.สิงห์บุรี เดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นมา และตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ พร้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน จ.สิงห์บุรี อีก 3 แห่ง ก็เข้าร่วมโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม e-Social Welfare พร้อมกัน โดยมีหลักการที่ว่า
- ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณไปที่บัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ต้องจัดสรรไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรงแล้ว
- จากนั้น กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้เฉพาะคนที่มีชื่อในระบบของปีงบประมาณ 2563 ของระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ถ้าไม่มีชื่อ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจะเป็นคนโอนเงินให้เอง
ยันเดือนกันยายน ใครรับเงินสดไม่มีปัญหา ส่วนใครรับผ่านบัญชีธนาคาร ต้องรอไปก่อน
ส่วนวิธีการจ่ายเงินนั้นจะทำได้ 2 แบบ คือ 1. จ่ายเงินสด และ 2. โอนเข้าบัญชีธนาคาร โดยในเดือนกันยายน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีปัญหาในการจ่ายเงินสด เพราะหากไม่มีเงินก็สามารถนำเงินสะสมหรือทุนสำรองมาจ่ายได้ก่อน จากนั้นค่อยไปยื่นเบิกจ่ายทีหลัง ทางกรมบัญชีกลางก็จะโอนงบประมาณมาคืนให้
แต่จะมีปัญหาตรงที่การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถสำรองจ่ายให้ก่อนได้ เพราะหากสำรองจ่ายไปก่อน จะทำให้เงินที่จ่ายซ้ำซ้อนกับที่กรมบัญชีกลางจ่าย
"ดังนั้น พวกเราในนามของชมรมพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย) จึงขอฝากไปถึงกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ว่าอย่าเอาชาวบ้านมาเป็นตัวประกันในการทำงาน
ตอนจะทำงานพูดสวยหรูว่าจะสำรองให้ แต่ถึงเวลาจริง ๆ ไม่สำรองให้ เพราะว่าอะไรก็ต้องชี้แจงมาให้พวกเราได้รับทราบว่าเพราะอะไร ทำไมใช้เงินทดรองราชการไม่ได้ ติดขัดอะไรตรงไหน ไม่มีความพร้อมหรือไม่ ก็ส่งคืนกลับมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจ่ายเหมือนเดิม เพราะว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เคยทำให้ประชาชนผิดหวังอยู่แล้ว"
วันที่ 11 กรกฎาคม 2562 กรมบัญชีกลาง ได้ย้ำอีกว่า หากเงินสำรองไม่พอ จะมีเงิน 1,500 ล้านบาท สำรองให้ก่อน โดยเริ่มนำร่องที่ จ.สิงห์บุรี เดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นมา และตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ พร้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน จ.สิงห์บุรี อีก 3 แห่ง ก็เข้าร่วมโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม e-Social Welfare พร้อมกัน โดยมีหลักการที่ว่า
- ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณไปที่บัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ต้องจัดสรรไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรงแล้ว
- จากนั้น กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้เฉพาะคนที่มีชื่อในระบบของปีงบประมาณ 2563 ของระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ถ้าไม่มีชื่อ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจะเป็นคนโอนเงินให้เอง
ยันเดือนกันยายน ใครรับเงินสดไม่มีปัญหา ส่วนใครรับผ่านบัญชีธนาคาร ต้องรอไปก่อน
ส่วนวิธีการจ่ายเงินนั้นจะทำได้ 2 แบบ คือ 1. จ่ายเงินสด และ 2. โอนเข้าบัญชีธนาคาร โดยในเดือนกันยายน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีปัญหาในการจ่ายเงินสด เพราะหากไม่มีเงินก็สามารถนำเงินสะสมหรือทุนสำรองมาจ่ายได้ก่อน จากนั้นค่อยไปยื่นเบิกจ่ายทีหลัง ทางกรมบัญชีกลางก็จะโอนงบประมาณมาคืนให้
แต่จะมีปัญหาตรงที่การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถสำรองจ่ายให้ก่อนได้ เพราะหากสำรองจ่ายไปก่อน จะทำให้เงินที่จ่ายซ้ำซ้อนกับที่กรมบัญชีกลางจ่าย
"ดังนั้น พวกเราในนามของชมรมพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย) จึงขอฝากไปถึงกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ว่าอย่าเอาชาวบ้านมาเป็นตัวประกันในการทำงาน
ตอนจะทำงานพูดสวยหรูว่าจะสำรองให้ แต่ถึงเวลาจริง ๆ ไม่สำรองให้ เพราะว่าอะไรก็ต้องชี้แจงมาให้พวกเราได้รับทราบว่าเพราะอะไร ทำไมใช้เงินทดรองราชการไม่ได้ ติดขัดอะไรตรงไหน ไม่มีความพร้อมหรือไม่ ก็ส่งคืนกลับมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจ่ายเหมือนเดิม เพราะว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เคยทำให้ประชาชนผิดหวังอยู่แล้ว"
