กรมการค้าต่างประเทศ แจงสหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP ไทย ไม่ได้กระทบถึง 4 หมื่นล้าน ยันยังส่งออกได้แต่เสียภาษี จ่อเจรจาสหรัฐฯ ขอคืนสิทธิพฤศจิกายนนี้
ภาพจาก สำนักข่าว INN
ที่ผ่านมา กรมการต่างประเทศ ได้เชิญผู้ประกอบการหารือเพื่อรับทราบผลกระทบหากถูกเพิกถอนสิทธิ GSP ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 แนะนำให้หาตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น รัสเชีย ยุโรปตะวันออก อเมริกาใต้ ตะวันออกลางฯ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จาก FTA 13 กรอบความตกลงจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และเปรู รวมทั้งขยายการลงทุนไปยังประเทศที่ยังได้รับสิทธิ GSP สหรัฐฯ โดยฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีมากกว่าไทย
ทั้งนี้ ภาครัฐยืนยันว่า จะดำเนินการเจรจาขอคืนสิทธิฯ โดยเร็วที่สุด
คาคว่าจะยื่นขอเจรจากับสหรัฐฯ หลังช่วงการประชุม East Asia Summit
ภายใต้การประชุมสุดยอดอาเซียนในประเทศไทยที่กำหนดจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ รวมทั้งเจรจาภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐฯ ต่อไป
ภาพจาก สำนักข่าว INN
วันที่ 28 ตุลาคม 2562 ข่าวช่องวัน รายงานว่า
นายกีรติ รัชโน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า
จากกรณีที่สหรัฐฯ
ระงับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ระบบสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป
หรือ GSP ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ไม่ได้หมายความว่าไทยจะไม่สามารถส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ
หรือสูญเสียมูลค่าที่ได้รับสิทธิ GPS ประมาณ 40,000 ล้านบาท
โดยไทยยังคงส่งออกได้แต่ต้องเสียภาษีในอัตราปกติ เฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.5
หรือคิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 1,800 ล้านบาท
ที่ผ่านมา กรมการต่างประเทศ ได้เชิญผู้ประกอบการหารือเพื่อรับทราบผลกระทบหากถูกเพิกถอนสิทธิ GSP ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 แนะนำให้หาตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น รัสเชีย ยุโรปตะวันออก อเมริกาใต้ ตะวันออกลางฯ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จาก FTA 13 กรอบความตกลงจากอาเซียน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และเปรู รวมทั้งขยายการลงทุนไปยังประเทศที่ยังได้รับสิทธิ GSP สหรัฐฯ โดยฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีมากกว่าไทย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก